ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

“ฉันคิดว่าฉันเป็นคนโชคดี เป็นคนร่าเริง อารมณ์ดี แต่ฉันไม่มีประสบการณ์ด้านสังคมเลย”  เป็นประโยคแรกที่ “ธันย์ชนก เชาวนทรงธรรม” เริ่มให้สัมภาษณ์ เธอเล่าว่า เธอมีเฉพาะความรู้ในตำราเรียนของมหาวิทยาลัยและเป้าหมายการเรียนก็เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดเท่านั้น แต่หลังจากที่เธอได้เข้าร่วมโครงการ อส.นักสิทธิ์ของ มอส. เธอพบว่าเธอได้เรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตมากขึ้น เธอได้เรียนรู้ความจริงของสังคม ได้สัมผัสกับปัญหาและความทุกข์ยากของชาวบ้าน เธอกล่าวว่า “ก่อนหน้าที่ฉันจะก้าวเข้ามาที่นี้ โลกของฉันช่างงดงามเหลือเกิน ฉันไม่เคยคิดเลยว่าจะมีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นบนโลก” ดังนั้น นอกจากอิทธิพลทางความคิดที่เธอได้รับจากพี่สาวของเธอจากการขอคำแนะนำเรื่องงานด้านสิทธิมนุษยชนแล้ว ความเป็นจริงของสังคมและการได้เรียนรู้โลกของกฎหมายในอีกด้าน มันก็ได้ส่งผลต่อแนวคิดของเธออย่างที่สุดเช่นกัน

เมื่อครั้งที่เธอได้มีโอกาสเข้าร่วมเวทีรณรงค์ของ โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ILAW) ซึ่งเป็นเวทีที่พูดถึงประเด็นเรื่องสิทธิในการแสดงออก ในเวทีนี้เธอได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนนกับ อส.นักสิทธิ์รุ่น 4  จึงทำให้เธอรู้จักโครงการ อส.นักสิทธิ์เป็นครั้งแรก หลังจากนั้นเธอก็ตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการ โดยทำงานที่มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (ENLAW) เธอทำงานที่นั่นจนครบวาระอาสาสมัคร 1 ปี ปัจจุบันเธอยังเป็นกำลังสำคัญขององค์กรและเป็นพี่ที่จะสอนงานน้องๆ รุ่นต่อไป

ช่วงแรกที่เธอเข้ามาทำงานที่ ENLAW เธอรู้สึกว่า “เป็นจังหวะเวลาที่เหมาะมาก เนื่องจากเป็นช่วงที่ ENLAW กำลังเริ่มฟ้องคดีต่อสำนักงานบริหารส่วนท้องถิ่นที่เซ็นอนุญาตให้บริษัทเอกชนสร้างท่าเทียบเรือได้โดยไม่ผ่านกระบวนการทำ EIA” เธอเล่าถึงเนื้องานของ ENLAW ว่า เป็นองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อม งานขององค์กรมี 4 ส่วนหลักคือ ส่วนแรก คือการทำงานเชิงยุทธศาสตร์ ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง เช่น กรณีการฟ้องรัฐบาลต่อศาลปกครองเพื่อให้รับผิดชอบต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการปล่อยมลพิษ ส่วนที่สอง คือการทำงานรณรงค์เชิงนโยบายไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ซึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีปกครองด้วย  ส่วนที่สาม คืองานด้านการจัดฝึกอบรมให้กับนักกฎหมายใหม่ที่จบใหม่ และส่วนสุดท้าย คือการทำงานรณรงค์ทั่วไป ส่วนเธอทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมาย งานของเธอส่วนใหญ่จะทำคดีอาญาและปกครอง และกลุ่มคนที่เธอต้องเกี่ยวข้องด้วยจึงมีทั้งนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เครือข่ายนักกฎหมายอิสระ รวมถึงเครือข่ายอื่นๆ ที่มีประเด็นงานร่วมกัน

เธอเล่าว่า “ตอนฉันเรียนฎหมายอยู่ฉันรู้สึกว่ากฎหมายไม่สามารถก่อโทษใดๆ ต่อใครได้ อีกทั้งยังจะต้องถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยเหลือผู้คนในสังคม แต่ความจริงอีกด้านที่ฉันเห็น กฎหมายกลับถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้คนจนที่ไม่มีสิทธิ์มีเสียงในสังคมอยู่แล้วยิ่งมีชีวิตแย่งลงไปกว่าเดิมอีก สิ่งนี้มันส่งผลต่อวิธีคิดของฉันมาก”  เธอเล่าด้วยความรู้สึกแย่ๆ  “คนที่เจอฉันในตอนแรก ทุกคนบอกว่าฉันเป็นคนร่าเริงสดใส แถมยังติดตลกอีกต่างหาก แต่ตอนนี้ฉันคิดว่าฉันเปลี่ยนไปมากหลังจากได้รับรู้เรื่องราวเศร้าๆ แบบนี้อยู่บ่อยๆ ได้รับรู้เรื่องราวของคนทุกข์ยาก ความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดมันทำให้ฉันต้องใช้ความคิดมากขึ้น ฉันเริ่มคิดถึงชีวิตที่มีความหมาย คิดถึงจุดยืนของฉันบนโลกใบนี้ และเริ่มตั้งคำถามกับการมีชีวิตอยู่ ความร่าเริงสดใสที่เคยมีอยู่เริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ ฉันกลายเป็นคนคิดมาก อ่อนไหวมากขึ้น อีกทั้งยังชอบเก็บเอาเรื่องราวของคนอื่นมาคิดจนปวดสมองไปหมด”

เธอเล่าว่าเมื่อคนยอมรับและเข้าใจตัวเธอ ตลอดจนภารกิจที่เธอกำลังทำอยู่ มันเป็นสิ่งที่ทำให้เธอรู้สึกดีอย่างบอกไม่ถูก คำว่า “ขอบคุณ” ที่อาจจะฟังดูเฉยๆ สำหรับคนอื่น แต่มันกลับทำให้หัวใจของเธอยิ้มได้ “ฉันคิดว่าสิ่งที่คอยช่วยเป็นกำลังใจให้นักสิทธิมนุษยชนได้มากที่สุดคือการช่วยให้พวกเขามีกำลังใจทำงานต่อไป” สำหรับคนตัวเล็กๆ ที่ไร้สิทธิ์ไร้เสียงและไม่เข้าใจอะไรเลยเกี่ยวกับกฎหมายและสิทธิมนุษยชน ขอแค่มีใครสักคนที่ยืนอยู่เคียงข้างและคอยหนุนเสริมพวกเขาจึงเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มาก ในส่วนของคดีแล้วไม่ว่าจะชนะหรือแพ้มันกลายเป็นเรื่องรองลงมา สิ่งสำคัญกว่าคือ “ความจริงจังต่องานที่พวกเราทำ มันได้ช่วยให้ชาวบ้านเข้มแข็งและกล้าที่จะลุกขึ้นยืนหยัดเพื่อสิทธิของพวกเขา”

(ติดตามตอนจบ จันทร์หน้า)

—————————————————
Siza Nepal / สัมภาษณ์

อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล / แปล

เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai