ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ


นอกจากการมีกรณีศึกษาในรายงาน ผู้เขียน ยังได้วิเคราะห์ผลกระทบของการซ้อมทรมานให้เห็นประกอบงานวิจัยของ ของซุกกรียะห์ บาเหะ ผู้ช่วยวิจัยกลุ่มด้วยใจ เรือนจำกลาง จ.สงขลา โดยทำการศึกษาผ่านการสอบถามผู้ต้องขัง 118 ราย ส่วนหนึ่งเป็นคดีความมั่นคง พบว่า ผู้ต้องขัง 80% ถูกซ้อมทรมานในหลากหลายรูปแบบ  แรงกระทำต่างๆ ส่งผลให้ชาวบ้านไม่ไว้วางใจรัฐและถึงระดับมองว่าเจ้าหน้าที่รัฐเป็นโจร  อีกทั้งการซ้อมทรมานยังส่งผลต่อความเป็นตัวตนของผู้ต้องขัง เพราะทำให้สูญเสียความไว้วางใจ  มีพฤติกรรมไม่ปฏิสัมพันธ์กับใคร นอนไม่หลับ ฝันร้าย ซึมเศร้า สูญเสียการควบคุมตัวเอง  ตกใจง่ายเมื่อมีเสียงดัง พะว้าพะวงและตึงเครียด อีกทั้งหลายรายถึงกับคิดฆ่าตัวตาย ผลกระทบเช่นนี้ ต่อเนื่องไปยังระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ตลอดจนประเทศ ที่เกิดความไม่ไว้วางใจระหว่างประชาชนและรัฐ การไม่ร่วมมือ และส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศในที่สุด

จุดเน้นของรายงานนอกจากการให้ภาพการซ้อมทรมานผ่านกรณีศึกษา  ยังพาผู้อ่านไปสู่การทำความรู้จักหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ในที่นี้คือ “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ช.ช.” ได้ถูกนำเสนออย่างโดดเด่น  โดยเติมพล ได้บรรยายให้ภาพว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติเป็นใคร   ภารกิจของคณะกรรมการฯ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 8 ข้อ  แต่มีเพียงข้อ 5 เท่านั้นที่กล่าวถึงการตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้เขียนได้ทำการวิเคราะห์ให้เห็นช่องว่างของกฎหมายผ่านการสมมุติเหตุการณ์และการวิเคราะห์เพิ่มเติม ซึ่งงานชิ้นนี้ได้มีการเขียนลำดับเรื่องราวได้อย่างต่อเนื่อง แล้วนำไปสู่การวิพากษ์  และข้อเสนอแนะในช่วงท้าย โดยก่อนถึงข้อเสนอแนะได้กล่าวถึงปัญหา ของอำนาจหน้าที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยกรณีเจ้าหน้าที่รัฐซ้อมทรมานหรือรู้เห็นการซ้อมทรมาน ซึ่งแบ่งเป็นประเด็นปัญดังต่อไปนี้คือ หนึ่ง ปัญหาเรื่องการไต่สวนเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการทรมานหรือรู้เห็นต่อการทรมาน สอง ปัญหาเรื่องความล่าช้าในกระบวนการทำงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช.  และ สาม ปัญหาเกี่ยวกับการให้กรรมการ ป.ป.ช.ต้องเป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนทุกเรื่อง

รายงานชิ้นนี้ เขียนโดย “เติมพล ทองสุทธ์” อาสาสมัครนักสิทธิฯ รุ่นที่ 10  มีความน่าสนใจด้วยความที่ว่า เป็นงานที่ถอดสรุปมาจากการลงพื้นที่ทำงานจริงและนำเสนอเนื้อหาได้เข้ากับยุคสมัยที่มีการนำหลักการสิทธิมนุษยชนเข้ามาต่อสู้เพื่อปลดเปลื้องการกดขี่ รังแก และความไม่เป็นธรรมในหลายปัญหาสังคม และหากผู้อ่านท่านใดที่สนใจอ่านงานฉบับเต็มอย่างระเอียด สามารถติดต่อไปทางมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม https://www.thaivolunteer.org เพจ มอส-Thai-volunteer-service  แม้งานเขียนชิ้นนี้ผู้เขียนมีความประสงค์ในการจัดทำรายงาน เพื่อตอบความใคร่รู้ของตนเอง แต่การเรียบเรียงที่เข้าใจง่าย ประกอบการการค้นคว้าเอกสารต่างๆ เพิ่มเติม ทำให้รายงานชิ้นนี้สามารถเป็นเอกสารเบื้องต้นในการทำความเข้าใจกระบวนการยุติธรรมในคดีการซ้อมทรมานได้เป็นอย่างดีเนื่องจากเป็นการอธิบายควบคู่กรณีศึกษาไม่ใช่เพียงการแสดงตรรกะเชิงกฎหมายเท่านั้น

งานของ เติมพล ที่ผมได้นำมาเสนอรอบนี้ เป็นเพียงหนึ่งในอีกหลายๆชิ้นของอาสาสมัครหลายๆท่าน ซึ่งมีประเด็น มีมิติและมุมมองที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผมจะนำมาเสนอในโอกาสต่อไปครับ

—————————————————
เกียรติศักดิ์ ยั่งยืน/ เขียน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ/ เรียบเรียง

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai