ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

หากถามว่า สภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนของประชาชนสภาเด็กและเยาวชนก็เป็นเหมือนผู้แทนในการนำเสนอปัญหาแนวทางการแก้ไข ตอบสนองความต้องการของเด็กและเยาวชนในแต่ละยุคสมัย สภาเด็กและเยาวชนจัดตั้งขึ้นเนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติประจำปี 2547 โดยความต้องการของเยาวชน สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ จึงดำเนินโครงการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด ภายใต้หลักการ “เด็กนำ ผู้ใหญ่หนุน” และผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และกลุ่มเยาวชน ร่วมมือกันจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดให้ครบทุกจังหวัด รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดสภาเยาวชนแห่งชาติในโอกาสต่อไป 

เห็นได้ว่า โครงสร้างและการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชน ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และตำบล มีการปฏิบัติงานตามมาตรฐานสภาเด็กและเยาวชน 4 ด้าน คือ การจัดองค์กรและการบริหาร การดำเนินงานคุณภาพในการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการทำกิจกรรมร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย เพื่อส่งเสริมให้สภาเด็ก และเยาวชนเป็นองค์กรที่มีระบบโครงสร้าง การบริหารจัดการที่มีคุณภาพก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน พัฒนาสภาเด็กและเยาวชนให้มีความเข้มแข็งมีศักยภาพ นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการดำเนินงาน มีเวที “สมัชชาเยาวชนเด็กและเยาวชนแห่งชาติ” เป็นช่องทางที่ให้สมาชิกนำเสนอปัญหาและเสนอแนะทิศทางในการพัฒนาเด็กและเยาวชนต่อรัฐบาลเป็นประจำทุกปี 

ในการดำเนินงานจริง กลับพบอุปสรรคหลายประการซึ่งส่งผลให้สภาเด็กและเยาวชนไม่อาจเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพ ในการพัฒนากลุ่มเป้าหมายและสร้างการมีส่วนร่วมทางสังคมอย่างแท้จริง ที่สำคัญได้แก่ การบริหารจัดการ ซึ่งแม้จะมีการกำหนดขั้นตอนและวิธีการอย่างชัดเจนเป็นแบบแผนในทุกระดับ แต่ในความเป็นจริง กลไกในระดับประเทศ จังหวัด อำเภอ และตำบล มีลักษณะ สภาพปัญหาและต้องการวิธีการทำงานที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดการดำเนินงานขาดประสิทธิภาพ ที่สำคัญ การทำงานที่ผูกติดกับระบบราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่งผลให้สภาเด็กและเยาวชนไม่อาจเป็นเวทีการเรียนรู้และมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง แต่กลายเป็นการทำงานเพื่อตอบสนองหน่วยงาน อีกทั้งข้อเสนอผ่านสมัชชาเด็กและเยาวชนแห่งชาติเป็นได้เพียงการส่งเสียงสะท้อนแก่รัฐบาล แต่ขาดการสานต่อดำเนินงานอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม 

หากติดตามผลการทำงานของสภาเด็กและเยาวชนในแต่ละระดับ จะพบเนื้อหาที่สะท้อนความจริงได้ว่า สภาเด็กและเยาวชนใน ”ระดับตำบล” ถือเป็นหัวใจหลักในการจัดกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของเยาวชนมากที่สุด เช่น การจัดกิจกรรมจิตอาสา การส่งเสริมอาชีพของเด็กและเยาวชน การแข่งขันกีฬา โดยใช้ฐานชุมชนในการดำเนินกิจกรรม เป็นพื้นที่ที่มีส่วนร่วมและเข้าถึงเยาวชนค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสภาเด็กและเยาวชนในระดับอื่น ขณะที่อุปสรรคสำคัญของกลไกการขับเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชนระดับอำเภอ คือการที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ไม่มีหน่วยงานในระดับอำเภอ ประสิทธิภาพการดำเนินงานจึงขึ้นอยู่กับความพร้อมของบ้านพักเด็กและครอบครัวในแต่ละจังหวัดที่จะต้องเชื่อมประสานการทำงานอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ส่วนสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัดเน้นการทำงานสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ จึงจัดกิจกรรมตอบสนองความต้องการของเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดได้ไม่มากเท่าที่ควร ส่วนในระดับประเทศ คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กตยช.) เป็นช่องทางหลักในการสื่อสารระดับนโยบายด้านเด็กและเยาวชน แต่เนื่องจากขาดข้อมูลสนับสนุนอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ข้อเสนอของผู้แทนเด็กและเยาวชนไม่ถูกรับฟังอย่างที่ควรจะเป็น 

นอกจากนี้ ยังมีอุปสรรคหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน เช่น การที่สภาเด็กและเยาวชนอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ จึงขาดอิสระในการคิดและออกแบบกิจกรรมทำให้ไม่เกิดการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ขณะเดียวกัน การขาดการประชาสัมพันธ์อย่างเหมาะสม ทำให้เยาวชนส่วนใหญ่ไม่รับรู้และขาดโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชน รวมทั้งข้อกำหนดด้านคุณสมบัติของเด็กและเยาวชนให้ต้องมีภูมิลำเนาในท้องที่ ซึ่งเยาวชนจำนวนมากไม่ได้อาศัยตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน และการกำหนดให้สมาชิกสภาเด็กและเยาวชนต้องมีสัญชาติไทย เยาวชนในกลุ่มชาติพันธุ์ จึงไม่สามารถมีส่วนร่วมได้ จะเห็นได้ว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน มีความทันสมัยขึ้น ให้บทบาทแก่สภาเด็กและเยาวชน มีการบูรณาการเพื่อพัฒนาส่งเสริมเด็กและเยาวชนมากขึ้น แต่ก็ยังขาดการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ส่วนในระดับการปฏิบัติยังขาดระบบติดตาม โดยเฉพาะตามโครงสร้างการบริหารงานของรัฐซึ่งให้ราชการส่วนภูมิภาคมีอำนาจควบคุมส่วนท้องถิ่น อาจไม่เกิดการทำงานแบบกระจายอำนาจอย่างแท้จริง 

คลิกอ่านบทความความทั้ง 9 เรื่องและดาวน์โหลดเนื้อหา Pocket book ทั้งเล่มได้ที่นี่

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai