ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

การกลับมาทำเกษตรที่บ้านไม่จำเป็นที่เราต้องทำสวนปลูกผักหรือทำนาปลูกข้าวอย่างเดียว เราต้องเป็นเกษตรกรนักเดินทางเพื่อไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นเกษตรกรกระบวนกรเพื่อจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ เป็นเกษตรกรศิลปินเพื่อสร้างสรรค์ความสวยงามจากความเป็นเกษตรกรแปลที่มีความสามารถทางภาษาที่ต้องติดต่อประสานงานหรือเชื่อมโยงองค์ความรู้กับหน่วยงานภายนอก เป็นเกษตรกรนักเชื่อมโยง-นักสื่อสาร นำพาผู้อื่นที่มีความคิดฝันคล้ายคลึงกันมาเจอกัน และเชื่อมโยงให้เป็นเครือข่ายกันต่อไป

คนรุ่นใหม่มีคุณลักษณะและศักยภาพอย่างไร สอดคล้องกับความจำเป็นของเกษตรกรรมร่วมสมัยซึ่งบริบทแตกต่างเดิมเพียงใด อะไรคือความท้าทาย รวมทั้งอุปสรรคที่หน่วยงานภาครัฐควรมีบทบาทในการหนุนเสริม  ไม่ใช่เพื่อเติมความฝันให้กับเกษตรกรอินทรีย์หน้าใหม่ แต่เพื่อเป็นการตอบโจทย์ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสังคมไทยไปพร้อมกัน 

สิ่งที่กล่าวมา คือจุดมุ่งหมายของงานเขียนชิ้นนี้ โดยการนำเสนอเนื้อหาจากการทบทวนสถานการณ์ด้านเกษตรของประเทศไทย รายการพูดคุยกับเกษตรอินทรีย์รุ่นใหม่ใน 4 พื้นที่เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ลงมือสร้างงานสร้างอาชีพซึ่งแตกต่างจากรูปแบบการเพาะปลูกที่เคยทำกันมาในคนรุ่นก่อนหน้า และยังคงเป็นกระแสหลักของเกษตรกรรมไทยจนถึงปัจจุบัน

เกษตรกรรมเป็นพื้นฐานสำคัญของสังคมไทย แต่เมื่อถึงยุคของการพัฒนาประเทศ สัดส่วนประชากรที่ทำอาชีพด้านเกษตรกับลดลงอย่างต่อเนื่อง สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อิ๊งภากรณ์ทำการสำรวจในหัวข้อ “จุลทรรศน์ภาคเกษตรไทยผ่านข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและสำมะโนเกษตร เจาะลึกโครงสร้างภาคเกษตรไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรจากอดีตถึงปัจจุบัน?” พบว่า นอกจากสัดส่วนผู้ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมของไทยจะลดลงแล้ว อายุเฉลี่ยของผู้เป็นเกษตรกรยังสูงขึ้นด้วย กล่าวคือประชากรช่วงอายุ 40-60 ปี ที่หาเลี้ยงชีพด้วยรายได้จากการทำเกษตรเป็นหลักมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น สะท้อนว่างานเพาะปลูกในไร่นาไม่ดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาสานต่ออาชีพของครอบครัวอีกต่อไป

สถานการณ์ดังกล่าว มีเหตุที่สำคัญจากการดำเนินนโยบายของภาครัฐตลอดระยะเวลาหลายสิบปี ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมเกษตรกรในการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวในปริมาณมากเพื่อการจำหน่ายเป็นหลักเกษตรกรจำเป็นต้องลงทุนซื้อหาปัจจัยการผลิต รวมถึงสารเคมีนานาชนิด ซึ่งมีราคาแพง ชาวไร่ชาวนาส่วนใหญ่จึงต้องอาศัยการกู้ยืมเพื่อการลงทุน สิ่งที่ติดตามมาคือรายจ่ายไม่สมดุลกับรายได้ เนื่องจากพืชผลการเกษตรมีรายได้ไม่แน่นอน  ซ้ำยังต้องผ่านกลไกในระบบพ่อค้าคนกลางที่ถูกเอารัดเอาเปรียบได้ง่าย นำไปสู่การติดหนี้สินจนหลายกรณีจบลงด้วยการสูญเสียที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน การใช้สารเคมียังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรและทำลายสภาพแวดล้อมให้เสื่อมโทรมลง 

อ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องอีก 9 เรื่อง และดาวน์โหลดเนื้อหา/Pocketbook ทั้งเล่ม คลิกที่นี่

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai