ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

“ความเป็นหญิงมุสลิมไม่ได้เป็นอุปสรรคในการทำงานเพื่อสังคมแต่อย่างใดสำหรับฉัน”นี่คือสิ่งที่ “สุภาวดี สายวารี” บอกเมื่อตอนพบกันที่จังหวัดยะลา รอยยิ้มที่อ่อนโยนของเธอสัมผัสถึงหัวใจฉันตั้งแต่วินาทีแรก  ประสบการณ์ของเธอ  ความมุ่งมั่นตั้งใจ ความกระตือรือร้น ตลอดจนการอุทิศตนให้กับการทำงานของเธอได้สร้างแรงบันดาลใจในการทำงานเพื่อสังคมให้กับฉันอย่างที่สุด เธอเคยประสบกับสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่สมัยที่เธอเป็นวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่ครูสอนศาสนาในระดับชั้นมัธยม ถูกจับตัวออกไปจากห้องเรียนต่อหน้าต่อตาเธอขณะที่กำลังเรียนอยู่ หรือเหตุการณ์ที่ญาติและเพื่อนบ้านของเธอถูกยิงเสียชีวิต เหตุการณ์ในบ้านเกิดของเธอเหล่านี้กลายเป็นแรงขับให้เธอมุ่งหน้าเข้าศึกษาทางด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยทักษิณ จ.สงขลา จนจบ ช่วงที่เธออยู่ปีที่ 3 มีโอกาสฝึกงานที่ศาลจังหวัดยะลา เธอได้รับประสบการณ์หลายอย่าง ได้เห็นคดีของคนที่ถูกทรมานจนเสียชีวิต ได้พบกับทนายของมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม (MAC) ในช่วงที่ทำงานอยู่ที่ศาล เธอรู้สึกประทับใจในการทำงานของศูนย์ฯ อย่างมาก และตัดสินใจที่จะสมัครเข้าร่วมงานหลังจากจบการศึกษา “ฉันรู้สึกตกใจและแปลกใจมากที่องค์กรที่เรากำลังจะเข้าทำงานด้วยให้บริการที่พักฟรี” เธอคิดในใจว่า “ค่าจ้างทนายในการจัดการคดีความทางกฎหมายความมั่นคง คงได้ครั้งละเป็นหมื่นบาท” เธอรู้สึกดีใจอย่างมากที่ได้พบกับทีมงานของศูนย์ฯ  ครั้งแรกทีมงานศูนย์ฯ เหมือนมีข้อสงสัยเมื่อเธอบอกว่าเธอจะสมัครเข้าทำงานกับศูนย์ฯ หลังจากที่เธอจบการศึกษา ขณะที่นักศึกษาส่วนใหญ่มักจะสมัครเข้าทำงานด้านศาลยุติธรรมหรือเข้าทำงานกับบริษัทเอกชน  “ศูนย์แปลกใจมากๆ เมื่อฉันได้ติดต่อไปหลังจากที่เรียนจบ” เธอได้ทำงานที่ศูนย์ฯ ในตำแหน่งผู้ช่วยนักกฎหมาย  มีภารกิจคือการรับเรื่องราวร้องเรียน  ลงพื้นที่ภาคสนาม จัดเก็บข้อมูลหลักฐานและทำแผนที่เพื่อประกอบคดีในชั้นศาล หน้าที่หลักของเธอคือการบริหารจัดการคดีและเป็นตัวแทนของผู้ที่ได้รับผลกระทบในชั้นศาล สุภาวดีเข้าร่วมโครงการ อส.นักสิทธิ์ ของ มอส. เธอมีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหาและข้อท้าทายต่างๆ เธอได้รับแนวคิดและความรู้สำหรับการให้ความช่วยเหลือต่อผู้ได้รับผลกระทบ เธอบอกว่า “ฉันได้รับคำตอบแล้วว่าทำไมชาวบ้านจึงมีทัศนคติด้านลบต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ในช่วงเริ่มต้นของการเป็นอาสาสมัคร ฉันคิดมาเสมอว่า ปัญหาที่เจอในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย” แต่หลังจากที่เธอได้เข้าร่วมโครงการ อส.นักสิทธิ์ โครงการฯ ทำให้เธอรู้ว่ายังมีประเด็นใหญ่ๆ เกิดขึ้นในประเทศไทยอีกหลายต่อหลายประเด็น โครงการ อส.นักสิทธิ์ของ มอส. ทำให้อาสาสมัครได้เปิดมุมมองที่กว้างขึ้น “สุภาวดี สายวารี” ได้เข้าใจบทบาทของ NGO และองค์กรภาคประชาสังคม เธอเล่าว่า “เพื่อนของฉันหลายคนตัดสินใจที่จะทำงาน NGO เพราะพวกเขาถูกละเมิดสิทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม และสิ่งที่พวกเขาพูดมันทำให้ฉันเกิดความศรัทธาเส้นทางนักพัฒนา” มอส.ทำให้เธอสามารถสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นภายในใจ ส่วนองค์กรที่รับอาสาสมัคร ได้ช่วยให้กำลังใจเธอ ให้เธอมีศรัทธาต่อการทำงานบนเส้นทางสายนี้ ในส่วนตัวเธอเองสิ่งที่เธอประทับใจต่องานที่ทำคือ ภารกิจที่เกี่ยวพันธ์กันโสตประสาทส่วนหัวซึ่งหมายถึงความคิด เกี่ยวพันธ์กับหัวใจซึ่งหมายถึงจิตใจ และเกี่ยวพันธ์กับมือซึ่งหมายถึงการได้ลงมือปฏิบัติจริง “คนในพื้นที่มีทัศนคติด้านลบกับอาชีพทนายความ เพราะพวกเขาคิดค่าจ้างแพงและไม่ได้ใส่ใจกับคดีที่ตัวเองรับผิดชอบมากนัก” แต่ปัจจุบัน ศูนย์ฯ สามารถเปลี่ยนทัศคติของชาวบ้านในพื้นที่ได้แล้วด้วยการใช้หลักการทำงานและมุมมองทางศาสนาเข้าช่วย ศูนย์ฯ เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและมีความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา เธอเล่าว่า เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังขาดความรู้ด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน เหตุนี้ เธอจึงพยายามที่จะทำงานเพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องเหล่านี้ให้กับคนในชุมชน ควบคู่ไปกับการทำให้พวกเขาได้รับความยุติธรรมมากที่สุดหากมีกรณีปัญหาเกิดขึ้น บทบาทของเธอไม่เพียงแค่การบริหารจัดการคดีความในชั้นศาลเท่านั้น แต่บทบาทอีกด้าน คือความพยายามทำให้โครงสร้างแห่งความยุติธรรมได้เกิดขึ้น เธอกล่าวว่า “ภารกิจที่เราทำมันช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชาวบ้าน ให้พวกเขาสามารถต่อสู้เพื่อสิทธิและความยุติธรรมของตัวเองได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง” ความศรัทธา ความเชื่อทางศาสนา ประกอบกับคุณค่าที่เกิดขึ้นจากงานที่ทำ เป็นแรงผลักดันให้เธอทำงานต่อไปได้ แม้เส้นทางของงานที่เธอทำจะเต็มไปด้วยปัญหาและข้อท้าทายอย่างมาก แผนการทำงานในพื้นที่ที่เธอได้วางเอาไว้ก็คือ เธอวางแผนที่จะทำงานในประเด็นสิทธิมนุษยชนต่อไปเรื่อยๆ โดยเบื้องต้นจะเน้นการทำงานไว้ที่การสร้างอาสาสมัครที่มีคุณภาพเพื่อรับใช้ชุมชน เธอบอกว่า “แม้จะมีคนทำงานเพียงหนึ่งคน แต่ถ้าคนคนนั้นมีหัวใจที่เต็มเปี่ยมด้วยความอยากที่จะทำงานเพื่อชุมชนแล้ว หนึ่งคนก็เพียงพอ” เธอได้ให้ข้อคิดต่อหญิงชาวมุสลิมว่า “หากหญิงมุสลิมสนใจขับเคลื่อนประเด็นงานด้านสิทธิมนุษยชน มันจะช่วยแก้ไขปัญหาประเด็นสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศได้ และในฐานะของคนมุสลิม เราต้องการสันติภาพในเรื่องนี้เช่นกัน” ในส่วนของ มอส. เธอมีข้อเสนอต่อ มอส. ว่า หาก มอส. มีความต้องการที่จะทำงานกับชาวบ้านในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มอส. ควรจะเพิ่มความถี่ของการลงพื้นที่สามจังหวัดให้บ่อยขึ้น รวมถึงทำงานประสานงานและติดตามการทำงานของอดีตอาสาสมัคร มอส. ให้มากขึ้นด้วย เธอฝากประเด็นทิ้งท้ายถึงคนรุ่นใหม่ด้วยว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดคือหัวใจ คุณต้องมีศรัทธาว่าคุณสามารถทำให้สังคมนี้ดีขึ้นได้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนและทำงานอะไรก็ตาม สิ่งแย่ๆ  มากมายก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นหากคุณนิ่งเฉย แต่ถ้าคุณลงมือทำอะไรบ้าง  สิ่งดีๆ ก็จะเกิดขึ้น” Siza Nepal / สัมภาษณ์ อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล / แปล เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง ชวนผู้สนใจ สมัครเข้าร่วมโครงการ “อาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 15″ คลิกกรอกใบสมัครได้ที่นี่ คุณสมบัติผู้สมัคร 1. จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ หรือสาขาอื่นๆ 2. อายุระหว่าง 20-30 ปี 3. สามารถเป็นอาสาสมัครเต็มเวลาจนครบวาระ 1 ปี (1 สิงหาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 กรกฎา 2564) หลักฐานการสมัคร 1. รูปถ่าย 2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 3. สำเนาทะเบียนบ้าน 4. สำเนาวุฒิการศึกษา หรือทรานสคลิป 5. ใบสมัครออนไลน์ (ตามลิงค์ด้านล่าง)ที่กรอกเสร็จเรียบร้อย องค์กรทั้งหมด ที่เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิฯ รุ่น 15 คลิกดูรายละเอียดที่นี่ ชวนร่วมบริจาคสมทบทุน เพื่อส่งต่อการแบ่งปัน สนับสนุนกิจกรรมอาสาสมัครเพื่อสังคม สามารถบริจาคได้ที่บัญชี “กองทุนมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม โดยมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม” ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 075-2142483 

โครงการ มอส. ที่ยังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
@ โครงการอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน
@ โครงการพลเมืองอาสา
@ โครงการอาสาสมัครเพื่อสังคมร่วมสร้างชุมชนยั่งยืน (อาสาคืนถิ่น)
@ โครงการอาสาสมัครนักวิจัย PAR
@ โครงการแลกเปลี่ยนสหรัฐอเมริกา

โครงการ มอส. ที่สิ้นสุดโครงการแล้ว
@ โครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
@ โครงการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพองค์กรทำงานด้านเด็กและเยาวชนฯ(YoungMove)
 
ติดตามเราที่ : follow us
Facebook Page   Twitter  และ  Youtube

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai