ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

โดย กิตติพงศ์ พงษ์คะเชนทร์
อาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 11 / เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก

การบังคับเรื่องการค้าขายเมล็ดพันธุ์ดังที่ได้กล่าวไปในตอนที่ 1 นั้น หากฟังแล้วอาจสับสนกันกับพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ขอให้ทำความเข้าใจเบื้องต้นว่า เป็นกฎหมายคนละฉบับที่พูดกันคนละเรื่อง แต่เกี่ยวข้องกับเรื่องการค้าพันธุ์พืชเหมือนกัน หากจะทำการค้าเมล็ดพันธุ์ให้ยึดตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 แต่หากจะจดทะเบียนพันธุ์พืชให้ศึกษาพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 กล่าวคือ

พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 เป็นกฎหมายที่กำหนดว่า หากจะค้าขายเมล็ดพันธุ์จะต้องทำตามเงื่อนไข ซึ่งเงื่อนไขต่างๆก็จะเกี่ยวข้องกับหลักฐานประกอบการขออนุญาต ขั้นตอนการขออนุญาต ลักษณะของโรงเรือนที่เก็บเมล็ดพันธุ์ การรับรองคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ อัตราการงอกเป็นจำนวนร้อยละ ความบริสุทธิ์เป็นจำนวนร้อยละ เป็นต้น ซึ่งเป้าหมายของการกำหนดกฎเกณฑ์นี้ขึ้นมาเพราะรัฐต้องการสร้างมาตรฐานการค้าขายเมล็ดพันธุ์ให้มีคุณภาพ สรุปว่าโดยรวมแล้วจะเกี่ยวข้องกับการทำตามมาตรฐานที่กำหนด หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ “สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร” (สคว.) สังกัดกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

แต่พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดเรื่องสิทธิของผู้จดทะเบียนพันธุ์พืชให้สามารถทำการค้าขายได้เพียงผู้เดียว เนื้อหาภายในประกอบไปด้วยลักษณะของพืชที่ขอจดทะเบียนได้ หลักฐานประกอบการขออนุญาต ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์พืชประกอบการจดทะเบียน ขั้นตอนการขออนุญาต ระยะเวลาที่อ้างความเป็นเจ้าของได้ และโทษของผู้ละเมิดสิทธิของเจ้าของ เป็นต้น สรุปได้ว่า ผู้ที่เป็นเจ้าของพันธุ์พืชชนิดนั้นๆ สามารถใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการฟ้องร้องผู้ที่แอบ/ลักลอบเอาพันธุ์ไปทำการค้าได้ ซึ่งหน่วยงานที่รับหน้าที่จดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่และดำเนินการออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ คือ “กรมวิชาการเกษตร”

ส่วนพระราชบัญญัติควบคุมการค้าเมล็ดพันธุ์ ซึ่งหน่วยงานรัฐได้พยายามผลักดันให้เกิดขึ้นด้วยเหตุผลที่ว่า รัฐเห็นว่าประเทศไทยมีผู้สั่งซื้อพันธุ์พืชจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายภายในประเทศและมีการผลิตพันธุ์พืชจำหน่ายแก่เกษตรกรเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ก็ยังขาดการส่งเสริมและการควบคุมการใช้พันธุ์พืชที่ดี มีการจำหน่ายพันธุ์พืชที่ไม่ได้คุณภาพและพันธุ์พืชปลอมปนอยู่เสมอ การโฆษณาพันธุ์พืชว่ามีคุณสมบัติดีเกินจริง เกษตรกรที่ลงทุนซื้อพันธุ์ไปปลูกไม่ได้ผลดีตามที่โฆษณา ผลผลิตต่อไร่น้อยกว่าที่ควรได้ก็ดี หรือได้ผลผลิตที่คุณภาพไม่ได้มาตรฐานก็ดี ทำให้เกิดความเสียหาย เสียเงินและเสียเวลา ยิ่งไปกว่านั้นหากส่งสินค้าเกษตรชนิดนั้นๆ ไปขายต่างประเทศ สินค้าเกษตรของประเทศไทยจะตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบทั้งในด้านคุณภาพและราคา ดังนั้นหากปล่อยให้มีการประกอบการค้าพันธุ์พืชโดยเสรีจะทำให้เกิดความเสียหายมากยิ่งขึ้น

การบอกที่มาและรายละเอียดของเมล็ดพันธุ์เป็นสิ่งที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ซื้อได้ เพราะไม่ใช่ผู้ซื้อทุกคนจะรู้ที่มาของเมล็ดพันธุ์ บางคนเชื่อคำโฆษณาทางสื่อ บางคนซื้อเพราะเชื่อคนขาย ยิ่งเป็นผู้ซื้อที่อยู่ห่างจากพื้นที่การผลิตมากย่อมเข้าถึงข้อมูลได้น้อย การมีมาตรฐานเมล็ดพันธุ์จึงเป็นข้อดีต่อเกษตรกร นักปรับปรุงพันธุ์ หรือผู้ใดก็ตามที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ หากแต่หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องมีการตรวจสอบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การตรวจสอบเพียงขั้นตอนการเริ่มต้นแล้วปล่อยปละละเลยก็ไม่ต่างจากการนิ่งดูดายมาตั้งแต่แรก การรับรองอนุญาตที่ได้มาก็จะไม่มีประสิทธิภาพ ถึงแม้หน่วยงานของรัฐจะมีงบประมาณมากแต่การดูแลให้ได้ทั่วถึงต้องอาศัยบุคลากรที่เพียงพอ นอกจาการรับรองเบื้องต้นยังจะต้องคอยติดตามผล

ดังนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่รัฐควรส่งเสริม คือ การรับรองคุณภาพโดยให้ผู้ซื้อมีส่วนร่วมด้วยคือการส่งเสริมให้ผู้ซื้อติดต่อกับกลุ่มผู้ค้าเองโดยตรง โดยปกติความเชื่อใจเกิดจากความคุ้นเคย เหมือนกับผู้ซื้อเชื่อใจสินค้ายี่ห้อหนึ่งว่ามีคุณภาพโดยไม่ต้องถามเพราะมีความคุ้นเคยและใช้มานาน ยิ่งหากเป็นคนรู้จักผลิตเองผู้ซื้อยิ่งไว้วางใจ การรับรองแบบนี้เรียกว่าการรับรองแบบมีส่วนร่วม มีส่วนร่วมรับรองกับทั้งคนซื้อคนขาย หากสินค้าไม่ได้มาตรฐานคนที่จะเสียหายย่อมเป็นผู้ผลิตเพราะผู้ซื้อย่อมบอกปากต่อปาก  ต่อไปความเชื่อถือก็จะลดน้อยลงเรื่อยๆ วิธีนี้อาจฟังดูเป็นความยุ่งยากและเป็นภาระของผู้ซื้อ แต่เป็นวิธีที่มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพ เนื่องจากผู้ซื้อจะเป็นผู้ค้นหาและรับรู้ข้อมูลด้วยตนเอง กลั่นกรองความน่าเชื่อถือและมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ จะทำให้ผู้ซื้อรู้จักกลุ่มผู้ขายและรู้จักกลุ่มผู้ซื้อกลุ่มอื่นๆ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อกัน นอกจากนั้นการตรวจสอบจะทำได้ตลอดเวลาโดยผู้ซื้อจะเป็นผู้การันตีคุณภาพทำให้ผู้ขายมีการตรวจสอบและพัฒนาคุณภาพสินค้าอยู่ตลอดเวลา การรับรองโดยหน่วยงานเฉพาะเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือการส่งเสริมให้ผู้ซื้อให้ความสำคัญต่อการค้นหาข้อมูลด้วยตนเองควบคู่กันไปด้วย หากเกิดเครือข่ายระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้ออย่างเข้มแข็ง ย่อมเป็นผลดีแน่นอน เนื่องจากจะเป็นการแบ่งเบาภาระของหน่วยงานรัฐไปในตัว นี่จึงอาจเป็นอีกสิ่งที่หน่วยงานรัฐควรศึกษาทำความเข้าใจ เพื่อให้เป็นทางเลือกในการทำมาตรฐานรับรองอีกทางหนึ่ง

(ติดตามสาระเรื่องราวดีๆ แบบนี้ได้ทุกวันจันทร์)

—————————————————
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai