ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

“สิ่งที่ทำให้เธอคนนี้เปลี่ยนความคิดจากที่เคยทำงานประจำต่างถิ่นแล้วอยากกลับมาอยู่บ้าน’’ มันมีที่มา หลังจากจบปริญญาตรี “ปลา-ปาริฉัตร ดอกแก้ว” ไม่เคยมีความคิดในหัวเลยว่าหลังจากเรียนจบแล้วต้องออกทำงานต่างถิ่น แต่ด้วยความคาดหวังของครอบครัวทำให้ต้องตัดสินใจออกเดินทาง และใช้เวลานานถึง 9 ปีกับชีวิตที่วนเวียนอยู่กับการทำงานประจำ ความคิดย้อนแย้งกับชีวิตที่เป็นอยู่ทุกวันคือ ‘งานประจำที่ทำอยู่นี้มันไม่ใช่คำตอบสำหรับตัวเอง’ จนวันหนึ่งได้รับโอกาสจากครอบครัวด้วยภารกิจสำคัญบางอย่าง ปลาจึงตัดสินใจกลับบ้านทันที และนี่คือจุดเริ่มต้นของการ ‘กลับบ้าน’

ช่วงที่กลับมาอยู่บ้านในตอนแรกๆ ปลาบอกว่าได้รับความกดดันจากพ่อ แม่ และคนรอบข้างอย่างมาก มีคำถามให้ได้ยินอยู่ไม่เว้นแต่ละวันว่ากลับมาอยู่บ้านแล้วจะทำอะไรกิน จะเอาตัวรอดด้วยอาชีพอะไร จบก็สูงทำไมไม่ไปหางานดีๆทำ คำถามเยอะแยะไปหมด  และสิ่งที่ปลาทำได้ในตอนนั้นคือการเริ่มต้นจากการตั้งโจทย์ว่า ในชุมชนมีต้นทุนอะไร ชุมชนต้นการหรือขาดอะไรที่ปลาสามารถเข้าไปอุดช่องว่างนั้นได้บ้าง

การทำงานในลักษณะอาสาสมัครบริการและช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนจึงจุดเริ่มต้นอาชีพใหม่ของปลา การให้การบริการในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รับถ่ายเอกสาร รับจ่ายค่าไฟฟ้าออนไลน์ รับโอนเงินออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งการเริ่มต้นงานบริการลักษณะดังกล่าวนี้อาจถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการทำให้งานบริการชุมชนกลายเป็นอาชีพขึ้นมาได้ ซึ่งตอบโจทย์คนในชุมชนที่ต้องการลดภาระในการเดินทางไปจัดการเรื่องต่างๆ เหล่านี้ถึงในตัวอำเภอโขงเจียม ซึ่งอยู่ไกลจากจากชุมชนถึง 15 กิโลเมตร ถ้าต้องเดินทางไปจัดการเองอาจต้องเสียเวลาทั้งวันและสูญเสียโอกาสในการจัดการภารกิจอื่นๆ (โดยเฉพาะการออกไปรับจ้างรายวัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบรายรับจากการรับจ้าง และรายจ่ายค่าบริการทำธุรกรรมทางการเงินที่ต้องจ่ายให้กับปาแทนการเดินทางไปในตัวอำเภอเองนั้นถือว่าคุ้มค่ากว่า)

นอกจากการทำงานบริการคนในชุมชนแล้ว ปลายังพยายามหารายได้จากช่องทางอื่นๆ เช่น การถ่ายภาพขายออนไลน์ และเริ่มคิดหาทางทำธุรกิจออนไลน์ควบคู่ไปด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์แรกที่ปลาเริ่มต้นทดลองพัฒนามันอย่างจริงจังเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างรายได้ให้กับตัวเองและคนในชุมชนก็คือ “เม็ดกระบกหรืออัลมอนด์อีสานคั่วเกลือ” นั่นเอง

ปลา(เหมือน)เริ่มทำวิจัยเล็กๆ โดยการนำเม็ดกระบกมาคั่วกับเตาถ่าน ทดลองคั่วหลายๆแบบ คั่วอ่อน คั่วกลาง คั่วแก่(แบบคั่วกาแฟ) คั่วแล้วชิม ชิมแล้วปรับไปเรื่อยๆ จนได้รสชาติที่ชิมแล้วคิดว่าพอใช้ได้(ในความรู้สึก) ปลาจึงเริ่มโพสต์ขึ้นบนโลกโซเชียลผ่านช่องทาง

เฟซบุ๊กของตัวเอง และผลที่เกิดขึ้นหลังจากโพสต์ได้ไม่นาน คือ มีเพื่อนๆหลายคนเข้ามาเมนต์ว่าอยากทดลองชิมดูบ้าง อยากสั่งซื้อบ้าง แนะนำให้ทำบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจบ้าง ฯ หลายคำแนะนำที่ได้รับ ปลานำมาแก้ไขปรับปรุงและวันนี้ปลามีผลิตภัณฑ์แรกออกวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ และผู้ที่สนใจสามารถสั่งซื้อ หรือเข้าไปติดตามและเป็นกำลังใจให้ปลาได้ที่

เส้นทางกลับบ้านเส้นนี้อาจเป็นคำตอบหนึ่งของหลายๆคำตอบที่ผู้คนใน “ยุคฝ่าภัยวิกฤตโควิด” กำลังค้นหา การมีบ้านเกิดให้สามารถกลับไปตั้งหลักได้อาจเป็นหนทางรับมือกับวิกฤตคนว่างงาน เป็นวิกฤตการณ์แห่งการสร้างทางเลือกทางรอดให้กับชีวิตของตนเองและชุมชนอีกทางหนึ่งก็ว่าได้ ปลาบอกว่าก้าวต่อไปคือการค้นหาต่อว่าในชุมชนมีต้นทุนอะไรอีกที่จะสามารถนำมาต่อยอดพัฒนาต่อได้ และสิ่งที่ปาเล็งๆไว้ตอนนี้ก็คือ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ น้ำผึ้งป่า เห็ด ฯ ต้องรอดูและให้กำลังใจกันต่อไป และรอติดตามคลิปสัมภาษณ์ปาบางช่วงบางตอนจากงาน “โฮมเฮาพวกเรากลับบ้าน” บ่ายโมงตรงทางเฟซบุ๊กเพจ ยูทูป ทวิตเตอร์ และเว็บไซต์ มอส.
______________________________________________________________

เกี่ยวกับ “ปลา-ปาริฉัตร ดอกแก้ว”
ปลา-ปาริฉัตร ดอกแก้ว จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์อุตสาหการ จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เข้าร่วมโครงการอาสาสมัครเพื่อสังคมร่วมสร้างชุมชนยั่งยืน หรืออาสาคืนถิ่น
รุ่น 4 มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.) เมื่อปี 2563 ปัจจุบันประกอบอาชีพอิสระ(ขายของออนไลน์และทำงานอาสาสมัครบริการชุมชน)ที่บ้านเกิด คือ บ้านหนองผือน้อย ต.ห้วยไผ่
อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ผลิตภัณฑ์แนะนำคือ “เม็ดกระบกคั่วเกลือ” ช่องทางการติดต่อคือ แฟนเพจ
@เม็ดกระบก by Krabok Thai

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai