ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

วันนี้เป็นอีกวันที่ทีมพลเมืองอาสามีภารกิจลงเยี่ยมชุมชน รอบนี้ “ชุมชนคลองโตนด” ย่านมีนบุรี กรุงเทพฯ คือพื้นที่เป้าหมายของทีม ภารกิจลงเยี่ยมชุมชนและมอบของบริจาคจำพวกของใช้จำเป็นและอุปกรณ์ยังชีพบางส่วนถือเป็นภารกิจที่ทีมทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ อาจจะแก้ไขปัญหาได้ไม่มาก แต่เราเชื่อว่าการติดตามสถานการณ์ การเข้าไปเยี่ยมเยือนพื้นที่ชุมชนเครือข่าย การมอบของบริจาคบางส่วน มันอาจเป็นอะไรที่ไม่ยิ่งใหญ่มาก แต่เราเชื่อว่าไม่ว่าสิ่งนั้นจะใหญ่หรือเล็ก ล้วนสามารถแต่งเติมรอบยิ้มให้กันและกันในยามสถานการณ์วิกฤตแบบนี้

ภาพรวมๆ ของชุมชนคลองโตนดที่เราได้ลงไปเห็นด้วยตา เราขอหยิบบางส่วนมาเล่าให้พอเห็นภาพคร่าวๆ นับตั้งแต่ช่วงที่นั่งรถจากปากซอย จะเห็นบ้านพักอาศัยของชุมชนแห่งนี้ส่วนมากเป็นบ้านไม้ที่สร้างติดกันเป็นแถวๆ และอาจจะเนื่องจากการจัดสรรพื้นที่ใช้ประโยชน์ที่ถือว่าไม่ได้แย่มากนักจึงทำให้เวลามองออกไปแล้วรู้สึกสบายหูสบายตา

ในตัวชุมชนจะมีศูนย์สุขภาพประจำชุมชนตั้งอยู่ ศูนย์แห่งนี้นอกจากจะถูกใช้เป็นที่บริการด้านสุขภาพของคนในชุมชนแล้ว ยังถูกใช้ประโยชน์หลายอย่างตามจำเป็น และตอนนี้กำลังถูกใช้เป็นพื้นที่รับบริจาคข้างของเครื่องใช้จำเป็น เพื่อนำไปกระจายให้แก่คนในชุมชนต่อไป

เรามีโอกาสได้เจอ “ป้าเอ(นามสมมติ)” ซึ่งผู้นำชุมชนคลองโตนด แกเล่าภาพรวมๆของชุมชนให้เราฟังคร่าวๆว่า ป้าเอและทีมงานซึ่งเป็นคนในชุมชนได้พยายามจะพัฒนาชุมชนหลายๆ อย่าง มีโครงการที่ได้ทำเสร็จแล้วก็หลายอย่าง และตอนนี้โครงการหลักๆ ที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งก็คือ โครงการปรับทัศนียภาพของชุมชน ซึ่งตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่

เราพูดคุยกับป้าเอสักพัก แกก็พาพวกเราเดินสำรวจชุมชนโดยรอบพร้อมพูดคุยอธิบายประกอบ ทั้งเรื่องสถานการณ์ชุมชน ลักษณะชุมชน วิถีชีวิตของคนที่นี่ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า ยังดำเนินชีวิตในวิถีของคนริมน้ำ คนส่วนใหญ่ในชุมชนแห่งนี้เป็นชาวมุสลิมที่ยังใช้ชีวิตแบบดั้งเดิม พึ่งพาธรรมชาติ พึ่งพาคลองแห่งนี้เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงปากท้อง อาชีพของคนในชุมชนยังเห็นอาชีพที่บอกวิถีของคนกับคลองคือการจับปลา ยกยอ จับกุ้ง เก็บผัก ยิ่งในสถานการณ์วิกฤตแบบนี้ คลองโตนดจึงเป็นเหมือนธนาคารอาหารแห่งหนึ่งของคนในชุมชน

เราเดินสำรวจชุมชนกันมาเรื่อยๆ ทักทายคนในชุมชนเป็นจุดๆ จนมาถึงจุดหนึ่งที่อยากเก็บมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังคือ บ้านของป้าบี(นาสมติ)ซึ่งเราได้แวะเยี่ยมจนทราบว่าบี แกอายุประมาณ 50 ปี แกดูแลลูกซึ่งไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มาราวๆเกือบ 20 ปี รายได้น้อยจนบางครั้งอาจไม่พอสำหรับเลี้ยงคนในครอบครัว ป้าบีพูดประโยคหนึ่งว่า “ถ้ามีก็กิน ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไรเดี๋ยวมันก็มี” ในคำพูด น้ำเสียงและแววตาที่เรามองเห็นในตัวป้าบี ณ ขณะนั้นคือ คนที่มองโลกในแง่บวก สู้ชีวิต อดทนต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต และมีความเป็นผู้นำเป็นอย่างมาก เราทำอะไรไม่ได้มากนอกจากการรับฟังและให้กำลังใจป้าแกและครอบครัว

ต่อจากบ้านป้าบีแล้ว ป้าเอก็พาเราเดินสำรวจชุมชนต่อๆมาจนมาถึงจุดสุดท้ายของการสำรวจชุมชน เราพูดคุยกันกับป้าเอเล็กน้อยก่อนขอตัวเดินทางกลับ

การลงเยี่ยมชุมชนคลองโตนดในรอบนี้ถือว่าเป็นภารกิจที่คุ้มค่ามากกับสิ่งที่เราได้รับกลับมา เราได้เห็นภาพอีกด้านของคนในเมืองหลวง เห็นการต่อสู้เอาตัวรอดของคนในภาวะวิกฤต เห็นความอดทน เห็นวีถีชีวิตที่เรียบง่ายที่ดำรงอยู่แบบพึ่งพาธรรมชาติ เห็นคุณค่าสิ่งของที่เรานำไปมอบให้ชุมชน ซึ่งแม้จะเล็กน้อยแต่มันสามารถสร้างรอยยิ้มให้ผู้รับได้ รอบหน้าหากมีโอกาสลงชุมชน เราจะพยายามเก็บเรื่องราวมาเล่าให้ฟัง รอติดตามครับ

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai