ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

เรื่องราวชีวิตหลังเรียนจบคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 4 ปี “นุ่น-เรณุกา น้อยทรง” เธอเล่าว่าชีวิตเธอต้องต่อสู้มาโดยตลอด ปัจจัยหนึ่งอาจจะมาจากจากช่วงก่อนที่เธอจะเรียนจบมหาวิทยาลัย ครอบครัวมีปัญหาพ่อกับแม่แยกทางกัน เธอจึงต้องทำหน้าที่เป็นเสาหลักของครอบครัว หลังจบมหาวิทยาลัยนุ่นได้เริ่มทำงานครั้งแรกที่โรงงานแห่งหนึ่ง ตำแหน่งหัวหน้างานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เธอไม่เคยมีความคิดที่จะเข้าทำงานในโรงงานเลย แต่เนื่องจากตอนนั้นเธออยู่ในจังหวะที่ทางเลือกชีวิตมีไม่มากนัก งานไหนเข้ามาจึงต้องคว้ามันเอาไว้ก่อน เพราะเธอมีภาระที่ต้องดูแลแม่และส่งเสียน้องเรียนหนังสือ

หลังจากทำงานมาได้ระยะหนึ่งเธอบอกว่า “งานมันใช่และโอเคมาก แต่เพราะปัญหาสุขภาพจึงจำเป็นต้องลาออกเพื่อมารักษาตัวแล้วเปลี่ยนที่ทำงานใหม่” หลังจากทำงานในที่ทำงานใหม่นี้มาได้ระยะหนึ่งเธอพบว่างานที่ทำอยู่นี้ยังไม่ใช่คำตอบของชีวิต วันหนึ่งแม่เธอบอกกับเธอว่า “กลับบ้านเรามั้ยลูก” เชื่อไหมว่าแค่คำนี้คำเดียวมันทำให้เธอแทบไม่ต้องคิดอะไรเลย เธอตัดสินใจหันหลังให้ที่ทำงานแล้วมุ่งหน้ากลับบ้านเกิดทันที

หลังจากกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิดได้สักพัก นุ่นเริ่มเข้ามามีบทบาทในการทำงานร่วมกับรุ่นพี่ที่เป็นผู้นำรุ่นก่อนหน้านี้และเยาวชนในชุมชน และเนื่องจากระหว่างนี้นุ่นได้ติดตามเพจ “โครงการฮักบ้านเกิด” อยู่แล้วจึงได้เห็นโพสต์หนึ่งที่ถูกแชร์มา นั่นคือโพสต์เปิดรับสมัคร “อาสาคืนถิ่น รุ่น 4” นุ่นเล่าว่า “ก่อนที่จะตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการ ก็ปรึกษาหลายคนมาก แต่ทุกคนก็ตอบในทำนองเดียวกันว่า ‘เอาเลย ลุยเลย’ ” เธอจึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วม “โครงการอาสาสมัครเพื่อสังคมร่วมสร้างชุมชนยั่งยืน(อาสาคืนถิ่น)” แล้วเธอคนนี้ก็ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 15 คนของ “อาสาคืนถิ่น รุ่น 4” นุ่นเล่าต่อว่า “อาสาคืนถิ่นทำให้เราได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ได้ทำอะไรหลายๆ อย่างที่อยากทำ เช่นงาน ‘โฮมเฮา พวกเรากลับบ้าน’ เมื่อช่วงปลายปีล่าสุด เราได้มีโอกาสเข้าร่วมเวทีเสวนาพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมอง ประสบการณ์ชีวิต และวิถีความเป็นอยู่ของเราในชุมชนบ้านเกิดร่วมกับเพื่อนๆอีกหลายคนบนเวทีกลางของงาน มันคืออีกหนึ่งประสบการณ์ชีวิตเลยนะ”

จากบันทึกประสบการณ์บางตอนของนุ่นในช่วงที่เข้าร่วมโครงการอาสาคืนถิ่น รุ่น 4 เธอเล่าว่า
“ข้าพเจ้าจึงคิดหาหนทางที่จะสร้างกิจกรรมให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนขึ้นโดยต่อยอดจากวิถีการดำรงชีพของคนในชุมชนบ้านบุ่ง ที่นิยมปลูกพืชผักสวนครัวแต่ไม่ชอบเพาะกล้าพันธุ์ปลูกเอง อาศัยการซื้อต้นพันธุ์จากตลาดมาปลูกเพื่อย่นระยะเวลาการเติบโตและเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น ประกอบกับการที่ประชาชนมีความกังวลใจต่อสถานการณ์ปัจจุบันข้าพเจ้าจึงมีแนวคิดที่จะสร้างขวัญกำลังใจให้กับคนในชุมชน เพื่อให้เกิดสายพานอาหาร เกิดความมั่งคงทางอาหารของคนในชุมชน ดังนั้นโครงการที่ชื่อว่า “ต้นกล้ากำลังใจ” จึงเกิดขึ้น โดยโครงการจะทำการส่งมอบต้นกล้าที่เด็กๆและเยาวชนในชุมชนปลูกเองให้เป็นของขวัญแทนกำลังใจให้กับคนในชุมชน เมล็ดพันธุ์ที่ใช้เพาะเป็นต้นกล้าคือเมล็ดพันธุ์ที่หาได้ในชุมชน เมื่อต้นกล้าโตก็จะถูกส่งมอบต่อให้กับคนในชุมชน สร้างวัฏจักรของการหมุนเวียนจากรุ่นสู่รุ่นไปเรื่อย ๆ”

“ภาพที่ข้าพเจ้าอยากเห็นในอนาคตและตั้งใจจะทำมันก็คือ ข้าพเจ้าได้ตั้งใจจะทำประโยชน์ให้กับชุมชน ที่กำลังจะทำได้อยากทำให้เด็กและเยาวชนกล้าแสดงตัวเข้ามาเป็นคนช่วยเหลือ ให้กำลังใจผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ ผู้คนในชุมชน มากยิ่งขึ้น โจทย์ต่อไปของข้าพเจ้าก็คือ การจะทำให้กิจกรรมดำเนินการสืบเนื่องต่อไปทุกๆปี และจะทำให้เด็กๆมีรายได้จากการเพราะกล้าเพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองได้อย่างไรรวมถึงสิ่งที่ข้าพเจ้าทำให้กับตัวเองอยู่ตอนนี้ด้วยความคาดหวังว่ามันจะกลายเป็นศูนย์การการเรียนรู้ในอนาคตของคนในชุมชนก็คือ การเปิดร้านกล้าไม้ที่ได้ชื่อ “ต้นกล้ากำลังใจ” จากกิจกรรมที่ทำอยู่มาเป็นชื่อร้าน เพื่อตอบโจทย์ของตัวเองว่า ข้าพเจ้าจะทำให้ตัวเองอยู่รอดไปพร้อมๆกับชุมชนอย่างมีความสุขได้อย่างไร ที่เล่ามาทั้งหมด จริงๆแล้วข้าพเจ้าแค่อยากจะบอกว่า สิ่งต่างๆทั้งหมดที่เกิดขึ้นในชีวิตของข้าพเจ้าในวันนี้ มันมีจุดเริ่มต้นจากจุดเล็กๆแค่ว่า “ข้าพเจ้าอยากให้เด็กๆเลี้ยงไก่ไว้กินไข่” ก็เท่านั้น แต่จากจุดเล็กๆ มันกลับค่อยๆ แตกแขนง แตกดอกออกผลมากขึ้นเรื่อย ๆ จนวันนี้ วันที่ข้าพเจ้าเหมือนได้พบกับโลกใบใหม่ในชุมชนบ้านเกิดของข้าพเจ้าเอง แต่เป็นโลกใบใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม ข้าพเจ้าจึงขอเรียกโลกใบใหม่ของข้าพเจ้าว่า ‘โลกใบใหญ่ของไข่ใบเล็ก’ ”

ปัจจุบันโครงการอาสาคืนถิ่น รุ่น 4 ได้จบกระบวนการแล้ว และนุ่นก็กำลังเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่กับอีกอาชีพหนึ่งคือ พนักงานจ้างเหมา 1 ปี ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์  ต.บึงงาม อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ตำแหน่งพนังงานให้บริการด้านการท่องเที่ยว(ส่องนก) แต่อย่างไรก็ตาม แม้บทบาทชีวิตจะเปลี่ยนไป แต่บทบาทที่นุ่นไม่เคยเปลี่ยนไปเลยก็คือ บทบาทของคนทำงานอาสาสมัครในชุมชน นุ่นยังคงทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือของคนในชุมชนบ้านเกิด รวมถึงโครงการต้นกล้ากำลังใจและโครงการสหกรณ์ไก่ไข่เพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนให้กับคนในชุมชนซึ่งนุ่นคือส่วนสำคัญของการริเริ่มโครงการ ก็ยังคงดำเนินการและผลักดันร่วมกับคนในชุมชนต่อไป

นี่คือเรื่องราวชีวิตช่วงหนึ่งของคนคนหนึ่งที่เริ่มจากการคิดถึงคนรอบข้าง เริ่มจากความจำเป็นที่ต้องลุกขึ้นมาเป็นผู้นำครอบครัว ต้องคิดและลงมือทำหลายสิ่งหลายอย่างภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดของทางเลือกที่มีไม่มาก ณ ช่วงเวลานั้น การตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบของชีวิต การมองให้ข้ามพ้นประโยชน์ส่วนตัวแล้วลงมือทำเพื่อประโยชน์ของคนอื่นบ้างจึงค่อนข้างสำคัญและจำเป็น

______________________________________________________________

เกี่ยวกับ “นุ่น-เรณุกา น้อยทรง”
นุ่น-เรณุกา น้อยทรง จบปริญญาตรีคณะเกษตรศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ปี 2563 เข้าร่วมโครงการอาสาสมัครเพื่อสังคมร่วมสร้างชุมชนยั่งยืน(อาสาคืนถิ่น รุ่น 4)  มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.)  
ปัจจุบันประกอบอาชีพเป็นเจ้าพนักงานจ้างเหมา ตำแหน่งพนังงานให้บริการด้านการท่องเที่ยว(ส่องนก)
 ต.บึงงาม อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด และยังคงทำงานเป็นอาสาสมัครในชุมชนบ้านเกิดของเธอ (ชุมชนบ้านบุ่ง ต.ภูวง อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร) ตามโอกาส ติดตามนุ่นและเรื่องราวของคนรุ่นใหม่กลับบ้านได้ที่เพจ อาสาคืนถิ่น คลิ๊ก

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai