ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

“ความเป็นหญิงมุสลิมไม่ได้เป็นอุปสรรคในการทำงานเพื่อสังคมแต่อย่างใดสำหรับฉัน” นี่คือสิ่งที่ “สุภาวดี สายวารี” บอกเมื่อตอนพบกันที่จังหวัดยะลา รอยยิ้มที่อ่อนโยนของเธอสัมผัสถึงหัวใจฉันตั้งแต่วินาทีแรก  ประสบการณ์ของเธอ  ความมุ่งมั่นตั้งใจ ความกระตือรือร้น ตลอดจนการอุทิศตนให้กับการทำงานของเธอได้สร้างแรงบันดาลใจในการทำงานเพื่อสังคมให้กับฉันอย่างที่สุด

เธอเคยประสบกับสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่สมัยที่เธอเป็นวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่ครูสอนศาสนาในระดับชั้นมัธยม ถูกจับตัวออกไปจากห้องเรียนต่อหน้าต่อตาเธอขณะที่กำลังเรียนอยู่ หรือเหตุการณ์ที่ญาติและเพื่อนบ้านของเธอถูกยิงเสียชีวิต เหตุการณ์ในบ้านเกิดของเธอเหล่านี้กลายเป็นแรงขับให้เธอมุ่งหน้าเข้าศึกษาทางด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยทักษิณ จ.สงขลา จนจบ

ช่วงที่เธออยู่ปีที่ 3 มีโอกาสฝึกงานที่ศาลจังหวัดยะลา เธอได้รับประสบการณ์หลายอย่าง ได้เห็นคดีของคนที่ถูกทรมานจนเสียชีวิต ได้พบกับทนายของมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม (MAC) ในช่วงที่ทำงานอยู่ที่ศาล เธอรู้สึกประทับใจในการทำงานของศูนย์ฯ อย่างมาก และตัดสินใจที่จะสมัครเข้าร่วมงานหลังจากจบการศึกษา “ฉันรู้สึกตกใจและแปลกใจมากที่องค์กรที่เรากำลังจะเข้าทำงานด้วยให้บริการที่พักฟรี” เธอคิดในใจว่า “ค่าจ้างทนายในการจัดการคดีความทางกฎหมายความมั่นคง คงได้ครั้งละเป็นหมื่นบาท”

เธอรู้สึกดีใจอย่างมากที่ได้พบกับทีมงานของศูนย์ฯ  ครั้งแรกทีมงานศูนย์ฯ เหมือนมีข้อสงสัยเมื่อเธอบอกว่าเธอจะสมัครเข้าทำงานกับศูนย์ฯ หลังจากที่เธอจบการศึกษา ขณะที่นักศึกษาส่วนใหญ่มักจะสมัครเข้าทำงานด้านศาลยุติธรรมหรือเข้าทำงานกับบริษัทเอกชน  “ศูนย์แปลกใจมากๆ เมื่อฉันได้ติดต่อไปหลังจากที่เรียนจบ” เธอได้ทำงานที่ศูนย์ฯ ในตำแหน่งผู้ช่วยนักกฎหมาย  มีภารกิจคือการรับเรื่องราวร้องเรียน  ลงพื้นที่ภาคสนาม จัดเก็บข้อมูลหลักฐานและทำแผนที่เพื่อประกอบคดีในชั้นศาล หน้าที่หลักของเธอคือการบริหารจัดการคดีและเป็นตัวแทนของผู้ที่ได้รับผลกระทบในชั้นศาล

สุภาวดีเข้าร่วมโครงการ อส.นักสิทธิ์ ของ มอส. เธอมีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหาและข้อท้าทายต่างๆ เธอได้รับแนวคิดและความรู้สำหรับการให้ความช่วยเหลือต่อผู้ได้รับผลกระทบ เธอบอกว่า “ฉันได้รับคำตอบแล้วว่าทำไมชาวบ้านจึงมีทัศนคติด้านลบต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ในช่วงเริ่มต้นของการเป็นอาสาสมัคร ฉันคิดมาเสมอว่า ปัญหาที่เจอในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย” แต่หลังจากที่เธอได้เข้าร่วมโครงการ อส.นักสิทธิ์ โครงการฯ ทำให้เธอรู้ว่ายังมีประเด็นใหญ่ๆ เกิดขึ้นในประเทศไทยอีกหลายต่อหลายประเด็น

(ติดตามตอนจบ จันทร์หน้า)

—————————————————
Siza Nepal / สัมภาษณ์
อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล / แปล
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai