ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

ชวนขึ้นเหนือไปเยี่ยมเพื่อนอาสาสมัครทางเหนือบ้างครับ รอบนี้เราพามาแวะศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น ศูนย์พิทักษ์ฯ มีสำนักงานอยู่ที่ตัวเมือง จ.เชียงใหม่ มีเพื่อนอดีตอาสาสมัครและอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 15 ทำงานอยู่ที่นั่นครับ แต่วันนี้เราจะชวนคุยกับ “แยม-ทิติยา รังมาตย์”

เรา : เป็นไงมั่งแยมช่วงนี้ ?
แยม : 
คิดว่าทั้งชีวิตและงานตอนนี้ก็รันไปเรื่อยโอเคค่ะ ยังสนุกอยู่กับมันอยู่ มีปัญหาอุปสรรคบ้างเป็นเรื่องธรรมดา

เรา : อ้อ….. ลืมเลย แนะนำตัวหน่อยครับ ?
แยม :
ชื่อแยมค่ะ “แยม-ทิติยา รังมาตย์” แยมเรียนจบจากคณะนิติศาสตร์ จาก มช.(มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ตอนนี้แยมเข้าร่วมโครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 15 (รุ่นปัจจุบัน) หรือเรียกสั้นๆว่า โครงการนักสิทธิ์ แต่พอมาอยู่ที่นี่บทบทของแยมไม่ใช่อาสาสมัครละ แต่แยมเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายและข้อมูลค่ะ แยมทำหน้าที่เก็บข้อมูลข้อเท็จจริงแล้วทำบันทึกข้อพิพาทในแต่ละพื้นที่เก็บรวบรวมไว้เป็นข้อมูลสำหรับไว้ใช้งานในองค์กร

เรา : ไหนๆ ก็เล่าเรื่องงานแล้ว เล่าให้ฟังหน่อยครับ ตอนนี้แยมทำอะไรที่ไหน ?
แยม :
ตอนนี้แยมทำงานอยู่ที่ “ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น หรือ CPCR” มีเพจนะคะ เข้าไปส่องๆดูได้ที่ https://www.facebook.com/CPCR.Page/ ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ตอนนี้ถึงแม้ว่าสถานการณ์โควิดดูเหมือนจะซาลง แต่ต้องยอมรับว่ายังมีผลต่อการทำงานอยู่ คือยังมีข้อจำกัดมากกว่าช่วงที่สถานการณ์ปกติ เนื่องจากการทำงานของศูนย์ฯต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่าบางช่วงสถานการณ์จะดีขึ้นแต่เนื่องจากความเป็นจริงโควิดยังไม่หายไป บางชุมชนอาจยังมีความกังวลอยู่ เพราะฉะนั้นเราจึงถือเอาความสบายใจของชุมชนเป็นหลัก หากทางชุมชนวางใจให้ศูนย์ฯลงพื้นที่ ศูนย์ฯก็สามารถไปได้ค่ะ

การวางแผนการทำงานในช่วงที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ ต้องยอมรับว่าติดปัญหาหน่อย เช่น แม้เราจะปรับการประชุมแบบออฟไลน์มาเป็นการประชุมแบบออนไลน์ แต่เราก็ยังไม่สามารถจัดประชุมออนไลน์หรือเก็บข้อมูลออนไลน์กับชุมชนได้เนื่องจากหลายพื้นที่ยังไม่สะดวกและสัญญาณโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตยังไม่มีความเสถียรพอ ดังนั้น จึงต้องวางแผนการลงพื้นที่ใหม่ทั้งหมดและต้องคิดติดตาม คอยฟังคำสั่งจากผู้ว่าราชการเชียงใหม่และคำสั่งของพื้นที่ที่จะเข้าไปเก็บข้อมูลอย่างใกล้ชิด

ทีนี้กลับมาที่ว่า ศูนย์พิทักษ์ฯ คือใครและทำอะไร “ศูนย์พิทักษ์สิทธิชุมชนท้องถิ่น(ศพช.)” เป็นองค์กรณ์ที่รวมตัวของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่มีแนวคิดคล้ายๆกัน เพื่อติดตามกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับป่าไม้ที่ดิน รวมถึง ให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิ์โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย พื้นที่ที่ศูนย์พิทักษ์ฯ ได้ดูแลและให้ความช่วยเหลือคือพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ส่วนตัวกฎหมายที่ศูนย์พิทักษ์ฯ ได้ติดตามมาตลอด เช่น พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

เรา : แชร์ให้ฟังหน่อยว่าสิทธิมนุษยชนในมุมมองของแยมมันคืออะไร ?
แยม :
สิทธิมนุษยชนหรอ ขอแบ่งเป็น 2 ช่วงค่ะ ช่วงแรกคือช่วงที่เรายังเรียนในมหาลัย เนื่องจากเรียนกฎหมายมาตลอด คำว่า “สิทธิมนุษยชน” สำหรับแยมเองคิดว่า นิยามของคำนี้มันค่อนข้างสำคัญนะ คำว่าสิทธิมนุษยชนนั้นสำคัญสำหรับตนเองเลยแหละ คือคำนี้มันต้องจับความหมายในเชิงหลักการให้ได้ก่อน เสร็จแล้วค่อยตีความให้เป็นคุณเป็นกรณีๆไป เพราะฉะนั้นตลอดช่วงที่ผ่านมา เราจึงเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนคือสิทธิที่เรามีมาตั้งแต่เกิด ไม่มีใครสามารถพรากมันไปจากเราได้อะไรทำนองนั้น นี่คือสิ่งที่เราท่องและเข้าใจได้ตอนสมัยเรียนมหาลัย

แต่หลังจากที่เราได้เข้ามาทำงานด้านสิทธิมนุษยชนจริงๆ เราก็เริ่มได้ยินหลายมุมจากหลายคนได้กล่าวว่ากรอบคิดแบบนั้นมันจำกัดเกินไป ซึ่งเราก็เก็บมาคิดๆ ต่อยอดดูเหมือนกันนะ แต่ไม่ว่ายังไงก็ตามแต่สำหรับแยม แยมยังคิดว่าที่แน่ๆ สิทธิมนุษยชนมันก็ยังเป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนต้องมี ไม่ว่าสังคมเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาไปไกลแค่ไหน สิทธิมนุษยชนมันก็ยังใหม่เสมอทุกยุคทุกสมัย

เรา : ได้ตามประเด็นหรือทราบเรื่องที่รัฐบาลออกมาแถลงข่าวเรื่อง “กฎหมายควบคุม NGOs” มั๊ย ?
แยม :
พอทราบบ้างค่ะ แต่ยังไม่รู้รายละเอียดอะไร เนื่องจากว่ายังไม่เห็นร่างนั้น

เรา : คิดยังไงกับเรื่องนี้ครับ  ?
แยม :
แยมว่าในสถานการณ์ที่ประชาชนถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนรายวันเช่นนี้ รัฐบาลกลับต้องการออกกฎหมายควบคุม NGOs ซึ่งตามข้อมูลที่เรารู้ เราเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวมีลักษณะกีดกันการเข้าถึงแหล่งทุนต่างประเทศและต้องการควบคุมการดำเนินกิจกรรมของ NGOs เอาจริงๆนะ แยมว่าไม่ว่าที่ไหนก็ตามในโลก มันมีแค่รัฐที่เป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนประชาชนในประเทศของตนเองเท่านั้นแหละ ที่ต้องลุกขึ้นมาออกกฎหมายในลักษณะนี้
(คลิกดู…..ร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน)

เรา : กรณีชาวปัญหาที่รัฐอพยพชาวบ้านบางกลอย จ.เพชรบุรี ออกจากพื้นชุมชนเดิมที่เขาเคยอยู่ ?
แยม :
กรณีนี้แยมมองว่า เป็นปฏิบัติของรัฐที่ทำให้เราเห็นถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ถูกเผาบ้านและยุ้งฉาง กล่าวหาว่าบ้านบางกลอยบุกรุกทำลายป่าทั้งที่ชุมชนอยู่อาศัยมาก่อนการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ นอกจากนี้รัฐยังขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโดยเฉพาะการทำไร่หมุนเวียนที่มีงานวิจัยหลายชิ้นมารองรับว่าเป็นระบบการทำเกษตรที่เกื้อหนุนกับ

เรา : มีข้อเสนอต่อรัฐยังไงมั๊ยครับ
แยม :
อันดับแรกเลยนะ แยมคิดว่ารัฐต้องยุติการข่มขู่คุกคามชาวชุมชนบางกลอยก่อนเลย แล้วขอเรียกร้องให้รัฐปฏิบัติตาม มติ ครม. วันที่ 3 สิงหาคม 2553 เรื่องแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกระเหรี่ยง และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 70 ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นนโยบายแห่งรัฐ

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai