ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

ชื่อองค์กร : สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม (Just Economy and Labour Institute; JELI)
Website : : https://www.justeconomylabor.org/
Facebook :
สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม
E-mail :  justeconomylabor@gmail.com
Tel :  08-1012-7087

ประเด็นที่องค์กรปฏิบัติงาน
ผลิตงานวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อรณรงค์และเสนอทางออกระดับนโยบาย ให้นำไปสู่การออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิแรงงานของคนทำงานบนแพลตฟอร์ม รวมถึงส่งเสริมบทบาทของขบวนการแรงงานในการเรียกร้องประชาธิปไตย

วัตถุประสงค์ขององค์กร
สถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรมมุ่งสร้างเศรษฐกิจที่คำนึงถึง ‘คนงาน’ เป็นศูนย์กลาง ด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของคนทำงานผ่านพลังของการรวมกลุ่ม (collective power) รวมถึงเสนอทางเลือกอื่นๆ เช่น สหกรณ์ที่คนงานเป็นเจ้าของเอง หรือแนวคิดเศรษฐกิจสมานฉันท์ (solidarity economy) หรือเศรษฐกิจที่ยึดถือประชาธิปไตยในที่ทำงานเป็นสำคัญ เพื่อหลุดพ้นจากกรอบโครงสร้างองค์กรที่มักมีลักษณะชายเป็นใหญ่และเต็มไปด้วยลำดับชั้นแบบเดิม

สถาบันแรงงานฯ ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ อันได้แก่ อำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างภาคธุรกิจและคนทำงาน อำนาจเหล่านี้ถูกผลิตซ้ำจนสะสมเป็นความเหลื่อมล้ำในสังคมที่กักขังคนทำงานไว้ในส่วนล่างสุดของห่วงโซ่ ประการแรก สถาบันแรงงานฯ ทำงานเชื่อมประสานระหว่างกลุ่มคนงานที่เดิมถูกแบ่งเป็นแรงงานในระบบและนอกระบบ เพื่อรับมือกับความสัมพันธ์การจ้างงานแบบใหม่ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ประการถัดมา สถาบันแรงงานฯ ใช้แนวทางผสมผสานระหว่างการศึกษาวิจัย การจัดตั้ง และการเสริมทักษะความสามารถแก่คนงาน เพื่อเสริมสร้างอำนาจภายในให้คนทำงานสามารถรวมกลุ่มต่อรองได้อย่างเข้มแข็ง ประการสุดท้าย สถาบันแรงงานฯ ทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์กรภาคประชาสังคม (CSO) และองค์กรในชุมชน (CBO) ต่างๆ เพื่อออกแบบกิจกรรมที่จะนำไปสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นธรรมต่อคนทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ สถาบันแรงงานฯ ยังมุ่งหวังจะสร้างเครือข่ายของผลิตและคนทำงาน เพื่อเสริมสร้างขบวนการเคลื่อนไหวของชนชั้นแรงงานให้มีพลัง มีอิสระ และมีความสมานฉันท์เป็นปึกแผ่นต่อกันยิ่งขึ้น

กิจกรรมขององค์กรที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน (โดยสังเขป)
1. โครงการศึกษาเกี่ยวกับคนงานกิ๊ก (gig worker): โครงการสำรวจสิทธิและอำนาจต่อรองของแรงงานหญิงบนแพลตฟอร์มด้านการดูแล ซึ่งเป็นโครงการวิจัยต่อเนื่อง 1 ปี
2. กิจกรรมรณรงค์ให้มีการร่างหรือแก้ไขกฎหมายแรงงาน เพื่อให้ครอบคลุม คุ้มครองแรงงานรายชิ้น (gig worker) ในประเทศไทย โดยผลักดันร่วมกับกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร กระทรวงแรงงาน องค์กรภาคประชาสังคม และตัวแทนแรงงานรายชิ้นบนแพลตฟอร์ม
3. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายแรงงานและขยายพันธมิตรองค์กรแรงงานด้านประชาธิปไตย
4. โครงการผลิตสื่อเพื่อสื่อสารประเด็นสิทธิคนงานแพลตฟอร์ม เน้นที่กลุ่มคนงานไรเดอร์

โครงการ/งานที่ขอรับอาสาสม้ครไปปฏิบัติงาน
1. กิจกรรมรณรงค์ให้มีการร่างหรือแก้ไขกฎหมายแรงงาน เพื่อให้ครอบคลุม คุ้มครองแรงงานรายชิ้น (gig worker) ในประเทศไทย โดยผลักดันร่วมกับกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร กระทรวงแรงงาน องค์กรภาคประชาสังคม และตัวแทนแรงงานรายชิ้นบนแพลตฟอร์ม
2. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายแรงงานและขยายพันธมิตรองค์กรแรงงานด้านประชาธิปไตย
3. โครงการผลิตสื่อเพื่อสื่อสารประเด็นสิทธิไรเดอร์

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. กิจกรรมรณรงค์ให้มีการร่างหรือแก้ไขกฎหมายแรงงาน เพื่อให้ครอบคลุม คุ้มครองแรงงานรายชิ้น (gig worker) ในประเทศไทย: เพื่อผลักดันให้เกิดการคุ้มครองสิทธิแรงงานรายชิ้นบนแพลตฟอร์มอย่างเป็นรูปธรรม ให้แรงงานได้รับค่าจ้างค่าแรงที่เป็นธรรม มีสวัสดิการคุ้มครอง และสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย ทั้งจากอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน และจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศระหว่างทำงาน
2. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายแรงงานและขยายพันธมิตรองค์กรแรงงานด้านประชาธิปไตย: เพื่อส่งเสริมบทบาทของขบวนการแรงงานในฐานะผู้เล่น (actor) ที่มีบทบาทสำคัญอีกรายหนึ่งในการเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทย
3. โครงการผลิตสื่อเพื่อสื่อสารประเด็นสิทธิไรเดอร์: เพื่อนำงานวิจัย “รูปแบบงานใหม่ของคนขี่มอเตอร์ไซค์ส่งอาหารที่กำกับโดยแพลตฟอร์ม” โดยเกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร และวรดุลย์ ตุลารักษ์ มาผลิตเป็นผลงานย่อยและเผยแพร่ผ่านสื่อประเภทต่างๆ เพื่อสร้างตระหนักรู้แก่ประชาชนในวงกว้างเกี่ยวกับสภาพการทำงานและปัญหาต่างๆ ที่ไรเดอร์บนแพลตฟอร์มต้องเผชิญ

กิจกรรมของโครงการ
1. กิจกรรมรณรงค์ให้มีการร่างหรือแก้ไขกฎหมายแรงงาน เพื่อให้ครอบคลุม คุ้มครองแรงงานรายชิ้น (gig worker) ในประเทศไทย: สถาบันแรงงานฯ ร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม นักวิชาการ แรงงานบนแพลตฟอร์ม กรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร และเจ้าหน้าที่จากกระทรวงแรงงาน ตั้งคณะทำงานร่วมกัน มีภารกิจเพื่อรับเรื่องร้องเรียน รวบรวมข้อมูล ประชุมทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และวางแผนแก้ไขปัญหาของแรงงานแพลตฟอร์มด้วยการร่างกฎหมายคุ้มครองสิทธิ
2. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายแรงงานและขยายพันธมิตรองค์กรแรงงานด้านประชาธิปไตย: สถาบันแรงงานฯ ร่วมกับเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน จัดกิจกรรมกลุ่มศึกษาในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ สระบุรี และกรุงเทพ (อ้อมน้อย) รวมถึงจัดประชุมวางยุทธศาสตร์การทำงานให้กับเครือข่ายแรงงานฯ และจัดกิจกรรมเสริมทักษะแก่แกนนำแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นทักษะความรู้ด้านสิทธิแรงงานและการจัดตั้ง หรือทักษะด้านเทคโนโลยีสำหรับประชาสัมพันธ์กิจกรรมและการรณรงค์ออนไลน์
3. โครงการผลิตสื่อเพื่อสื่อสารประเด็นสิทธิไรเดอร์: สถาบันแรงงานฯ ร่วมกับองค์กรสื่อ จะวางแผนและผลิตชิ้นงานประเภทบทความ อินโฟกราฟิก คลิปวิดีโอ เกี่ยวกับประเด็นสิทธิของไรเดอร์บนแพลตฟอร์ม เผยแพร่ลงบนพื้นที่ขององค์กรสื่อนั้นๆ โดยอ้างอิงเนื้อหาการผลิตสื่อแต่ละชิ้นมาจากข้อค้นพบในงานวิจัยของสถาบันแรงงานฯ

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
1. กิจกรรมรณรงค์ให้มีการร่างหรือแก้ไขกฎหมายแรงงาน เพื่อให้ครอบคลุม คุ้มครองแรงงานรายชิ้น (gig worker) ในประเทศไทย: กลุ่มผู้มีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย ได้แก่ กรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร กระทรวงแรงงาน และองค์กรภาคประชาสังคม รวมถึงตัวแทนแรงงานรายชิ้นบนแพลตฟอร์ม
2. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายแรงงานและขยายพันธมิตรองค์กรแรงงานด้านประชาธิปไตย: เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน แกนนำแรงงานรุ่นใหม่จากพื้นที่สมุทรปราการ สระบุรี และกรุงเทพ รวมถึงแกนนำการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย
3. โครงการผลิตสื่อเพื่อสื่อสารประเด็นสิทธิไรเดอร์: ผู้รับสื่อที่มีอายุตั้งแต่ 25-45 ปี เป็นแรงงานหรือผู้ใช้บริการอาหารเดลิเวอรีผ่านแพลตฟอร์ม และสนใจประเด็นไรเดอร์หรือสิทธิแรงงาน

บทบาท/หน้าที่ของอาสาสมัคร
เป็นผู้ช่วยในการทำกิจกรรมกับแรงงานนอกพื้นที่ และเป็นผู้ช่วยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานแพลตฟอร์มมาผลิตเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ลงบนเพจของสถาบันแรงงานฯ

รายละเอียดงานที่ให้อาสาสมัครลงไปปฏิบัติงาน
ติดตามความคืบหน้าของสถานการณ์คนงานบนแพลตฟอร์ม ทั้งกลุ่มไรเดอร์ กลุ่มแม่บ้านทำความสะอาดและกลุ่มพนักงานนวด เพื่อสรุปเป็นข้อมูลประชาสัมพันธ์ลงบนเพจของสถาบันแรงงานฯ, ผลิตสื่อจากข้อค้นพบในงานศึกษาวิจัยของสถาบันแรงงานฯ ลงเผยแพร่บนเพจของสถาบันแรงงานฯ และลงพื้นที่เพื่อทำงานรณรงค์เคลื่อนไหวในบางโอกาส

พื้นที่ปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานในสำนักงาน ซอยรังสิต-นครนายก 24  และพื้นที่กรุงเทพและปริมลฑล, สระบุรี, เชียงใหม่

คุณสมบัติอาสาสมัครที่จำเป็น
คนรุ่นใหม่ที่สนใจประเด็นการจ้างงานบนแพลตฟอร์ม มีความเข้าใจเบื้องต้นเรื่องเทคโนโลยีกับการจ้างงาน สิทธิแรงงาน และแนวคิดเฟมินิสม์ สามารถใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการเผยแพร่คอนเทนต์ได้ดี ใช้ภาษาไทยได้ดี ใช้ภาษาอังกฤษในระดับสื่อสารได้ สามารถลงพื้นที่เพื่อทำงานนอกสถานที่ร่วมกับแรงงานได้ในบางครั้ง

ความคาดหวังต่ออาสาสมัคร
อาสาสมัครมีความสนใจและพยายามเรียนรู้ประเด็นปัญหาจากสภาพการทำงานที่แรงงานบนแพลตฟอร์มกำลังเผชิญ มีความเชื่อว่าแรงงานบนแพลตฟอร์มก็คือคนงานที่ต้องได้รับสิทธิสวัสดิการจากบริษัทแพลตฟอร์มในฐานะนายจ้าง เชื่อในแนวคิดประชาธิปไตยและสนับสนุนการรวมกลุ่มของแรงงาน รวมทั้งมีความสนใจเกี่ยวกับแนวคิดเฟมินิสม์อย่างน้อยในเบื้องต้น มีความเข้าใจภาระหน้าที่และข้อจำกัดของแรงงานหญิง

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่อาสาสมัคร
สถาบันแรงงานฯ เชื่อในการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ไปพร้อมๆ กับการผลิตผลงานที่มีคุณค่า โดยเน้นให้ผู้ปฏิบัติงานเรียนรู้สภาพปัญหาการทำงานจากการพูดคุยกับคนงานโดยตรง ร่วมกับการสรุปถอดบทเรียนในองค์กรไปพร้อมกัน นอกจากนี้ สถาบันแรงงานฯ ยังเปิดกว้างให้อาสาสมัครสามารถเสนอว่า ตนเองต้องการเรียนรู้หรือเสริมทักษะในด้านใดเป็นพิเศษ ก็สามารถลงคอร์สเรียนเพื่ออบรมเพิ่มเติม โดยสถาบันแรงงานฯ เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่าย (ทั้งหมดหรือบางส่วน) ได้

.
องค์กรที่เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิฯ รุ่น 16
โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน
คลิกสมัคร รุ่น 16

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai