ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ


โดย กฤษณา พาลีรักษ์

“ซินดาบาลา มิชรา” เกิดในครอบครัวคนยากจนในชนบทประเทศอินเดีย เธอเป็นหญิงธรรมดาที่มีความใฝ่ฝันต่อชีวิตสวยงามดุจเดียวกับเด็กสาวทั่วไป แต่ซินดาบาลากลับประสบเคราะห์กรรมที่แตกต่างจากภาพฝัน เมื่อเธอโตเป็นสาวและแต่งงานออกเรือนไปได้เพียง 2 ปี สามีของเธอได้ตายลง และนั่นเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่แม้ไม่ได้เลวร้ายขนาดต้องกระโดดเข้ากองไฟตายตาม แต่ครอบครัวของสามี กลับเห็นว่าเธอเป็นภาระที่พวกเขาไม่อยากแบกรับ หลังจากงานศพไม่นาน ซินดาบาลาจึงถูกขับออกจากบ้าน และได้กลายเป็นคนเร่ร่อนไปโดยปริยาย

ตามความเชื่อของชาวอินเดียนั้น เมื่อลูกสาวแต่งงานออกจากบ้าน เธอได้ตกเป็นสมบัติของสามีและต้องตัดขาดการเลี้ยงดูกับครอบครัวเดิมลง และไม่สามารถกลับไปอยู่กับพ่อแม่ที่แท้จริงได้ ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ยิ่งชีวิตหญิงหม้ายในสังคมอินเดียยิ่งถูกมองเป็นสิ่งอัปมงคล หากไม่โชคร้ายขนาดต้องถูกขับออกจากบ้านเหมือนซินดาบาลา พวกเธอต้องอยู่อย่างลับๆ ล่อๆ และไม่มีทางได้รับการยอมรับหรือกลับมามีสถานะทัดเทียมกับผู้อื่นในสังคมได้อีก จึงมีข้อมูลบ่งชี้มากมายว่า ในครอบครัวยากจน บางทีพวกเขาจะฆ่าเด็กทันที เมื่อรู้ว่าเด็กที่เพิ่งคลอดออกมานั้นเป็นเพศหญิง

เมื่อกลายเป็นคนไร้บ้าน ซินดาบาลาใช้ชีวิตเร่ร่อนไปทั่ว เธออดมื้อกินมื้อ ค่ำที่ไหนก็นอนที่นั่น แรกๆ เธอรู้สึกกลัวและนอนหลับไปพร้อมความหวาดระแวง แต่นานวันเข้าเธอรู้วิธีเอาตัวรอด และได้กลายเป็นคนจรจัดเต็มตัวในประเทศที่มีคนยากจนมากติดอันดับโลก เธอเห็นอกเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของพวกเขา โดยเฉพาะความรู้สึกของเด็กกำพร้าที่จำต้องกลายเป็นคนไร้บ้านและขอทานประทังชีวิต พวกเขาต้องเผชิญกับความอ้างว้างโดยลำพัง และได้กลายเป็นตัวแทนของอนาคตที่มืดมนที่สุดในประเทศอินเดีย

ซินดาบาลาเคยได้ยินมาเหมือนกันว่า เด็กบางคนที่เกิดในครอบครัวขอทาน ถึงแม้ตอนแรกเกิดพวกเขาจะมีอวัยวะครบ 32 ประการหรือเป็นเด็กสมประกอบ แต่ด้วยความยากจน พ่อแม่จำใจต้องตัดแขนตัดขาลูกๆ เพราะความพิกลพิการเรียกคะแนนความสงสารได้ดีกว่า

กระนั้นก็ตาม อาชีพขอทานเองก็ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่หลายคนคิด เมื่อรายจ่ายของพวกเขาไม่ได้มากนัก อย่างซินดาบาลาเอง ในหลายปีต่อมาก็มีเงินสะสมมากขนาดสามารถซื้อที่ดินเป็นของตัวเองได้ แต่แปลกตรงที่ความปรารถนาจะสร้างบ้านของตัวเองบนที่ดินแปลงนั้น เพื่อปีนป่ายกลับขึ้นไปอยู่ในสถานะที่ทัดเทียมกับผู้อื่น ไม่ได้เกิดขึ้นในความรู้สึกของเธอเลย ซินดาบาลาอยากสร้างศูนย์พักพิงเพื่อเด็กกำพร้าขึ้น และมอบมันเป็นของขวัญวันเกิดให้ตัวเอง

เมื่อความคิดเรื่องนี้ของเธอแพร่กระจายออกไป เธอได้รับการสนับสนุนจากคนในสังคมอย่างท่วมท้น มีผู้บริจาคทุนทรัพย์และมีอาสาสมัครมาร่วมสร้างศูนย์พักพิงฯแห่งนี้มากมาย นอกจากนั้นพวกเขายังร่วมแรงร่วมใจกันสร้างสวนสาธารณะเพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจในบริเวณใกล้เคียงขึ้น ตลอดระยะเวลาของการก่อสร้าง ซินดาบาลามีความสุขมาก เธอไม่คิดว่า การกระทำเพื่อความสุขของตัวเองครั้งสำคัญจะสร้างความสุขและส่งต่อความดีถึงผู้อื่นได้มากมายเพียงนี้ มันมากกว่าฝันสวยงามยามเด็ก มันคือรางวัลที่ตอบแทนการให้ที่ยิ่งใหญ่ของผู้หญิงยากไร้คนหนึ่ง เธอจึงอยากอุทิศวันเวลาที่เหลือในชีวิตเพื่อดูแลเด็กๆ

ปัจจุบันมีเด็กกำพร้ามากมายมีชีวิตอยู่อย่างอบอุ่นที่นี่ พวกเขามีบ้านหลังใหม่ มีความรักจากซินดาบาลาหญิงหม้ายผู้กลายเป็นเสมือนแม่ และมีโอกาสใหม่ๆ ที่สังคมพร้อมจะหยิบยื่น ผู้คนต่างซึ้งในน้ำใจของหญิงหม้ายผู้จุดคบเพลิงต่อความฝันให้เด็กกำพร้า และจุดคบไฟให้หัวใจผู้คนได้ตื่นขึ้น และหันมาเอาใจใส่ดูแลผู้อื่นอย่างไม่เลือกชนชั้นวรรณะ และลงมือทำความดีให้หัวใจได้เต็มตื้นเหมือนที่ “ซินดาบาลา..หญิงหม้ายหัวใจเทวดา” ได้พิสูจน์ให้เห็น.

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai