ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

ชื่อองค์กร : สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) / Southern Peasant’s Federation of Thailand(SPFT)
Facebook : https://www.facebook.com/SPFT2008

ประเด็นที่องค์กรปฏิบัติงาน
1. การผลักดันทางน โขบายกับรัฐบาล เพื่อสิทธิในการเข้าถึงที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัข ของเกษตรกรรายย่อยและแรงงานไร้ที่ดิน
2. การสร้างความมั่นคงด้านอาหารด้วยแนวทางเกษตรนิเวศ เพื่อนำไปสู่การสร้างอธิปไตยด้านอาหารของเกษตรกรรายย่อย และประชาชน
3. การส่งเสริมฐานะ-บทบาท และ การพัฒนาศักยภาพกลุ่มสตรี สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
4. การสร้างเครือข่ายรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญใหม่ของประชาชน
5. งานรณรงค์สาธารณะในประเด็นงานยุทธศาสตร์ของ สกต.

วัตถุประสงค์ขององค์กร
1. เพื่อให้แรงงานไร้ที่ดิน และเกษตรกรรายย่อย ได้รับสิทธิใน ที่ดินทำกิน (เพื่อเกษตรกรรม) และที่อยู่อาศัย ที่มีความมั่นคง และเป็นธรรม ในรูปแบบของสถาบันเกษตรกร
2. เพื่อสร้างชุมชนใหม่และระบบการอยู่ร่วมอย่างเท่าเทียม สมานฉันท์ และ ภราครภาพ
3. เพื่อสร้างระบบการผลิตอาหารของชุมชนด้วยแนวทางเกษตรนิเวศ
4. เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากร อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน โดยชุมชน ( รัฐไม่ต้องมาคิดแทน-ขอแค่สนับสนุนในส่วนที่เราต้องการก็พอ)
5. เพื่อส่งเสริมสิทธิสตรี ให้มีศักยภาพ มีบทบาทที่เท่าเทียมกับผู้ชายในการสร้างชุมชนใหม่ และขบวนการเคลื่อนไหวของแรงงานไร้ที่ดิน
6. เพื่อส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
7. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่สาธารณะ ในประเด็นการต่อสู้เรียกร้องเพื่อสิทธิในที่ดิน และอื่นๆซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์กับแรงงานไร้ที่ดินและเกษตรกรรายย่อย

กิจกรรมขององค์กรที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
1.กิจกรรมผลักดันทางน โยบายกับภาครัฐร่วมกับขบวนการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดิน เพื่อให้สมาชิกได้เข้าถึงสิทธิในที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัยที่มั่นคง
2.กิจกรรมพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชน
3.กิจกรรมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในระดับชุมชนด้วยแนวทางเกษตรนิเวศ
4.กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสตรี สกต.
5. .กิจกรรมโรงเรียนการเมืองและเกษตรนิเวศ จัดร่วมกับขบวนการประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย หรือ People’s Democracy Movement of Thailand [PDMT]
6.กิจกรรมต่อสู้เรียกร้องเพื่อประชาธิปไตยร่วมกับขบวนการประชาธิปไตยอื่นๆ
7.กิจกรรมรณรงค์สาธารณะในประเด็นยุทธศาสตร์ เช่น สิทธิเกษตรกร และสิทธิทางการเมืองของประชาชน

ความท้าทายขององค์กร
การบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรตามแนวทางโฉนคชุมชน-บนพื้นฐานของสิทธิชุมชน พบว่ามีความท้าทายหลายประการ ดังนี้
1. มีความท้าทายในการสร้างรูปการณ์จิตสำนึกเกี่ยวกับระบบกรรมสิทธิ์ร่วมในการถือครองปัจจัยการผลิตร่วมกัน
2. มีความท้าทายเรื่องสิทธิของเกษตรกรรายย่อย และแรงงานไร้ที่ดิน ในการเข้าถึงสิทธิในที่ดิน สิทธิในการสร้างชุมชนใหม่ รวมถึงสิทธิในการสร้างและปกป้องระบบอาหารของชุมชน โดยจะทำอย่างไร ให้สังคมและภาครัฐยอมรับสิทธิพื้นฐานเหล่านี้ของเกษตรกรราขย่อย และแรงงานไร้ที่ดิน
3. มีความท้าทายเรื่องการสร้างความมั่นคงด้านอาหารในระดับชุมชน ที่ยังไม่สามารถผลิตได้อย่างเพียงพอที่จะสามารถพึ่งตนเองได้ และยังไม่สามารถขยายพื้นที่การผลิตตามแนวทางเกษตรนิเวศได้ เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่ได้ใช้พื้นที่แปลงเศรษฐกิจครอบครัวของตนเองในการปลูกพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ (ยางพารา/ปาล์มน้ำมัน) จนเต็มพื้นที่ จึงไม่มีพื้นที่เหลือพอที่จะทำการเกษตรตามแนวทางเกษตรนิเวศได้ ซึ่งขณะนี้พืชเหล่านั้นกำลังเริ่มให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจแล้ว จึงมีความท้าทายพอสมควรที่จะปรับเปลี่ยนจากแนวความคิดเดิม คือ การปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว (ซึ่งมีรากากลไกตลาดของสินค้าชนิดนั้นๆเป็นตัวกำหนดรายได้) มาเป็น การทำเกษตรด้วยแนวทางเกษตรนิเวศ
อย่างไรก็ตาม สกต. ได้มีนโยบายผลักดัน และส่งเสริมให้แต่ละชุมชน ซึ่งมีแปลงเกษตรรวมของกลุ่มสตรีอยู่แล้วในแต่ละชุมชน โดยการนำของกลุ่มสตรีฯ นำนโขบายนี้ไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมและขยายไปสู่การปลูกพืชอาหารในบริเวณที่อยู่อาศัยของแต่ละครอบครัว ซึ่งมีพื้นที่ I ไร่ ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกได้ศึกษาเรียนรู้และมองเห็นความแตกต่างระหว่างการทำเกษตรแบบพืชเชิงเดี่ยว กับการทำเกษตรด้วยแนวทางเกษตรนิเวศ
4. มีความท้าทายในการสร้างความเชื่อมั่นให้แกนนำสตรีสามารถขยายการดำเนินงานในระดับประเทศที่มีมิติด้านเศรษฐกิจและการเมือง และขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม

5. มีความท้าทายเรื่องการร่วมกันผลักคันรัฐธรรมนูญใหม่ให้สำเร็จ

6.มีความท้าทายในการสร้างขบวนการต่อสู้ของเกษตรกรรายย่อยและแรงงานไร้ที่ดินให้มีความก้าวหน้าในทางความคิด ทางด้านการเมือง และทางด้านการผลิต

โครงการที่ขอรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
โครงการส่งเสริมและสร้างพื้นที่ต้นแบบด้านเกษตรนิเวศ

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.เพื่อส่งเสริมให้สมาชิก สกต. มีความรู้ความเข้าใจด้านเกษตรนิเวศ
2.เพื่อสร้างพื้นที่ต้นแบบด้านเกษตรนิเวศ
3.เพื่อเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ด้านเกษตรนิเวศทางสื่อสังคมออนไลน์
4.เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทำงานวิจัยด้านเกษตรนิเวศ

กิจกรรมของโครงการ
1.จัดฝึกอบรมความรู้เกษตรนิเวศ
2.สร้างพื้นที่ต้นแบบด้านเกษตรนิเวศ
3.เก็บรวบรวมข้อมูล ประสบการณ์ด้านเกษตรนิเวศเพื่อทำวิจัยด้านเกษตร นิเวศ และการบริหารจัดการที่ดินตามแนวทางของสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)
4.เผยแพร่ขอมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
สมาชิกของ สกต. และผู้สนใจ

ส่บทบาท/หน้าที่ของอาสาสมัคร
1.เป็นผู้ช่วยนักวิจัยทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูล
2.เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์
3.สนับสนุนการทำงานของ สกต. ตามความจำเป็น

รายละเอียดงานที่ให้อาสาสมัครลงไปปฏิบัติงาน
1.เก็บข้อมูลในแปลงเกษตรนิเวศ
2.เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์
3.เป็นผู้ช่วยกรรมการสหกรณ์การเกษตร สกต. ในวันทำการ เดือนละ 2 วัน
4. สนับสนุนงานรณรงค์ประเด็นยุทธศาสตร์ของ สกต. เช่น ประเด็นสิทธิในที่ดิน สิทธิในการสร้างชุมชนใหม่ รวมถึงสิทธิในการสร้างและปกป้องระบบอาหารของชุมชน ทั้งนี้จะมีการวางแผนในรายละเอียดให้สอดคล้องกับสถานกรณ์ ในลำดับต่อไป

พื้นที่ปฏิบัติงาน
สิทธิในที่ดิน สิทธิในการสร้างชุมชนใหม่ รวมถึงสิทธิในการสร้างและปกป้องระบบอาหารของชุมชน
1.ชุมชนคลองไทรพัฒนา ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี และชุมชนอื่น ๆ ที่เป็นสมาชิกของ สกต.
2.โรงเรียนการเมืองและเกษตรนิเวศ บ้านพุดทอง ต.ตะกุกใต้ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี

สวัสดิการสำหรับอาสาสมัคร
มีที่พัก, ประกันอุบัติเหตุ (กรณีการทำประกันชีวิตของ มอส.ยังไม่ครอบคลุม) , สำหรับการเดินทางในพื้นที่ เช่น การเดินทางระหว่าง สำนักงาน กับชุมชนฯ ปกติจะไปพร้อมกับพี่เลี้ยงที่ปรึกษา กรรมการบริหาร สกต. อาสาสมัครจึงไม่ต้องจ่ายค่าเดินทาง

คุณสมบัติอาสาสมัครที่จำเป็นสำหรับโครงการ
1. มีความสนใจด้านสิทธิมนุษยชน-สิทธิชุมชน, ความเสมอภาคทางด้านเศรษฐกิจ-การเมือง ในแนวทางประชาธิปไตย และระบบเกษตรนิเวศ
2. รักการใช้แรงงานทำการเกษตรนิเวศ ชอบบริ โภคอาหารปลอดภัย และการ ใช้ชีวิตที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ
3. สามารถใช้ชีวิต พักอาศัยร่วมกับผู้คน-ชุมชนในชนบทได้
4. มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรถท้าทาย
5. มีความเป็นนักสู้ไม่ยอมจำนนต่อความยากลำบาก และความไม่เป็นธรรมทางสังคม
6. พร้อมศึกษาเรียนรู้สิ่งใหม่ เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ความคาดหวังต่ออาสาสมัคร
1. อาสาสมัครได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติงานร่วมกับ สกต.
2. อาสาสมัครมีบทบาทสนับสนุนงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3. หลังจากเสร็จสิ้น โครงการ อาสาสมัครมีการพัฒนาศักยภาพเพิ่มขึ้น และมีความพร้อมในการร่วมทำงานกับ สกต. ต่อไป

แนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่อาสาสมัคร
1.จัดกลุ่มศึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น (ภาคทฤษฎี)
2.ปฏิบัติการทางสังคม และลงพื้นที่จริง (ภาคปฏิบัติ)
3.การใช้แรงงานรวมหมู่ทำการผลิต ฝึกฝนสร้างความเข้มแข็งของจิตใจและร่างกาย)
4. เขียนรายงานการทำกิจกรรม, รายงานการศึกษาเรียนรู้ และ รายงานการสรุปบทเรียนที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน ( ฝึกฝนทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการสื่อสารกับสาธารณะ)
5. การสำรวจวิจารณ์ และเสนอแนะซึ่งกันและกัน (ฝึกฝน และ ปรับปรุงโลกทัศน์ ชีวทัศน์ และรูปการจิตสำนึกให้เป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนที่ก้าวหน้า)

.
องค์กรที่เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิฯ รุ่น 16
โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน
คลิกสมัคร รุ่น 16

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai