ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

“เด็กเป็นวัยที่สามารถปรับตัวได้ดีกว่าวัยผู้ใหญ่ ฉะนั้น การนำความรู้ที่เรามี ไปป้อนให้กับเด็กๆในชุมชนจึงเป็นความหวังที่เชื่อมั่นว่าพวกเขาเหล่านี้ จะขับเคลื่อน และพัฒนาชุมชนของตัวเองให้ดีขึ้นได้”คำบอกเล่าของ “นุ่น – เรณุกา น้อยทรง” อาสาคืนถิ่น รุ่น 4 จากจังหวัดมุกดาหาร

ครอบครัวคือตัวช่วยและแรงสนับสนุนที่ดี
มุมมองของนุ่นต่อการกลับบ้านอาจจะแตกต่างจากใครหลายๆ คน ในขณะที่ใครบางคนมองว่าชุมชนคืออุปสรรคในการกลับบ้าน แต่นุ่นให้ความเห็นว่าครอบครัวเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ให้เธอกับชุมชนได้เป็นอย่างดี

ตอนแรกเรากังวลว่ากลับมาที่บ้านแล้วจะอยู่ในชุมชนได้อย่างไร จะอยู่ได้นานแค่ไหน แต่สุดท้ายแล้วครอบครัวสนับสนุนเราอย่างเต็มที่ งานที่เราได้ทำร่วมกับชุมชนไม่ใช่ได้มาจากแค่ตัวเราเอง แต่เป็นผลมาจากครอบครัวและคนในชุมชนด้วย ….. นุ่นเล่าอย่างซาบซึ้งถึงหน้าที่ตรงหน้าของเธอ

“เด็กเป็นโครงสร้างขนาดเล็กที่ทรงพลัง”
อาสาคืนถิ่นแต่ละคนล้วนมีเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชนแตกต่างกันออกไป สำหรับนุ่น นอกจากงานพัฒนาที่เธอทำร่วมกับชุมชนอยู่แล้ว อีกหนึ่งบทบาทของเรอในชุมชน คือ การเป็นเสมือนครูพี่เลี้ยงที่คอยสนับสนุน หาโอกาสและกิจกรรมดีๆ มาให้กับเด็กๆในชุมชน

“ช่วงแรกเด็กๆ มองไม่เห็นถึงสิ่งที่ชุมชนเขามี แต่เมื่อให้เขาได้ศึกษาเรียนรู้ถึงคุณค่าของทรัพยากรเหล่านั้น เขาก็ถึงบางอ้อว่าชุมชนเรามีดีอะไรบ้าง” … นุ่น อธิบายให้เห็นการห้วงเวลาแห่งการเรียนรู้และเติบโตของเด็กๆ

ในฐานะคนรุ่นใหม่ที่รักและหวงแหนชุมชน เธอจึงเล็งเห็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่นุ่นเชื่อว่าผู้ใหญ่ในชุมชนหลายคนมองข้ามสิ่งนี้ไป โดยเฉพาะเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว ที่อาจส่งผลกระทบต่อเด็กในชุมชน

“เราอยากให้คนข้างนอกได้รับรู้ว่าชุมชนเรามีปัญหา อยากตีแผ่มันออกมาเพื่อให้ได้รับการแก้ไข”

อาสาคืนถิ่นสร้างเสียงที่ทรงพลังให้
นุ่นมีความหวังต่อการเข้าร่วมโครงการอาสาคืนถิ่น โดยเธอหวังว่าพลังเล็กๆของเธอที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะสามารถจุดประกายอะไรบางอย่างให้ผู้ใหญ่และคนรอบข้าง มองเห็นถึงปัญหาที่ชุมชนเธอเผชิญอยู่ สำหรับเธอแล้ว กระบวนการเรียนรู้ของอาสาคืนถิ่นไม่ได้ทำให้แค่ตัวเรอตระหนักรู้ถึงคุณค่าของชุมชน แต่โครงการนี้ เหมือนเป็นกระบอกเสียงที่ช่วยตะโกนส่งเสียงของนุ่นและเด็กๆ ให้ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องได้ยิน

นุ่นเล่าถึงบทบาทในอนาคตของเธอต่อชุมชน เธอตั้งใจไว้ว่าจะยังคงทำงานเป็นทีมสนับสนุนชุมชน ค่อยๆ ก้าวไปอย่างที่มันควรจะเป็น

“ให้อายุและประสบการณ์ของเราก้าวไปพร้อมๆ กัน”

“กลับมาเลยไม่ต้องคิดว่าจะมีงานทำหรือไม่ หรือจะอยู่บ้านได้ไหม
ท่ามกลางคำพูดตอกย้ำเหยียดหยาม จงใช้สิ่งเหล่านั้นเป็นแรงผลักดัน
แล้วคุณจะไปได้ไกล”

เธอทิ้งท้ายถึงคนรุ่นใหม่ที่อยากกลับบ้าน ด้วยการเชื้อเชิญให้กลับมายังไม่ต้องลังเล

———
นุ่น – เรณุกา น้อยทรง
อาสาคืนถิ่นรุ่นที่ 4 จังหวัดมุกดาหาร

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai