ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

ชื่อองค์กร : ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (Thai Lawyers for Human Rights)
เว็บไซต์ : https://tlhr2014.com/ 
Facebook : ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

วัตถุประสงค์ขององค์กกร
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเป็นการรวมตัวของกลุ่มทนายความ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมทางสังคม เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 หลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เนื่องจากในช่วงดังกล่าว คสช. มีการเรียกบุคคลไปรายงานตัว จับกุม คุมขังบุคคลเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการใช้ศาลทหารกับพลเรือน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จึงก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบรับกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์คือ
1. บันทึกข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ภายหลังการรับประหาร
2. ดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางกฏหมายแก่ผู้ได้รับผลกระทบ
3. เผยแผ่ความรู้ ทั้งในเรื่องกฏหมายและการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามหลักกฏหมายระหว่างประเทศ

กิจกรรมหรือโครงการที่องค์กรดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ดำเนินงานโดยการติดตาม ให้คำแนะนำทางกฏหมาย และคำปรึกษาเบื้องต้น หากได้รับเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับการจับกุมหรือควบคุมตัว อันเนื่องจากการใช้เสรีภาพในการแสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอันเกี่ยวเนื่องกับการรัฐประหารและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. หากมีการจับกุมหรือดำเนินคดีบุคคคล ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนก็จะเป็นทนายความรับว่าความในการดำเนินคดีไม่ว่าจะเป็นในชั้นตำรวจ อัยการ หรือชั้นศาลโดยไม่คิดมูลค่า

นอกจากนี้ ได้ดำเนินการเก็บบันทึกข้อมูลเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่สืบเนื่องมาจากรัฐประหารคสช. การจัดทำความเห็นทางกฏหมาย แถลงการณ์ คูมือ รายงานสถานการณ์ รวมทั้งข้อเสนอแนะทางนโยบาย เผยแผ่ต่อสาธารณะและหน่วยงานหรือองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ

โครงการที่ขอรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (Thai Lawyers for human Rights) อาสาสมัครนักกฏหมายสิทธิมนุษยชนประจำฝ่ายคดีความ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้การติดตามและการให้ความช่วยเหลือทางกฏหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. เพื่อให้มีการเผยแพร่ การวิเคราะห์ข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อมูลคดี ข้อกฏหมาย
3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำข้อมูลคดีของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

กิจกรรม
1. ให้ความช่วยเหลือทางกกหมายแก่ผู้ที่ถูกละมิดสิทธิ เช่น รับเรื่องร้องเรียนทางโทรศัพท์ ลงพื้นที่ติดตาม สอบข้อเท็จจริงและให้ความชาวยเหลือเบื้องต้น และให้ความช่วยเหลือทางกฏหมายกับบุคคลดังกล่าวทั้งในชั้นตำรวจ อัยการและชั้นพิจารณาคดีในศาล
2. รวบรวมข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อมูลคดี และทางกฏหมาย ที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก
3. วิเคราะห์ข้อมูล จำทำรายงาน ความเห็นทางกฏหมาย และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
บุคคลทั่วไปที่ได้รับผลกระทบถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อันมีผลสืบเนื่องมาจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557  และการเรียกร้องประชาธิปไตย

หน้าที่หลักของอาสาสมัคร
1. ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความในการให้ความช่วยเหลือทางกฏหมาย อาทิเช่น ให้คำปรึกษาทางกฏหมายแก่ผู้ร้องเรียน ศึกษาค้นคว้าหลักทฤษฏีทางกฏหมาย ร่างคำฟ้อง คำร้อง คำขอ คำแถลง ติดตามทนายความไปสถานีตำรวจหรือไปศาล หรือรับมอบหมายให้ไปดำเนินการแทนเกี่ยวกับการดังกล่าว ฯลฯ
2. ติดตามสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน ลงพื้นที่สังเกตการณ์และรวบรวมข้อมูล สอบข้อเท็จจริง รวบรวมเอกสารหลักฐาน จัดทำฐานข้อมูลคดี
3. วิเคราะห์ข้อมูล ทำหนังสือร้องเรียน ทำรายงาน ความคิดเห็นทางกฏหมาย
4. ติดต่อประสานงาน ทนายความเครือข่าย องค์กรเอกชน และหน่วยงานของรัฐ

รายละเอียดงานที่ให้อาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีกิจกรรมหลัก 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายคดีและฝ่ายข้อมูล โดยอาสาสมัครจะปฏิบัติในฝ่ายคดี ซึ่งเน้นงานด้านการให้ความช่วยเหลือและดำเนินการทางกฏหมาย โดยปฏิบัติงานตามกรอบยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และภารกิจของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

พื้นที่ปฏิบัติงาน
กรุงเทพมหานคร เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นอาจจะต้องไปปฏิบัติงานต่างจังหวัดเป็นบางครั้ง

สวัสดิการสำหรับอาสาสมัคร
ให้อาสาสมัครจัดหาที่พักเอง โดยองค์กรจะสมทบ/อุดหนุนค่าที่พักให้เดือนละ 4,000 บาท

คุณสมบัติอาสาสมัคร
จบปริญญาตรีนิติศาสตร์ ยึดหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย

ความคาดหลังต่ออาสาสมัคร
มีความกระตือรือร้นในการทำงาน และทำงานครบวาระ 1 ปี

แนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่อาสาสมัคร
องค์กรพร้อมสนับสนุนให้อาสาสมัตรได้พัฒนาตนเองระหว่างวาระปฏิบัติงานด้วย หากมีความประสงค์จะศึกษาต่อ หรือสอบใบอนุญาตทนายความ ทางองค์กรมีวันหยุดสำหรับการเตรียมตัวสอบได้ หรือหากอาสาสมัครฯต้องการไปอบรมเพื่อพัฒนาตนเองเรื่องใดเป็นพิเศษ ก็สามารถแจ้งความประสงค์กับองค์ได้ ทางองค์กรพร้อมสนับสนุนและยินดีหากอาสาสมัครฯต้องการที่จะพัฒนาตนเอง

.
องค์กรที่เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิฯ รุ่น 16
โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน
คลิกสมัคร รุ่น 16

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai