ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

“แวซง บาเน็ง” เป็นนักศึกษาทุนด้านกฎหมายของ Asia Foundation เธอจบการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ความมุ่งมั่นของเธอในงานปกป้องสิทธิมนุษยชนเกิดจากแรงผลักที่ญาติของเธอถูกจับกุมดำเนินคดีทางกฎหมาย ในช่วงที่เธอเรียนอยู่ปีที่ 3  เธอถูกชักชวนจากทีมงานของมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม (MAC) ให้สมัครเข้าทำงานเป็นอาสาสมัครที่ศูนย์ฯ เธอตัดสินใจสมัครและได้ทำงานเป็นอาสาสมัครในแบบที่ไม่มีความชัดเจนว่าตัวเธอเองกำลังทำงานอะไรอยู่ ภารกิจหลักของเธอในช่วงนั้น คือการรับเรื่องราวร้องทุกข์ เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย จัดเตรียมเอกสารและสืบค้นข้อมูลเพื่อสนับสนุนการทำคดีในชั้นศาล นอกจากนี้แล้ว เธอยังทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างนักกฎหมาย, ผู้ได้รับผลกระทบ และครอบครัวของเขา ส่วนภารกิจซึ่งเธอทำอยู่เสมอนอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาแล้วคือ การลงพื้นที่เพื่อให้คำปรึกษาด้านกฎหมายกับชาวบ้าน รวมถึงการเป็นผู้ช่วยวิทยากรในการฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องกฎหมาย เธอทำงานที่ MAC เรื่อยมา แม้หลังจบการศึกษาเธอก็ยังคงทำงานอยู่ที่นี่ในฐานะอาสาสมัครแบบไม่มีเงินเดือน

เธอได้รับข่าวการเปิดรับ อส.นักสิทธิ์ ของ มอส. จากเพื่อนรุ่นพี่ แต่เธอก็ยังไม่ได้สนใจที่จะสมัครเพราะเธอไม่เคยเดินทางไปกรุงเทพเลย แต่ทันทีที่ได้ข่าวว่ามีเพื่อนในพื้นที่จังหวัดยะลาจะสมัครเข้าร่วมโครงการฯ เธอจึงไม่ลังเลที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการฯ เช่นกัน และก็ได้รับคัดเลือก เธอเล่าว่า “ฉันรู้สึกว่าฉันได้รับโอกาสอย่างมากในการเรียนรู้สิ่งใหม่หลายๆ เรื่องหลังจากเข้าร่วมโครงการนี้” ในช่วงอาสาสมัคร เธอมีโอกาสไปลงพื้นที่ อ.อุ้มผาง จ.ตาก เธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นคนไร้สัญชาติ  ซึ่งเป็นประเด็นที่แตกต่างจากประเด็นที่เธอทำงานในพื้นที่ภาคใต้ เธอเล่าว่า “ตอนนั้นฉันเกิดคำถามขึ้นมาในใจทันทีว่าพวกเขามีชีวิตอยู่ได้อย่างไร พวกเขาเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและเดินทางไปโรงพยาบาลกันอย่างไร”

เธอค่อนข้างเป็นกังวลกับการเข้าร่วมปฐมนิเทศร่วมกับเพื่อนๆ อาสาสมัครในครั้งแรก เธอเล่าว่า “สำหรับมุสลิมอย่างพวกเรา ฉันคิดว่ามันไม่ง่ายเลยกับการใช้ชีวิตร่วมกับคนศาสนาอื่น แต่หลังจากที่ได้ร่วมกิจกรรมกันแล้ว ความกังวลของฉันก็หายไป” เธอได้เรียนรู้แนวคิดเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและประเด็นอื่นๆ เช่น คนไร้สัญชาติ สิ่งแวดล้อม แรงงานข้ามชาติ เธอได้เรียนรู้ว่าผลกระทบที่ชาวบ้านได้รับมันมีรายละเอียดอย่างไร และพวกเธอจะช่วยปกป้องสิทธิของพวกเขาได้อย่างไร

ก่อนหน้าที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการ อส.นักสิทธิ์ เธอตั้งใจจะสมัครสอบเข้าทำงานราชการ แต่แล้วโครงการฯ นี้ก็ได้เปลี่ยนเส้นทางอาชีพเธอ เธอมีความสุขที่ได้เห็นรอยยิ้มของผู้คนหลังจากที่เธอได้ช่วยแก้ปัญหาให้กับพวกเขา

ณ วันนี้เธอยังคงทำงานที่ MAC เธอรู้สึกภูมิใจกับการทำงานแบบไม่มีเงินเดือน แต่เธอกลับได้รับกำลังใจเมื่อชาวบ้านรับรู้และเข้าใจถึงภารกิจที่เธอกำลังทำอยู่ เมื่อชาวบ้านรู้ว่าศูนย์ MAC เป็นที่พึ่งที่คอยช่วยแก้ไขปัญหาให้กับพวกเขาได้ ผลจากการทำงานที่เธอได้รับก็คือ การที่เธอได้ตระหนักถึงคุณค่าที่มีอยู่ในตัวเธอเอง อีกทั้งชาวบ้านสามารถตระหนักถึงสิทธิของตนเองและมองเห็นทางที่จะสร้างความยุติธรรมให้พวกเขาได้

(ติดตามตอนจบ จันทร์หน้า)

—————————————————
Siza Nepal / สัมภาษณ์
อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล / แปล
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง

 

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai