ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

ชื่อองค์กร: มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ(มพน.)
Facebook: มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

ประเด็นที่องค์กรปฏิบัติงาน
สิทธิในการจัดการที่ดินและทรัพยากร และสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์

วัตถุประสงค์ขององค์กร
“สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายเกษตรกรรายย่อยและขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนในการผลักดันการแก้ไขปัญหาด้านสิทธิในที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ และรณรงค์สร้างความตระหนักต่อสังคมในการมีส่วนร่วมสร้างความเป็นธรรมในสังคม”

มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือมีเป้าหมายในการทำงานเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรยากจน
ทั้งในและนอกเขตป่า ให้มีองค์กรและเครือข่ายที่เข้มแข็ง มีความตระหนักและเชื่อมั่นในสิทธิของชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้และเข้าถึงที่ดินและทรัพยากรอื่นที่เป็นปัจจัยการผลิตที่มีความจำเป็นในการดำรงชีพ มีการจัดกิจกรรม ฟื้นฟู ดูแล และใช้ประโยชน์จากที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม ตลอดจนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนโยบายไปสู่การสนับสนุนการจัดการที่ดินอย่างเป็นธรรม และมีมาตรการส่งเสริมการกระจายการถือครองที่ดินสู่เกษตรกรรายย่อยและคนจนที่ไม่มีที่ดินทำกิน สนับสนุนเกษตรกรรายย่อยให้สามารถมีที่ดินทำกิน ได้รับการรับรองสิทธิในที่ดินอย่างมั่นคง สามารถเข้าถึงการใชประโยชน์ดูแลรักษาและ การบริหารทรัพยากรป่าไม้ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและมีรายได้มั่นคง

กิจกรรมขององค์กรที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน (โดยสังเขป)
1. จัดตั้ง สนับสนุน ส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม/เครือข่ายเกษตรกรรายย่อยเพื่อรวมตัวแก้ไขปัญหาในพื้นที่เป้าหมายหลัก 10 จังหวัดภาคเหนือ
2. ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายกับองค์กรพัฒนาเอกชนองค์กรอิสระเครือข่ายภาคประชาชน หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติเพื่อผลักดันแนวทางการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรและปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคม
3. ผลักดันพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษหรือพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ภาคเหนือ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ว่าด้วยแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง และผลักดันร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ….
4. รณรงค์ เผยแพร่ข้อมูล องค์ความรู้ให้กับสาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจในประเด็นปัญหาของเกษตรกรรายย่อยและประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐและสร้างแนวร่วมทางสังคมผ่านการสื่อสารด้วยสื่อที่หลากหลายรูปแบบ

บทบาท/หน้าที่ของอาสาสมัคร
1. อาสาสมัครปฏิบัติงานภาคสนาม : อาสาสมัครปฏิบัติงานภาคสนาม (1 คน) ทำหน้าที่ปฏิบัติงานโดยการลงพื้นที่ชุมชนเพื่อติดตามการดำเนินการตามโครงการของมูลนิธิ รวมทั้งติดตามการแก้ไขปัญหาที่ดินและทรัพยากรของชุมชน และให้ความรู้ ให้คำปรึกษาในประเด็นกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง

2. อาสาสมัครปฏิบัติงานด้านการรณรงค์สื่อสาร : อาสาสมัครปฏิบัติงานด้านการรณรงค์สื่อสาร (1 คน) ทำหน้าที่ติดตามข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ดินและทรัพยากร นำข้อมูล ข้อเท็จจริง สภาพปัญหา และรูปธรรมการจัดการที่ดินและทรัพยากรของชุมชนมาเผยแพร่ผ่านสื่อสาธารณะทางช่องทางเฟซบุ๊กของมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ และแฟลตฟอร์มอื่นๆ ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา

พื้นที่ปฏิบัติงาน
พื้นที่สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ 10 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา และอุตรดิตถ์

คุณสมบัติอาสาสมัครที่จำเป็น
@ อาสาสมัครปฏิบัติงานภาคสนาม
1. มีทักษะทำงานชุมชน จัดกระบวนการ พื้นฐานเบื้องต้น ทำงานข้อมูลชุมชน ตั้งคำถามค้นคว้าหาข้อมูล มีข้อเสนอต่อการจัดการที่ดินและทรัพยากร ทำงานเชื่อมโยงขบวน
2. ศึกษา ค้นคว้า สนใจประเด็นการทำงานขององค์กร ทั้งเรื่องรัฐธรรมนูญ สิทธิชุมชน ที่ดิน ป่าไม้และการจัดการทรัพยากร ติดตามนโยบาย กฎหมายที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการจัดการที่ดินและทรัพยากร
3. พัฒนา เรียนรู้ และการทำงานร่วมกับชุมชนอยู่เสมอ ลงพื้นที่ฝังตัว ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ภาคสนามและหนุนงานส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องตามภารกิจ ทำงานได้กับทุกกลุ่มชาติพันธุ์ และคนเมือง
4. สามารเดินทางเข้าพื้นที่ชุมชนได้เอง ผ่านการประสานงานกับแกนนำชุมชนได้ หากสามารถขับรถยนต์ได้และมีใบขับขี่จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

@ อาสาสมัครปฏิบัติงานด้านการรณรงค์สื่อสาร
1. สนใจประเด็นด้านการจัดการที่ดินและทรัพยากร สิทธิชุมชน หรือสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์
2. ศึกษา ค้นคว้า ประเด็นการทำงานขององค์กร ทั้งเรื่องรัฐธรรมนูญ สิทธิชุมชน ที่ดิน ป่าไม้และการจัดการทรัพยากร ติดตามนโยบาย กฎหมายที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการจัดการที่ดินและทรัพยากร
3. เรียนรู้และพัฒนาตนเองในด้านการสื่อสารสาธารณะอยู่เสมอ
4. หากมีความสามารถในการใช้โปรแกรม Adobe จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

ความคาดหวังต่ออาสาสมัคร
1. สามารถทำงานร่วมกับมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือได้จนครบวาระ 1 ปี
2. มีความสุข มีแรงบันดาลใจ และมีไฟในการทำงานอยู่เสมอแม้เผชิญสถานการณ์ที่กดดันและยากลำบากบ้างในบางครั้ง
3. กล้าเข้าหารุ่นพี่ ขอคำปรึกษา หรือสะท้อนปัญหาอย่างตรงไปตรงมา
4. กล้าคิดอะไรใหม่ๆ ในการทำงาน แล้วเสนอแนะต่อรุ่นพี่ โดยเฉพาะงานด้านการรณรงค์เคลื่อนไหวทั้งช่องทางออนไลน์และขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน
5. เชื่อมั่นในประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ทำงานเต็มเปี่ยมด้วยความหวังที่อยากเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นธรรม

แนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่อาสาสมัคร
1. จัดกระบวนการนิเทศอาสาสมัครผ่านการประชุมเจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือภายหลังรับอาสาสมัครแล้ว เพื่อทำความรู้จักกับทีม ทำความรู้จักองค์กร และพูดคุยถึงแนวทางการทำงานและความคาดหวังขององค์กรที่มีต่ออาสาสมัคร ตลอดจนความคาดหวังของอาสาสมัครที่มีต่อองค์กร
2. ในช่วงระยะเวลา 1-2 เดือนแรก อาสาสมัครจะได้ทำงานร่วมกับพี่เลี้ยงอย่างใกล้ชิด ทั้งในระหว่างการลงพื้นที่และการทำงานที่สำนักงาน เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน หลังจากนั้นอาสาสมัครจะมีโอกาสได้ปฏิบัติงานด้วยตนเองตามประเด็นหรือแง่มุมที่อาสาสมัครสนใจ
3. เนื่องจากมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมต่างๆ เช่น สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม และเกษตรกรคนจนปลดแอก เป็นต้น อาสาสมัครจะได้มีโอกาสเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหว ทั้งในกระบวนการออกแบบจัดทำข้อเรียกร้อง การออกแบบกิจกรรม และดำเนินกิจกรรมจริงร่วมกับพี่เลี้ยงของขบวนการเคลื่อนไหวนั้นๆ
4. พี่เลี้ยงจะร่วมให้คำปรึกษา ให้ข้อมูล และพัฒนากรอบรายงานครบรอบวาระ 1 ปีของอาสาสมัคร เพื่อให้รายงานดังกล่าวสามารถสะท้อนการทำงานของมูลนิธิฯ ได้ และสามารถทำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดแก่ขบวนการภาคประชาชนต่อไป
.
องค์กรที่เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิฯ รุ่น 16
โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน
คลิกสมัคร รุ่น 16

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai