ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

“ธรธรร การมั่งมี” เกิดในครอบครัวเกษตรกรยากจนครอบครัวหนึ่ง เขามีเชื้อจีนจากพ่อและมีความเป็นชนเผ่าปกาเกอะญอจากแม่ เขาเล่าว่า “ผมคิดว่าผมเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของความเป็นชนเผ่ามากกว่านักกฎหมายคนอื่นๆ เลยนะ” ธรธรรได้รับแรงบันดาลใจอย่างมหาศาลจากการอ่านหนังสือเรื่อง “ทนายข้างถนน” ที่เขียนโดย John Grisham เขาตัดสินใจทิ้งเงินเดือนจำนวนมากไว้เบื้องหลังจากอาชีพนายธนาคาร เพื่อเลือกที่จะเป็นนักกฏหมายสิทธิมนุษยชน ที่ทำงานเพื่อผู้ด้อยโอกาสในสังคม

หลังจบการศึกษาด้านนิติศาสตร์ ธรธรรได้สมัครเข้าทำงานในธนาคารแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้นเขาได้ทราบข่าวการรับ อส.นักสิทธิ์ ของ มอส. เขาตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อสมัครโครงการทันที ที่สุดเขาผ่านการคัดเลือกโดยทำงานเรื่องที่ดินและชุมชนแออัดที่จังหวัดอุบลราชธานี เขาทำงานอยู่กับกลุ่มคนไร้สัญชาติชาวลาวที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในไทยเป็นเวลานานแต่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน เขาทำงานอยู่กับองค์กรนี้จนครบวาระอาสาสมัคร 1 ปี และทำงานอยู่ที่นั่นต่อแบบคนไม่มีเงินเดือนเป็นเวลา 3 เดือน มีเพียงน้ำใจจากเพื่อน อส.รุ่นเดียวกันเท่านั้น ที่ช่วยบริจาคเป็นค่าใช้จ่ายให้เขาเดือนละ 500 บาท แม้เป็นจำนวนเงินเพียงน้อยนิด แต่มันช่วยปลุกกำลังใจให้เขาทำงานต่อไป หลังจากนั้นธรธรรตัดสินใจย้ายกลับไปปักหลักที่บ้านเกิดจังหวัดเชียงใหม่ และได้เข้าทำงานที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิชุมชนท้องถิ่นซึ่งทำงานในประเด็นที่ดินและสิทธิชุมชน

ปัจจุบันเขาทำงานที่ Earth Rights International โดยทำงานในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศและประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการเขื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งเขาเฝ้าติดตามประเด็นเขื่อนฮัตจีในพม่าที่ลงทุนโดยรัฐบาลไทยและ กฟผ.  เขาทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายขององค์กร เขาเล่าว่าเขาได้รับโอกาสที่ดีมากจากงานที่เขาทำ เขาได้เรียนรู้ประสบการณ์การทำงานด้านต่างๆ ในระดับสากลจากชาวต่างชาติ ซึ่งแตกต่างจากประสบการณ์เดิมที่เขาได้เรียนรู้มาในช่วงก่อนหน้านี้ที่ถูกจำกัดอยู่แค่ระดับท้องถิ่นเท่านั้น

เขาเล่าว่า “ก่อนหน้านี้ผมพุ่งเป้าการทำงานเฉพาะระดับท้องถิ่นและไม่ได้สนใจประเด็นงานในระดับภูมิภาคหรือระดับนานาชาติมากนัก เพราะคิดว่าไม่มีประโยชน์หรือส่งผลกระทบใดๆ ต่อประเทศไทยเลย” แต่หลังจากเขาได้พบประสบการณ์จริง ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานในระดับนานาชาติ พร้อมทั้งฝากถึงคนรุ่นใหม่ว่า คนรุ่นใหม่ควรจะให้ความสำคัญกับกลไกการทำงานในระดับนานาชาติมากขึ้น

ภารกิจหลักของเขาคือการทำกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้กับชาวบ้าน  ซึ่ง EIA เป็นเรื่องสำคัญมากหากจะพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ในช่วงนี้เขาได้จัดเวทีให้ข้อมูลกับชาวบ้านขึ้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับกลไกด้านกฎหมาย

ธรธรรเล่าว่าก่อนที่เขาจะเข้าร่วมโครงการ อส.นักสิทธิ์ เขารู้จักเฉพาะประเด็นปัญหาชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น เขาไม่มีความรู้อะไรเลยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน แต่ในที่สุดเขาก็รู้จักกับมันหลังจากเข้าร่วมโครงการ อส.นักสิทธิ์ และได้ทำงานในพื้นที่ชุมชนแออัดที่อุบลราชธานี เขาพบว่าชาวบ้านประสบปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน บริษัทเอกชนได้ทำการยึดที่ดินทำกินและดำเนินการทางกฎหมายฟ้องร้องขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ ตัวเขาเองเป็นหนึ่งพลังที่คอยสนับสนุนช่วยเหลือชาวบ้านให้ต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์กับบริษัทและจากรัฐ

(ติดตามตอน 2 จันทร์หน้า)

—————————————————
Siza Nepal / สัมภาษณ์

อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล / แปล

เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai