ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

“ดาไม่เข้าใจหรอกว่าลึกๆ แล้วปัญหามันคืออะไรกันแน่ ดารู้แค่ว่าดาเป็นมนุษย์และเป็นลูกหลานของโลกใบนี้  เหตุผลนี้แหละที่ทำให้ดาคิดว่ามันเป็นสิทธิ์ที่ดาควรได้รับเหมือนเด็กคนอื่นๆ อย่างเท่าเทียมกัน”  มึดาย้อนถึงความรู้สึกของตัวเองสมัยที่ยังเป็นนักเรียนที่มีสถานะของคนไร้รัฐ ทำให้เธอยืนหยัดทำงานเพื่อสิทธิของคนไร้รัฐในไทยเรื่อยมา เดิมทีพ่อแม่ของเธออาศัยอยู่ที่รัฐกะเหรี่ยงในประเทศพม่า แต่ต้องอพยพหนีภัยสงครามมาจากประเทศพม่าแล้วมาตั้งรกรากในประเทศไทยนานกว่า 50 ปี

มึดาเกิดที่แม่ฮ่องสอนและต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย เกือบ 9 ปีกว่าที่เธอจะได้สัญชาติในปี 2551 เธอเล่าประสบการณ์การที่ต้องอยู่ในสถานะคนไร้สัญชาติ ซึ่งต้องประสบปัญหาต่างๆ เธอเล่าว่า “ผู้ที่ไร้สัญชาติจะถูกจำกัดสิทธิ์เรื่องการเดินทางออกต่างจังหวัด เพราะไม่มีบัตรประชาชน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยเข้มงวดเป็นอย่างมาก” ปัญหาอีกอย่างของเด็กไร้สัญชาติคือ การถูกยึดใบประกาศนียบัตรรับรองวุฒิทางการศึกษา มึดาก็เป็นหนึ่งในนั้น ซ้ำถูกอาจารย์เพ่งเล็งว่าเป็นกลุ่มคนที่หนีปัญหามาจากประเทศอื่น ช่วงแรกของการเรียนในระดับวิทยาลัย เธอได้เข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมนักศึกษา ร่วมออกค่ายเพื่อหาประสบการณ์ชีวิต เธอเคยได้ยินเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย แต่เธอไม่รู้สึกๆ อะไรมากนัก แต่เหตุนี้ก็ทำให้เธอตัดสินใจเรียนคณะนิติศาสตร์ เธอบอกกับตัวเองว่า “ถ้าฉันได้มีโอกาสได้เข้าเรียนกฎหมาย ฉันจะใช้ความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดการทำงาน จะทำให้คนในหมู่บ้านของฉันได้รับสัญชาติไทยทุกคน” ที่สุดฝันของเธอก็เป็นจริงเมื่ออธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพได้อนุมัติทุนการศึกษาให้ เธอเล่าว่า “ดารู้สึกว่าเป็นคนที่โชคดีที่สุดในรอบหลายปีที่มีแต่โชคร้ายมาตลอด” ช่วงที่เธอเป็นนักศึกษา

มหาวิทยาลัย เป็นช่วงเดียวกับที่ประเทศไทยมีการปรับปรุงกฎหมายในส่วนเนื้อหาที่ว่าด้วยการมีสัญชาติไทย เธอเป็นหนึ่งในคนไร้สัญชาติที่ได้รับสัญชาติไทย เธอจึงเป็นตัวแทนของคนไร้สัญชาติที่ออกมาพูดถึงปัญหาของคนไร้สัญชาติต่อสาธารณะ เธอฝันไว้ว่า หลังจบการมหาวิทยาลัย เธออยากจะทำงานเพื่อคนในชุมชนของเธอ อยากทำงานเพื่อคนในสังคม อยากปกป้องคนอื่นๆ ประกอบกับการที่เธอได้รับข้อมูลมาจากเพื่อนๆ เกี่ยวกับโครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชนของ มอส. ความฝันนี้บวกกับข้อมูลที่มี ผลักดันให้เธอก้าวเข้ามาสมัครเป็นอาสาสมัครในโครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน ขณะที่เธอเรียนในมหาวิทยาลัยความจริงที่เธอพบคือ แม้จะมีผู้ประกอบอาชีพด้านกฎหมายเป็นจำนวนมาก แต่กลับไม่ค่อยเห็นคนหนุ่มสาวให้ความสนใจที่จะทำงานประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเอาจริงเอาจัง เมื่อหันกลับมามองนักศึกษาด้านกฎหมาย เธอเห็นว่า มีนักกฎหมายจำนวนน้อยที่ใส่ใจปัญหาสังคมอย่างแท้จริง ส่วนใหญ่มุ่งเอาดีด้านธุรกิจมากกว่าที่จะมุ่งให้ความช่วยเหลือสังคม หลังจากเข้าร่วมกระบวนการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชนแล้ว  เธอได้พบกับกลุ่มคนที่มีความฝันและหัวใจเดียวกันที่พร้อมจะก้าวไปช่วยเหลือผู้คนในสังคม เขาเหล่านี้ทำให้เธอได้พบว่าเธอไม่ได้โดดเดี่ยวบนหนทางสายนี้

แต่เธอมีเพื่อนอีกมากที่พร้อมจะเดินไปบนเส้นทางของการปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วยกัน แม้เส้นทางนี้จะมากด้วยปัญหาที่แตกต่างในรายละเอียด แต่เธอก็เชื่อว่ากฎหมายจะต้องถูกประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม ตามอัตลักษณ์และบริบทของพื้นที่แตกต่างกันไป และที่แน่นอนที่สุดก็คือ เธอและเพื่อนๆ จะร่วมกันทำงานและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเสมอ หลังจากเรียนจบเธอคิดว่าเธอต้องทำงานกับคนไร้สัญชาติต่อไป ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ เพราะเธอคือหนึ่งในกลุ่มคนเหล่านั้น  ถึงแม้เธอจะโชคร้ายที่เกิดมาเป็นคนไร้สัญชาติ แต่เมื่อเธอได้ย้อนไปทบทวนเรื่องราวชีวิตของเธอตลอดเวลาที่ผ่าน มันทำให้เธอรู้สึกว่าเธอโชคดีมากที่ได้มีโอกาสทำให้คนอื่นๆ ได้รับโอกาสเช่นเดียวกับเธอ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นนอกจากทำให้เธอเข้มแข็งแล้ว ยังเป็นแรงผลักสำคัญที่ทำให้เธอกล้าที่จะก้าวออกไปช่วยเหลือผู้อื่น เธอบอกกับตัวเองเสมอว่า “ฉันไม่ควรหยุดภารกิจเรื่องคนไร้สัญชาติไว้เพียงเพราะว่าฉันได้สัญชาติแล้วเท่านั้น แต่ดาควรทำมันต่อไป”

มึดาบอกว่า หนึ่งปีของการเป็นอาสาสมัครนักสิทธิฯ เธอทำงานกับศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน การเป็นอาสาสมัครที่นี่ ทำให้เธอมีโอกาสทำงานศึกษาวิจัยปัญหาคนไร้รัฐและมุ่งศึกษาประเด็นกฎหมายสัญชาติโดยตรง ทำให้เธอเข้าใจปัญหาเรื่องคนไร้สัญชาติและกฎหมายไทยมากขึ้น ขณะที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยไม่ได้ให้ประสบการณ์ลักษณะนี้กับเธอมากนัก ความคิดหลายอย่างของเธอเปลี่ยนไป เช่น เรื่องสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เธอได้รับจากสื่อกระแสหลัก ทำให้เธอเข้าใจว่าคนภาคใต้เป็นพวกหัวรุนแรงและไม่มีน้ำใจ แต่ความคิดนี้เปลี่ยนไป เมื่อเธอได้เข้าร่วมโครงการอาสาสมัครนักสิทธิฯ เธอได้รู้ความจริงจากเพื่อนในรุ่น และการเข้าร่วมเวทีวิชาการต่างๆ  ทำให้เธอเข้าใจเหตุแห่งปัญหาอย่างแท้จริง ปัจจุบันเธอยังคงทำงานช่วยเหลือให้กับคนไร้สัญชาติ และสนับสนุนคนทำงานในประเด็นนี้ตามจังหวะโอกาสที่เอื้ออำนวย ด้านการประสานความร่วมมือ เธอมีโอกาสได้ทำงานประเด็นสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนร่วมกับกลุ่มคนรุ่นใหม่จากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้ทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่ในประเทศเพื่อนบ้าน เธอพบว่า เมื่อมีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน ปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน การละเมิดสิทธิชุมชน รวมถึงสิทธิเด็กก็เกิดตามมา เรื่องนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เธอและเพื่อนๆ กลุ่มคนรุ่นใม่หันมาสนใจและตระหนักถึงความจำเป็นในการทำงานร่วมกัน โดยใช้พลังแห่งความสมานฉันท์ต่อกรกับความอยุติธรรม

มึดาเล่าว่า ดามีความสุขที่ได้ทำงานร่วมกับคนไร้สัญชาติ การที่ดาเติบโตมาพร้อมๆ กับเขา ทำให้ดารู้สึกว่าคนไร้สัญชาติคือส่วนหนึ่งของชีวิตดา  และดาจะทำงานเพื่อพวกเขาให้เหมือนกับที่ดาเคยฝันเอาไว้” การเป็นนักเรียนไร้สัญชาติไม่ใช่จุดด้อย แต่นั่นกลับทำให้เธอเต็มเปี่ยมด้วยพลังมหาศาล ที่จะทำงานรับใช้คนไร้สัญชาติได้อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยส่วนตัวแล้วมึดามีความเห็นว่า หากคนหนุ่มสาวได้รับโอกาสเช่นเดียวกับเธอ พวกเขาจะสามารถกลับไปทำงานเพื่อพัฒนาชุมชนของตัวเองได้เช่นกัน การก้าวเข้าไปทำงานในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเป็นก้าวที่สองของชีวิตเธอ เนื่องจากเธอเห็นว่า ประเด็นปัญหาในภูมิภาคอาเซียนมีความเกี่ยวเนื่องกัน หากเราแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องคนไร้สัญชาติอย่างเดียว อาจเป็นการตัดโอกาสที่จะเชื่อมประสานงานกับเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนได้ อีกทั้งอาจถูกมองว่าเป็นการเห็นแก่ตัวที่มองเห็นและให้ความสำคัญแค่ปัญหาของตนเองโดยไม่สนใจปัญหาอื่น ดังนั้นเธอจึงตัดสินใจที่จะขับเคลื่อนประเด็นปัญหาเรื่องคนไร้สัญชาติในระดับประเทศไปพร้อมๆ กับการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญาในระดับภูมิภาคอาเซียน

ประสบการณ์สำคัญที่เธอได้รับจากการทำงานในระดับภูมิภาคอาเซียนคือ เธอได้โอกาสพัฒนาภาษาอังกฤษมากขึ้น เธอตระหนักว่าเรื่องคนไร้สัญชาติเป็นปัญหาระดับสากล  ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมีคนไร้สัญชาติจำนวนมาก  เธอต้องการเชื่อมประเด็นคนไร้สัญชาติกับคนรุ่นใหม่โครงการต่างๆ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อให้พวกเขาสนใจและเข้าใจในเรื่องนี้  โดยเฉพาะในประเทศพม่าซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบปัญหาเรื่องคนไร้สัญชาติอย่างมากเช่นกัน ปัญหาหลักคือการที่คนไร้สัญชาติไม่ได้รับความสนใจจากสังคมมากนัก นี่คืออีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เธอพยายามที่จะผลักดันประเด็นปัญหาดังกล่าวนี้ให้กลายเป็นประเด็นสาธารณะ ในระดับภูมิภาคอาเซียน มึดากล่าวย้อนหลังไปว่า เมื่อครั้งที่เธออยู่ในสถานะเด็กไร้สัญชาติ ช่วงนั้นยังไม่มีกฎหมายไทยมาตราใดรองรับเด็กๆ อย่างพวกเธอ แต่ปัจจุบันนโยบายได้เปลี่ยนไปมากแล้ว กฎหมายหลายมาตราถูกปรับ เด็กไร้สัญชาติสามารถเข้ารับการศึกษาได้เช่นเดียวกันกับเด็กนักเรียนไทย

เธอสรุปให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ไร้สัญชาติในประเทศไทย จะไม่ได้รับใบสูติบัตร แต่หลังจากการทำงานขับเคลื่อนสาธารณะให้มีการปรับปรุงนโยบายจนประสบความสำเร็จ  ทำให้ปัจจุบันเด็กที่เกิดในประเทศไทยสามารถแจ้งเกิดและได้รับใบสูติบัตรทุกคน และหากพวกเขาแต่งงานกับคนไทยก็สามารถจดทะเบียนสมรสได้  เธอกล่าวว่า “ปัจจุบันสถานการณ์หลายอย่างได้เปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากที่ประเด็นเรื่องคนไร้สัญชาติถูกขับเคลื่อนอย่างเข้มข้น”  แต่ละปีองค์กรของเธอพยายามที่จะรณรงค์และผลักดันให้สังคมสนใจในประเด็นคนไร้สัญชาติมากขึ้น  รวมถึงความพยายามในการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐมากขึ้นด้วย ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนคือ องค์กรรัฐที่เคยมองว่าเอ็นจีโอเป็นพวกคอรัปชั่น สนใจเฉพาะประเด็นปัญหาคนต่างด้าวแต่กลับละเลยปัญหาของคนไทยด้วยกัน ปัจจุบันมุมมองนี้ถูกเปลี่ยนมาเป็นความเข้าใจในเนื้องานของเอ็นจีโอมากขึ้น อีกทั้งยังให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการทำงานของเอ็นจีโอมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

หลังครบวาระอาสาสมัครแล้ว มึดายังคงทำงานที่ ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน โดยทำงานสองตำแหน่งคู่กันไป คือ เป็นผู้ประสานงาน “โครงการสภาเยาวชนลุ่มน้ำโขง” และเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายให้กับคนไร้สัญชาติ โดยภารกิจส่วนนี้ เธอได้จัดเวทีฝึกอบรมทางวิชาการเพื่อให้ความรู้กับคนไร้สัญชาติเป็นประจำทุกปี แต่ละปีกลุ่มเป้าหมายจะแตกต่างกันไป มีทั้งชาวบ้าน  อาสาสมัคร และเด็กๆ จากโรงเรียนในพื้นที่ แน่นอนว่าเมื่อกลุ่มเป้าหมายมีหลายกลุ่ม เธอต้องปรับประยุกต์เนื้อหาและกระบวนการฝึกอบรมเพื่อให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายด้วย ในเบื้องต้นเป้าหมายของการทำงานคือ การแนะนำให้พวกเขาเข้าในเรื่องสิทธิมนุษยชนที่พวกเขาควรได้รับ รวมถึงการให้คำแนะนำด้านการสมัครงานตามสถานที่ต่างๆ นอกจากนี้แล้วเธอยังเป็นตัวกลางประสานงานและสื่อสารข้อมูลต่างๆ ระหว่างคนไร้สัญชาติกับเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งนี้เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐได้ตระหนักถึงปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง

ด้วยหวังว่าการทำงานขององค์กรในระดับที่สูงขึ้นจะบรรลุผล คือประเด็นคนไร้สัญชาติได้ถูกยกระดับขึ้นเป็นปัญหาสาธารณะ ซึ่งรัฐต้องมีมาตรการหรือนโยบายในการแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจน มึดาเชื่อว่าโครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชนของ มอส. คือพื้นที่ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของคนหนุ่มสาวในเรื่องสิทธิมนุษยชนได้เป็นอย่างดี  หลังจากได้ร่วมกระบวนการนี้ทำให้เธอได้รับความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจนและเข้มข้นขึ้น  เธอกล่าวว่าหากเธอไม่ได้รับโอกาสให้เข้าร่วมกระบวนการนี้ เธอคงตกอยู่ในภาวะของความสับสนว่าเธอควรจะเดินบนถนนสายนี้ต่อไปหรือควรเปลี่ยนเส้นทางชีวิต  เธอรับรู้ได้ว่าความเข้มแข็งจะไม่มีวันเกิดขึ้นในตัวเธออย่างเช่นปัจจุบัน หากไม่ได้ร่วมโครงการนี้

โครงการของ มอส.เป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้คนที่ยังไม่มีความชัดเจนในตัวเองว่าจะเลือกทางเดินของชีวิตอย่างไร  โครงการนี้ทำให้เธอตัดสินใจได้ว่า เธอควรเลือกเส้นทางไหนให้กับชีวิตเธอ เธอมีข้อเสนอต่อ มอส. ว่า ควรมีโครงการดีๆ แบบนี้ต่อไป  มอส.ควรเป็นองค์กรที่เปิดโอกาสสำหรับคนที่ไม่ได้จบด้านกฎหมายให้มีพื้นที่เรียนรู้ เพื่อนเธอหลายคนสนใจอยากจะเข้าร่วมกับโครงการอาสาสมัครนักสิทธิฯ แต่พวกเขาไม่ได้จบด้านกฎหมาย เธอเห็นว่า การทำงานแต่ละประเด็นต้องการคนที่มีทักษะแตกต่างกันในการทำงานหนุนเสริม เช่น การสื่อสาร  การต่อรอง และทักษะอื่นๆ นอกเหนือไปจากทักษะด้านกฎหมาย เธอยกตัวอย่างการทำงานต่อรองกับหน่วยงานรัฐในช่วงที่ผ่านมาว่า การต่อรองกับเจ้าหน้าที่รัฐบางครั้งให้ผลในทางลบ เนื่องจากว่าการนำเสนอข้อมูลเฉพาะประเด็นด้านกฎหมายประเด็นเดียวทำให้น้ำหนักในการต่อรองมีน้อย และอาสาสมัครแต่ละคนมีพื้นฐานแตกต่างกัน

ดังนั้น มอส. ควรเป็นองค์กรที่เพิ่มทักษะที่จำเป็นด้านต่างๆ ให้กับอาสาสมัคร โดยเฉพาะเรื่องการสื่อสารและการต่อรองกับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งเชื่อว่าหากพวกเขาสามารถนำความรู้และทักษะเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้ ก็จะเกิดประโยชน์กับการทำงานสร้างสรรค์สังคมต่อไป ปัจจุบันมึดาทำงานประจำอยู่ฝ่ายกฎหมายที่ EarthRights มึดากล่าวคำคมทิ้งท้ายไว้ว่า “ดาเชื่อมั่นในพลังและความรู้ของคนหนุ่มสาวอย่างพวกเรา  หากพวกเราร่วมมือกัน เราจะสามารถเปลี่ยนอนาคตได้ด้วยมือของพวกเราเอง”

Siza Nepal / สัมภาษณ์
อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล / แปล
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง   ชวนผู้สนใจ

 

สมัครเข้าร่วมโครงการ
“อาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 15″

คลิกกรอกใบสมัครได้ที่นี่

คุณสมบัติผู้สมัคร
1. จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ หรือสาขาอื่นๆ
2. อายุระหว่าง 20-30 ปี
3. สามารถเป็นอาสาสมัครเต็มเวลาจนครบวาระ 1 ปี
(1 สิงหาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 กรกฎา 2564)

หลักฐานการสมัคร
1. รูปถ่าย
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
3. สำเนาทะเบียนบ้าน
4. สำเนาวุฒิการศึกษา หรือทรานสคลิป
5. ใบสมัครออนไลน์ (ตามลิงค์ด้านล่าง)ที่กรอกเสร็จเรียบร้อย

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai