ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

บทบันทึกต่อเนื่องจาก “จากห้วยขวางสู่กาลันกิ” โดย สุภารัตน์ พระโนเรศ เจ้าหน้าที่ฝ่ายอาสาสมัครมอส. ซึ่งได้เดินทางไปเป็น Staff Exchange ที่อินเสค INSEC (Informal Sector Service Center) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนเก่าแก่ในเนปาล เป็นเวลา 1 ปีเต็ม ภายใต้โครงการ Fredskorpset [FK Norway]

หลายคนรู้จัก “ประเทศเนปาล” ในฐานะประเทศท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ และเป็นประเทศที่พระพุทธเจ้าประสูติ ที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดีชื่อสวนลุมพินี อีกทั้งยังเป็นแหล่งปีนเขาที่สูงที่สุดในโลกคือเทือกเขาเอเวอร์เรส ที่หลายคนอยากจะพิชิต ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์พื้นที่ภูเขาสูงเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีฤดูหนาวที่หนาวมากและเหมาะสำหรับการท่องเที่ยว ถือเป็นไฮซีซั่น โดยระยะเริ่มต้นฤดูหนาวคือเดือน พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมจะหนาวมาก บางวันอุณหภูมิติดลบ 7 องศาในกรุงกาฐมาณฑุ ในขณะที่อำเภออื่นทางตอนเหนือจะติดลบมากกว่านั้นและมีหิมะตกด้วย ในหลายพื้นที่บางวันอาจจะไม่มีแสงแดดทั้งวัน คนเนปาลจะมาอาบแดดในพื้นที่สาธารณะกันเยอะมาก

หน่วยงานราชการและหลายหน่วยงานเอง ก็ต้องปรับเปลี่ยนเวลาทำงานให้เหมาะสมกับสภาพอากาศที่จะมืดเร็วขึ้น หน้าหนาวราชการเปิดเวลา 10.00-16.00 นาฬิกา และเปิดทำการปกติวันอาทิตย์ถึงวันศุกร์ หยุดราชการวันเสาร์

เมื่อฤดูหนาวเข้ามา สิ่งที่เป็นปัญหาอยู่แล้วอย่างเรื่องพลังงานยิ่งเป็นปัญหาเพิ่มมากขึ้น เพราะจำเป็นต้องใช้เพื่อสร้างความอบอุ่น โดยปกติเนปาลตัดไฟฟ้า 18 ชั่วโมงให้ใช้ไฟฟ้า 6 ชั่วโมงต่อวันทั่วประเทศ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เนปาลขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า คือ การทำลายเขื่อนผลิตไฟฟ้าในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยกลุ่มนิยมลัทธิเหมา รวมทั้งเข้าไปทำลายเขื่อนที่เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สำคัญทำให้เกิดการจำกัดเวลาในการใช้ไฟฟ้า ดังนั้นชาวเนปาลจึงหันมาเลือกใช้พลังงานโซล่าเซลล์ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีกันเกือบทุกบ้านและไฟฟ้าตามถนนก็ใช้พลังงานโซล่าเซลล์เช่นกัน เพื่อเป็นพลังงานสำรองเมื่อไม่มีไฟฟ้า จึงทำให้คนเนปาลตระหนักในคุณค่าของไฟฟ้าอย่างมาก

ในเนปาลส่วนใหญ่นิยมใช้ไม้ฟืน เพื่อทำอาหารในครัวเรือน แม้ในเมืองหลวงก็เช่นกัน กิโลกรัมละ 5 รูปี ส่วนในกาฐมาณฑุจะราคาพุ่งถึงกิโลกรัมละ 50-70 รูปี โดยเฉพาะหน้าหนาวราคาพุ่งขึ้นสูงมากถึง 80 รูปี ซึ่งทำให้คนจนไม่สามารถซื้อได้ ทางเลือกของพวกเขาคือ เผากล่องกระดาษ ถุงพลาสติก หรือแม้แต่ยางรถยนต์เพื่อคลายหนาว หรือแม้แต่การหุงต้มโดยใช้ขี้วัวขี้ควายตากแห้งเป็นเชื้อเพลิง และมีบางส่วนที่มาทำงานในกาฐมาณฑุก็จะนำทั้งไม้ฟืน อาหารและข้าวมาจากบ้านเกิดของตนเอง เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

แต่ในส่วนคนจนหลายครอบครัวที่ไม่มีเงินซื้อ ก็อยู่ท่ามกลางแสงเทียนหรืออยู่ในความมืดและความเหน็บหนาวเพราะไม่มีเครื่องทำความร้อน เครื่องทำน้ำอุ่นหรือไม่มีแม้แต่ฟืน อย่างพื้นที่อำเภอตารัย(Tarai) ซึ่งเป็นพื้นที่เขตร้อนของเนปาล มีการสูญเสียชีวิตจากสภาพอากาศหนาวทุกปี เนื่องจากเป็นพื้นที่ร้อนเกือบตลอดทั้งปี มีวันที่อากาศหนาวอย่างมากในฤดูหนาวไม่เกิน 30 วัน บางวันจะมีแสงแดดแค่ตอนบ่ายหรือบางวันไม่มีเลย การสร้างบ้านเรือนก็ไม่ได้สร้างเพื่อรองรับอากาศที่หนาวเย็น



ในพื้นที่ห่างไกลของอำเภอตาลัย ชาวบ้านส่วนมากยากจน และไม่มีเงินเพียงพอจะซื้อฟืนเพื่อหุงหาอาหาร บางครอบครัวใช้ฟางข้าวแทน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะมีเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่เพียงพอต่อสภาพอากาศที่หนาวเหน็บ ชาวบ้านบางคนสร้างความอบอุ่นให้ตนเองโดยก่อกองไฟและนอนรอบกองไฟนั้น หรือแม้แต่ใช้เสื่อคลุมแทนผ้าห่มเพราะไม่มีทางเลือก ทำให้มีการเกิดเพลิงไหม้บ้านอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะเดือนกุมพาพันธ์ – มีนาคมสาเหตุมาจากประกายไฟปลิวไปในอากาศ ไปติดหลังคาบ้านที่มุงด้วยหญ้าเพราะลมแรงและอากาศแห้งมาก

กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตในฤดูหนาวมากที่สุด คือ คนไร้บ้าน คนแก่ เด็กแรกเกิด และคนที่มีโรคประจำตัวจากสถิติอย่างไม่เป็นทางการพบว่า มีผู้เสียชีวิตจากความหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2557- มกราคม 2558 มีจำนวน 380 คน ในส่วนของเด็กแรกเกิดที่เสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิต เนื่องจากขาดเครื่องกันหนาวที่เพียงพอทั้งขาดแคลนสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะส่วนใหญ่มีฐานะยากจนไม่สามารถหาเครื่องกันหนาวและอาหารที่เหมาะสมได้เพราะอยู่ห่างไกลจากเมืองมาก อีกทั้งคุณแม่เองก็ไม่มีความรู้และทักษะในการดูแลลูกน้อยเนื่องจากไม่ได้เรียนหนังสือและแต่งงานตั้งแต่ยังเด็ก เช่น Shila Kumari Malli เธอแต่งงานด้วยวัยเพียง 6 ขวบ ซึ่งบางทีคนไทยอาจจะคิดภาพไม่ออกด้วยซ้ำว่า มันมีจริงเหรอ


พื้นที่ในเนปาลส่วนใหญ่เป็นภูเขาจึงทำให้คนเนปาลไม่มีทางเลือกในการตั้งถิ่นฐานมากนัก ดังนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่แม้ห่างไกลและทุรกันดารก็ยังมีผู้คนอาศัยจับจองเสมอ ทำให้การเดินทางติดต่อจากภายนอกเป็นไปอย่างลำบาก บางพื้นที่อาจใช้เวลาเดินเท้า 1 วันเพื่อมาขึ้นรถโดยสารเพื่อเข้าเมือง ในขณะพื้นที่ทางตอนเหนืออย่าง Mustang, Jomsom คนส่วนใหญ่ในพื้นที่ไม่ค่อยมีการเสียชีวิตจากการหนาวตายเท่าไหร่นัก แต่จะมีกรณีภัยพิบัติ เช่น หิมะถล่ม ในเดือนตุลาคมปีที่แล้วมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวและไกด์ที่เดินป่า เพราะเป็นฤดูการท่องเที่ยว และเป็นช่วงที่คนพื้นถิ่นถึง 80% จะนำผลผลิตจากจามรี คือ ขนจามรีไปขายในพื้นที่ราบต่างๆ เช่น Beni, Banglung, Kusma, Pokhara, Katmandu และอินเดียนานกว่า 5 เดือน และจะกลับมาบ้านเกิดอีกครั้งเมื่อสิ้นสุดฤดูหนาว

รัฐบาลเนปาลมีกฎหมายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการห้ามตัดไม้มากว่า 40 ปี และการกวดขันที่เข้มงวดทำให้การลักลอบตัดและส่งไม้ค่อนข้างลำบาก คนเนปาลจึงได้ซื้อไม้ฟืนในราคาแพง ดังนั้นเศษไม้เล็กๆ น้อยจึงมีค่ามาก รัฐบาลเองก็เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน จึงมีการเปิดป่าทุกชนิดในเดือนธันวาคมของทุกปี ไม่ว่าจะเป็นอุทยานแห่งชาติ ป่าที่รัฐดูแลและป่าชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าไปเก็บฟืนไม้ที่หักโค่นตามธรรมชาติปีละ 1 ครั้ง ครั้งละ 5-10 วัน แตกต่างไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งประชาชนต้องเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 10-30 รูปี และการเปิดป่าแต่ละครั้งชาวบ้านทุกคนสามารถเข้าไปเก็บฟืนได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งส่วนใหญ่สมาชิกในครัวเรือนจะออกไปช่วยกันเก็บฟืนสำหรับตลอดทั้งปี เปรียบเป็นเทศกาลยิ่งใหญ่ของคนเนปาลที่อาศัยอยู่ชนบท อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้รวมทั้งใช้ในครัวเรือนอีกด้วย ทุกคนจะสนุกสนานมีความสุขเพราะหมายถึงมีฟืนเพื่อใช้ตลอดทั้งปี จนมีคำพังเพยที่ว่า “ที่เนปาลเหล็กหาง่ายกว่าไม้”และจะแต่งงานกับหนุ่มสาวบ้านไหนต้องดูว่าหาฟืนเก่งหรือไม่ โดยการเข้าไปในบ้านเพื่อดูว่ามีกองฟืนสูงมากน้อยขนาดไหน ถ้ามากแสดงว่าหนุ่มสาวคนนั้นสามารถหาฟืนได้เก่งเหมาะสมที่จะแต่งงานด้วย



จากการที่รัฐเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้าไปหาฟืนและสามารถเลี้ยงสัตว์หรือแม้แต่หาของป่าได้ในเขตพื้นที่อนุรักษ์นั้น ถึงจะมีเวลาที่จำกัดก็ตามที ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับกฎหมายด้านทรัพยากรของไทยที่แยกคนออกจากป่าเป็นกฎหมายที่ล้าหลังหรือไม่ เพราะการกล่าวหาว่าบุกรุกหรือจับกุมชาวบ้านที่เข้าไปหาเห็ดในพื้นที่ป่า หรือไล่ที่ชาวบ้านออกจากพื้นที่อนุรักษ์ แม้บางพื้นที่ชาวบ้านอยู่มาก่อนกฎหมาย ทำให้ชุมชนต้องแสวงหาพื้นที่ทำกินใหม่ แม้ว่ารัฐจะจัดสรรพื้นที่ให้ แต่ก็ไม่ได้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตเท่าที่ควร จนมีหลายครอบครัวที่ต้องอพยพเข้ามาเป็นแรงงานในเมืองใหญ่และกลายเป็นคนจนเมือง กลายเป็นวงจรที่สร้างภาระต่อชาวบ้านและรัฐเอง เพราะชาวบ้านขาดโอกาสทางสังคมในการพัฒนาศักยภาพตนเองอย่างเหมาะสม การเข้าถึงทรัพยากรถูกจำกัดด้วยปัจจัย เช่น การศึกษา ฐานะ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วชุมชนต้องพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติเพื่อสิทธิในการดำรงชีวิต แต่เมื่อเข้ามาในพื้นที่อื่นที่ตนเองไม่มีทักษะก็จะกลายเป็นแรงงานราคาถูกเท่านั้นเอง

คงจะเป็นคำถามกว้างๆ โยนไปให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในสังคม จนถึงระดับนโยบายช่วยกันคิดและหาทางออกบนหลักเมตตาและซื่อสัตย์ว่า ควรมีการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ แนวโน้ม หรือแม้แต่คนที่เกี่ยวข้องก็ควรทำความเข้าใจต่อการใช้กฎหมายหรือไม่อย่างไร เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอย่างเท่าเทียมและยั่งยืน

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai