ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

“ขณะนี้เราได้ดันเพดานทะลุชั้นบรรยากาศไปแล้วครับ” ทนายอานนท์ นำภา ปราศรัยบนเวที ณ ท้องสนามหลวงเมื่อวันที่ 19 กันยายนช่วงดึก ประโยคนี้แสดงให้เห็นถึงยุคใหม่ของการเมืองไทยอย่างชัดเจนด้วยการทำให้ประเด็นต้องห้ามในการเมืองไทยกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถพูดได้อย่างเสรี และขุดปัญหาที่ฝังลึกอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนานขึ้นมาสู่สาธารณะหลายประการ ทั้งความรุนแรงในโรงเรียน  การใช้อำนาจเกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากรัฐบาล และปัญหาความเหลื่อมล้ำมากมาย เมื่อเร็ว ๆ นี้กลุ่มคณะราษฎรได้ประกาศนัดหมายการชุมนุมในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2563 เพื่อเดินหน้าผลักกดันข้อเรียกร้องของตนเองที่ต้องการแก้ไขระบอบการเมืองปัจจุบัน ซึ่งวันที่ 14 ตุลาคม เป็นหนี่งในวันสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ไทยที่ประชาชนสามารถล้มล้างรัฐบาลเผด็จการทหารลงได้ เปรียบเสมือนการตัดไม้ข่มนามต่อฝ่ายรัฐบาล แต่มิใช่แค่วันเท่านั้นที่ตรงกับ 14 ตุลาคม พัฒนาการของขบวนการภาคประชาชนนั้นมีหลายอย่างที่คล้ายคลึงกับในขบวนการประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516

ด้านพัฒนาการของขบวนการภาคประชาชนของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 มีหลายปัจจัยเริ่มจากการเติบโตชองขบวนการนักศึกษาอันเป็นผลมาจากการเติบโตขึ้นของชนชั้นกลางจากการพัฒนาเศรษฐกิจทำให้เกิดอาชีพใหม่นอกราชการมากขึ้น ส่งผลให้เกิดมหาวิทยาขึ้นมากมายเพื่อตอบสนองกับความต้องการแรงงานในเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตขึ้นโดยรัฐสนับสนุน ทำให้จำนวนนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยเพิ่มจำนวนขึ้นจาก 18,000 คนเป็นกว่า 100,000 คนในช่วงพ.ศ.2504-2515 แต่การตื่นรู้และกำเนิดของนักศึกษานั้นเกิดจากขบวนการปัญญาชนที่กลับมาเข้มแข็งอีกครั้งประกอบกับการเกิดขึ้นของค่ายอาสาพัฒนาชนบทจึงทำให้นักศึกษาตื่นรู้และเกิดขบวนการนักศึกษาซึ่งเป็นแกนนำสำคัญในการต่อสู้ในวันที่ 14 ตุลาคม ปัจจัยต่อมาคือรัฐบาลเผด็จการภายใต้จอมพลถนอมอ่อนกำลังลง เนื่องจากไม่สามารถรักษาเสียงสนับสนุนในกองทัพไว้ได้ และปัจจัยสุดท้ายคือปัญหาเศรษฐกิจที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขได้ ด้วยปัจจัยเหล่านี้นำไปสู่ความไม่พอใจของประชาชน จนเหตุการณ์ชุมนุมครั้งใหญ่ ณ ท้องสนามหลวงถูกจุดระเบิดด้วยเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตกที่ทุ่งใหญ่นเรศวรและการลบชื่อนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง 9 คน

ทางด้านพัฒนาการของขบวนการประชาชนในขณะนี้ ประการแรกมาจากการฟื้นตัวของขบวนการนักศึกษาซึ่งอ่อนกำลังลงมาเป็นเวลานานและความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตของโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ทำให้การผูกขาดอำนาจการให้ข้อมูลของรัฐนั้นอ่อนแอลงมาก ทำให้เยาวชนทั้งนักศึกษาและนักเรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลชุดต่าง ๆ ได้อย่างเสรีนำไปสู่การตื่นรู้และสร้างความเข้มแข็งให้ขบวนการนักศึกษา ซึ่งทั้งภาคประชาสังคมและขบวนการนึกศึกษาที่มีอยู่เดิมได้เคลื่อนไหวเพื่อนำเสนอชุดข้อมูลต่าง ๆ และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความอยุติธรรม ความเหลื่อมล้ำ และสิทธิเสรีภาพทำให้ขบวนการนักศึกษาเข้มแข็งขึ้นอีกทั้งสร้างความตระหนักรู้ไปยังประชาชนกลุ่มอื่นอีกด้วย ปัจจัยต่อมาความชอบธรรมของรัฐบาลนั้นตกต่ำลงอย่างมาก ด้วยการใช้อำนาจตุลาการกำจัดพรรคฝ่ายค้านอย่างไม่เป็นธรรม การคุกคามและข่มขู่ฝ่ายตรงข้ามอย่างโจ่งแจ้ง ประกอบกับการบริหารที่ล้มเหลวและความเน่าเฟะในระบบราชการที่มีออกมาให้เห็นอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ประชาชนเอือมระอากับระบบที่ไร้ความชอบธรรมมากขึ้น ประการสุดท้ายคือสภาพเศรษฐกิจตกต่ำมาจากการบริหารที่ล้มเหลวของรัฐบาลตั้งแต่ก่อนวิกฤตโควิด และเมื่อประสบกับวิกฤตโควิดยิ่งทำให้ปัญหาที่มีอยู่แล้วเลวร้ายลงและมีปัญหาทางเศรษฐกิจมากขึ้นสำหรับผู้มีรายได้น้อย จะเห็นได้ขบวนการภาคประชาชนในปัจจุบันมีปัจจัยที่คล้ายคลึงกับขบวนการนักศึกษาและประชาชนในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 แต่มีรายละเอียดภายในที่ต่างกันด้วยเวลาและสภาพสังคมเศรษฐกิจ

อย่างที่ทราบกันดีผลของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ที่กรีดลึกฝากรอยแผลขนาดใหญ่คือ เหตุการณ์การสังหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 และอีกประการที่สำคัญคือลงหลักปักฐานของแนวคิดอนุรักษ์นิยมแบบใหม่ภายใต้วาทกรรมกษัตริย์ประชาธิปไตยที่ยังส่งผลถึงปัจจุบันแม้จะมีแนวคิดเสรีนิยมสอดแทรกอยู่บ้างก็ตาม ซึ่งผลพวงจากการเกิดขึ้นของแนวคิดอนุรักษ์นิยมใหม่นี้ส่งผลตามมาหลายประการในการเมืองไทย โดยมีประการที่สำคัญที่สุดคือการเปิดโอกาสให้ทหารสามารถเข้ามาแทรกแทรงการเมืองได้อีกครั้งโดยใช้ข้ออ้างปกป้องราชบัลลังก์ เนื่องจากสถาบันกษัตริย์กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยภายใต้แนวคิดอนุรักษ์นิยมใหม่นี้ ทหารจึงสามารถสถาปนาตนเองเข้าไปอยู่ในความชอบธรรมภายใต้แนวคิดนี้และแทรกแทรงการเมืองไทยเรื่อยมา

แม้ว่าขบวนการของภาคประชาชนในปัจจุบันจะมีพัฒนาการคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 แต่ด้วยเวลาและสภาพเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่าง ประกอบกับการพัฒนาของเทคโนโลยีนั้น ทำให้ผู้เขียนคาดเดาว่า แม้ผลของขบวนการภาคประชนชนขณะนี้จะบรรลุเป้าหมายหรือไม่บรรลุเป้าหมาย แต่ผลของขบวนการประชาชนนี้จะให้ผลที่แตกต่างกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 อย่างแน่นอน เนื่องจากความแตกต่างของขบวนการภาคประชาชนในปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันชัดเจนของขบวนการภาคประชาชนในปัจจุบันคือ แนวคิดว่าตนเองเหนือกว่า เป็นผู้นำที่ต้องนำพาประชาชนที่ด้อยการศึกษากว่าไปสู่สิ่งที่ดีกว่าแบบช่วง 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 นั้นลดน้อยลงไปแล้ว เห็นได้ว่ากลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวเช่น ประชาชนปลดแอก ธรรมศาสตร์และการเมือง มิได้ผูกขาดการต่อสู้ไว้กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและเปิดรับคนทุกชนชั้นทุกสาขาอาชีพทุกเพศทุกวัยเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียกร้องมิได้เคลื่อนไหวหมุนรอบเป้าหมายของกลุ่มตนเพียงอย่างเดียว อีกทั้งย้ำเสมอเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันของมนุษย์ทุกคน ความแตกต่างประการต่อมาคือความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพที่ขบวนการภาคประชาชนได้สร้างขึ้นนั้นแพร่กระจายขึ้นเป็นวงกว้างผ่านโซเชี่ยลมีเดีย ต่างกับภายหลัง 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ที่ฝ่ายขวาเริ่มกระบวนการทำลายภาพลักษณ์และสร้างความเกลียดชังให้นักศึกษา ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลได้ทำเช่นเดียวกันแต่เมื่อไม่สามารถผูกขาดสื่อได้อีกต่อไปจึงล้มเหลวในการทำลายความตระหนักรู้และขบวนการภาคประชาชนในที่สุด

กล่าวได้ว่าเป็นทิศทางที่สดใสสำหรับการต่อสู้ในขณะนี้ ทำให้ผู้เขียนรู้สึกมีความหวังในอนาคต และคาดหวังว่าขบวนการนี้จะนำพาสังคมให้หลุดพ้นจากอุดมการณ์ที่เห็นคุณค่ามนุษย์ไม่เท่ากัน การกดขี่จากอำนาจรัฐในรูปแบบต่าง ๆ และเป็นก้าวแรกในการสร้างสรรค์สังคมใหม่ที่ให้คุณค่ามนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน เสมอภาค ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และปราศจากการกดขี่

เขียน : ปณิธ ปวรางกูร
อาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 15

มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ : SWING

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai