ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

ในช่วงเวลาของความสับสนหลังจบการศึกษาและมองหาทิศทางชีวิต  ‘วัชราวลี ต้นสูงเนิน’ รู้สึกได้ถึงความตื่นเต้นอย่างบอกไม่ถูกเมื่อเห็นข่าวประกาศรับสมัครโครงการ อส.นักสิทธิ์ ของ มอส.ที่บอร์ดของมหาวิทยาลัย โครงการนี้จุดชนวนความสนใจให้เธอพร้อมเพื่อนอีกสองคนสมัครเข้าร่วมโครงการ เธอบอกว่า ณ ตอนนั้นเธอพอรู้เกี่ยวกับโครงการนี้บ้างแล้วเมื่อตอนที่เธอเรียนอยู่ปีสอง 

เธอผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ และได้ทำงานเป็นอาสาสมัครที่ “มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน” มีภารกิจคือการเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายตลอดช่วงวาระหนึ่งปีของชีวิตอาสาสมัคร องค์กรที่เธอทำงานอยู่ จะทำงานหลักในประเด็นเรื่องสิทธิของแรงงานข้ามชาติ รวมถึงการทำงานด้านคดีความต่างๆ ของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานชาวพม่าที่เข้ามาทำงานอยู่ในประเทศไทย ภารกิจของเธอไม่ใช่แค่การสนับสนุนงานองค์กรเท่านั้น แต่เธอยังทำงานเสมือนเจ้าหน้าที่เต็มเวลาคนอื่นๆ  ที่ต้องคอยบริหารจัดการทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับคดีความต่างๆ ของผู้ใช้แรงงานที่เข้ามาขอความช่วยเหลือที่สำนักงาน เธอเล่าว่า “มันมากไปกว่าที่ฉันคิดไว้  ฉันพบช่องทางที่สามารถช่วยเหลือพวกเขาได้  แม้บางครั้งปัญหามันใหญ่เกินกว่าที่ฉันจะจัดการได้ แต่อย่างน้อยมันก็ได้ให้ประสบการณ์ที่ดีอย่างมากสำหรับการทำงานแบบมืออาชีพ เพราะมันได้เติมเต็มความต้องการของฉัน” หลังจบวาระ 1 ปี แม้เธอจะอยากทำงานที่มูลนิธิฯ ต่อ แต่ก็สามารถทำต่อได้อีกเพียง 3 เดือนเท่านั้น เพราะครอบครัวต้องการให้เธอเรียนต่อ

เธอเล่าว่า “ฉันไม่ชอบทำงานให้กับหน่วยงานเอกชนหรือทำงานด้านธุรกิจใดๆ อีกต่อไป” โครงการอาสาสมัครของ มอส.ช่วยให้เธอมองเห็นทิศทางที่ชัดเจนในสายงานมากขึ้น เธอบอกว่าการทำงานประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นทิศทางของเธอ งานอาสาสมัครทำให้เธอได้ทำงานเพื่อแก้ปัญหาให้กับคนที่ต้องการความช่วยเหลือจากเธอ พื้นที่งานอาสาสมัครยังเปิดโอกาสให้เธอได้มีเพื่อนและรู้จักเครือข่ายองค์กรต่างๆ ซึ่งมีจิตใจที่พร้อมสำหรับการช่วยเหลือผู้อื่น

“ฉันเติบโตและเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น  สามารถจัดการกับภาวะทางอารมณ์อันเป็นผลที่เกิดจากการทำคดีได้ ฉันเป็นมืออาชีพมากขึ้น มีความอดทนและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง”  เธอเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเองหลังจากเข้าร่วมโครงการ อส.นักสิทธิ์ ในช่วงเริ่มต้นเธอรู้สึกแย่และเศร้าใจมากเมื่อต้องเจอกับคดีที่หนักๆ และร้ายแรงมากๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เธอสามารถจัดการอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองได้และสามารถช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นมืออาชีพได้มากขึ้น

(ติดตามตอน 2 จันทร์หน้า)

—————————————————
Siza Nepal / สัมภาษณ์

อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล / แปล

เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai