ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

ชื่อองค์กร : มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน : ศขช.(Community Resource Centre Foundation : CRC)
Facebook:  https://www.facebook.com/CommunityresourcecentreThailand

ประเด็นที่องค์กรปฏิบัติงาน
สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม และหลักการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ตลอดทั้งการติดตามการลงทุนทั้งในประเทศและข้ามพรมแดน และการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับประเด็นด้านธุรกิจกับสิทธิมนุยชน

วัตถุประสงค์ขององค์กร
1. ส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษา วิจัย การอบรม องค์ความรู้ กฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ คุณภาพชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสิทธิชุมชน
2. ส่งเสริมการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชน ชุมชน และองค์กรพัฒนาเอกชน ในการปกป้องคุ้มครอง และรักษา คุณภาพชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสิทธิชุมชน ทั้งตามกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในประเทศ และให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ชุมชน และองค์กรพัฒนาเอกชน ในการดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องให้มีการ ปกป้องคุ้มครอง รักษา เยียวยา และฟื้นฟู คุณภาพชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสิทธิชุมชน ให้แก่ ประชาชน ชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน สาธารณชน และเพื่อประโยชน์สาธารณะ
3. ส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน และเสริมสร้างเครือข่าย โดยการประสานงานกับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อประโยชน์สาธารณะและวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
4. ดำเนินการ ปกป้อง คุ้มครอง และรักษาคุณภาพชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสิทธิชุมชน ทั้งในประเทศ และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
5. สร้างและส่งเสริมเครือข่ายและคนรุ่นใหม่ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมให้สามารถร่วมกันทำงานด้าน การศึกษาวิจัย การให้ความรู้ทางกฎหมาย การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ คุณภาพชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสิทธิชุมชน เพื่อประโยชน์สาธารณะ

กิจกรรมขององค์กรที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
1. ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย ในการดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องให้มีการปกป้อง คุ้มครอง รักษา เยียวยา คุณภาพชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสิทธิชุมชนให้แก่ ประชาชนในแต่ละภาคของประเทศไทย อันเนื่องมาจากการโครงการพัฒนาทั้งของรัฐและเอกชน ได้แก่ งานคดีภาคเหนือ เช่น โครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย, กรณีเหมืองแร่ลิกไนต์ อำเภองาว จังหวัดลำปาง, โครงการสายส่งไฟฟ้าแรงสูงขนาด ๕๐๐ กิโลโวลต์ จังหวัดน่าน ฯลฯ งานคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น คดีเหมืองแร่ทองคำ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย, คดีเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี, คดีสายส่งไฟฟ้าขนาด ๑๕๐ กิโลโวลต์ จังหวัดชัยภูมิ, โครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม กรณีกรมชลประทานขุดลอกลำพะเนียง จังหวัดหนองบัวลำภู ฯลฯ งานคดีภาคตะวันออกและภาคกลาง เช่น งานฟื้นฟูกรณีน้ำมันรั่ว จังหวัดระยอง, คดีโรงงานผลิตอะไหล่รถยนต์ที่ก่อมลพิษ จังหวัดนครนายก, คดีปั๊มแก๊ส LPG จังหวัดชัยนาท ฯลฯ และงานคดีภาคใต้ เช่น โครงการก่อสร้างเขื่อนแนวกันคลื่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดสงขลา, โครงการเหมืองหิน จังหวัดสตูล, คดีเหมืองหินเขาคูหา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา, โครงการจะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรม ฯลฯ และงานคดีผลกระทบข้ามพรมแดน ได้แก่ คดีสวนอ้อยในจังหวัดอุดรมีชัย ในกัมพูชา, โครงการเขื่อนไซยุบุรี เขื่อนปางแบง ในลาว เป็นต้น
2. งานรณรงค์และสร้างความเข้าใจต่อสังคม ในประเด็นที่ทำงาน ได้แก่ การต่อต้านการฟ้องคดีปิดปาก (Anti-SLAPP) การติดตามการลงทุนข้ามพรมแดนของทุนไทยในต่างแดน การติดตามการลงทุนข้ามพรมแดนของทุนต่างชาติในประเทศไทย การติดตามการปฏิบัติตาม แผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน การใช้กระบวนการฟ้องคดีแบบกลุ่มมาคุ้มครองสิทธิของประชาชน การรณรงค์ให้มีการทำ EIA สำหรับโครงการกำแพงหรือเขื่อนกันคลื่น การผลักดันให้เกิดการกำหนดให้เหมืองแร่จะต้องมีการตั้งกองทุนฟื้นฟู การรณรงค์ให้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการใช้พลาสติก การศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการจัดการน้ำมันรั่วในทะเลเป็นต้น
3. งานส่งเสริมและทำงานร่วมกับการเสริมสร้างเครือข่าย โดยทำงานร่วมกันกับเครือข่ายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ได้แก่ เครือข่ายคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของเหมืองแร่ เครือข่ายติดตามการลงทุนไทยและความรับผิดชอบข้ามพรมแดน (ETOs Watch) เครือข่าย Save the Mekong Coalitions (StM) เครือข่ายนักกฎหมายแม่น้ำโขง (Mekong Legal Network) เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะอาเซียน (SEAPIL) เครือข่ายนักกฎหมายสิ่งแวดล้อมโลก (Environmental Lawyers Alliance Worldwide: ELAW) เป็นต้น

ความท้าทายขององค์กร
เนื่องจากคดีที่ทำไม่สามารถเสร็จภายใน 1 ปี โดยบุคลากรของ CRC ส่วนใหญ่เป็นนักกฎหมาย ทำให้การทำงานด้านข้อมูลการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะเป็นไปค่อนข้างน้อยแม้จะมีงานที่ทำในมืออยู่มากมาย ทำให้การสื่อสารต่อสังคมภายนอกน้อยกว่าที่ควรจะเป็น งานของ CRC จะต้องเดินทางไปต่างจังหวัดได้ตลอดเวลา ทำให้บางครั้งเจ้าหน้าที่อาจจะต้องจัดสรรเวลาในการทำงานและครอบครัวเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

กิจกรรมขององค์กร
การจัดทำฐานข้อมูล และนำข้อมูลเผยแพร่ต่อสาธารณะสำหรับงานคดีและประเด็นต่างๆที่ CRC ทำมาและกำลังทำอยู่ และการได้เรียนรู้การทำงานคดี งานรณรงค์ และงานเครือข่าย ตลอดทั้งงานอบรมต่างๆที่ CRC ดำเนินการ

กลุ่มเป้าหมาย
เป็นเป้าหมายหลักของ CRC และเพื่อจะได้มีฐานข้อมูลและจะได้จัดทำออกเผยแพร่ต่อสาธารณะต่อไป และอาสาสมัครจะได้เรียนรู้การงานของ CRC

บทบาท/หน้าที่ของอาสาสมัคร
ทำงานรวบรวมข้อมูลงานคดีของ CRC และสนับสนุนการทำงานของ CRC ร่วมกับบุคลากรของ CRC

รายละเอียดงานที่ให้อาสาสมัครลงไปปฏิบัติงาน
1. จัดทำบันทึกรวบรวมข้อมูลงานคดีของ CRC
2. เรียนรู้และติดตามทีม CRC ไปทำงานในด้านงานคดี งานรณรงค์ งานเครือข่าย และงานอบรม

พื้นที่ปฏิบัติงาน
1. สำนักงานของ CRC ที่กรุงเทพฯ
2. พื้นที่ชุมชนต่างๆที่เป็นพื้นที่งานของ CRC ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย

สวัสดิการสำหรับอาสาสมัคร
1. หากอยู่ทำงานในกรุงเทพฯจะมีอาหารกลางวันให้
2. หากเดินทางไปทำงานร่วมกับบุคลากรของ CRC ในต่างจังหวัดจะมีเงินค่าอาหารให้วันละ 400 บาท และจ่ายค่าเดินทางและค่าที่พักให้ตามจริง
3. อาสาสมัครจะได้รับการลงทะเบียนในระบบประกันสังคม โดย CRC จะจ่ายเงินสมทบให้ทั้งในฐานะลูกจ้างและนายจ้าง

คุณสมบัติอาสาสมัครที่จำเป็นสำหรับโครงการ
1. สนใจทำงานด้านสิทธิชุมชน สิทธิในสิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน
2. สนใจทำงานด้านการเขียนข้อมูล ทำฐานข้อมูล
3. สนใจเรียนรู้งานคดี งานรณรงค์ งานเครือข่าย และงานอบรม
4. สามารถทำงานข้อมูล เขียนข้อมูลเผยแพร่ได้ (ถ้ามี)
5. อดทนกับการทำงานหนักได้
6. พร้อมเรียนรู้ที่จะทำงานกับทีมงาน
7. เปิดกว้างพร้อมเรียนรู้งานและคนทำงานร่วมกัน
8. พร้อมเดินทางไปต่างจังหวัดได้
9. สามารถอยู่อาศัยกับชุมชนในพื้นที่ทำงานของ CRC ได้

ความคาดหวังต่ออาสาสมัคร
อาสาสมัครพร้อมที่จะเรียนรู้ที่จะทำงานกับ CRC เพื่อหนุนเสริมการทำงานฐานข้อมูล และจะได้เรียนรู้ในการทำงานด้านข้อมูล ด้านงานคดี งานรณรงค์ งานเครือข่าย และงานอบรม ซึ่งอาสาสมัครจะได้นำไปใช้ในการทำงานอื่นได้ต่อไป และเข้าใจปัญหาบริบทของประเด็นที่ CRC ทำงาน โดยเฉพาะเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน และการส่งเสริมชุมชนและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

แนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่อาสาสมัคร
พี่เลี้ยงจะเป็นผู้แนะนำการทำงานให้กับอาสาสมัครร่วมกับบุคลากรคนอื่นๆ โดยมีผู้ประสานงานมูลนิธิเป็นผู้กำกับดูแล เนื่องจากเป็นองค์กรเล็ก ทุกคนในองค์กรจะช่วยกันดูแลทั้งเรื่องการทำงานและความเป็นอยู่ของอาสาสมัคร และมูลนิธิมีการจัดประชุมทุกๆเดือน ซึ่งจะทำให้ได้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคและผลงานของทุกคนรวมทั้งอาสาสมัคร

.
องค์กรที่เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิฯ รุ่น 16
โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน
คลิกสมัคร รุ่น 16

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai