ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

“แวซง บาเน็ง” กล่าวว่า “แม้ฉันจะเครียดตอนอยู่ที่บ้าน แต่ทุกครั้งที่ฉันมาที่ศูนย์ฯ ความสุขจะเข้ามาแทนที่” ครอบครัวของเธอตระหนักดีว่าเธอจะสามารถช่วยเหลือพวกเขาได้หากเกิดสถานการณ์อะไรขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ทำให้พวกเขาใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ เธอได้พิสูจน์ตัวเองว่าเธอไม่เพียงแค่ทำประโยชน์ให้เฉพาะครอบครัวของเธอเท่านั้น แต่เธอยังทำประโยชน์ให้กับชาวบ้านคนอื่นๆ ในพื้นที่อีกด้วย เธอบอกว่า “ทั้งเพื่อนๆ ทั้งคนรู้จัก และคนในครอบครัวฉัน ได้แนะนำให้ผู้ได้รับผลกระทบรู้ถึงงานที่ฉันกำลังทำอยู่ หลังจากนั้นพวกเขาก็ได้เข้ามาที่ศูนย์เพื่อขอความช่วยเหลือ” สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เธอรู้สึกภาคภูมิใจกับสิ่งที่เธอทำอยู่ในปัจจุบัน

ข้อท้าทายใหญ่อย่างหนึ่งของเธอก็คือ การที่เธอทำงานที่ศูนย์ฯ และไม่ได้พักอาศัยอยู่ที่บ้านของตัวเองเหมือนเช่นหญิงมุสลิมคนอื่นทำกัน เธอกล่าวว่า “การเป็นผู้หญิงมุสลิมและมีเพื่อนร่วมงานเป็นผู้ชายในสำนักงานเดียวกันมันเป็นภาพที่ไม่ค่อยดีนัก แต่ฉันคิดว่าสิ่งที่สำคัญมากกว่าคือ ความมุ่งมั่นในงานที่พวกเรากำลังทำอยู่ เราควรบอกตัวเองเสมอว่า เราควรวางตัวอย่างไรเพื่อให้ตัวเองมีความปลอดภัยมากที่สุด” ก่อนหน้านี้คนส่วนใหญ่มักมีทัศนะคติในทางลบกับนักกฎหมายมุสลิมที่ทำให้ผู้กระทำผิดกลายเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ขณะนี้เธอและเพื่อนๆ ที่ศูนย์ฯ สามารถพิสูจน์ตัวเองและสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในพื้นที่จากงานที่ทำได้อย่างไร้ข้อกังขา

บางครั้งที่เธอมีโอกาสได้พบปะกับเพื่อนๆ ที่จบการศึกษารุ่นเดียวกัน ซึ่งทำงานมีเงินเดือน มีบ้างที่เธอกลับมาย้อนถามตัวเอง “ฉันกำลังทำอะไรอยู่ แต่เมื่อคิดได้ว่าเงินไม่ใช่คำตอบเดียวที่ทำให้ชีวิตมีความหมาย ฉันก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้” ในอนาคต เธอมีความหวังว่าเธอจะมีงานที่มั่นคง ได้เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายให้กับชาวบ้าน และสามารถช่วยงานที่ศูนย์ฯ ต่อไปเรื่อยๆ แต่มันก็คือความหวัง เพราะตอนนี้เธอบอกว่าเธอยังไม่ได้ใบอนุญาตว่าความ(ตั๋วทนาย)เลย

จากเหตุการณ์ที่มีหญิงมุสลิมคนหนึ่งได้เข้ามาขอความช่วยเหลือจากเธอ ด้วยความที่สามีถูกจับกุมทั้งที่เป็นผู้บริสุทธิ์ ทำให้เธอได้คิดว่า “หญิงมุสลิมควรจะมีความรู้เรื่องสิทธิของพวกเธอไว้บ้าง ถ้าฉันแต่งงานฉันน่าจะมีความรู้ว่า ฉันจะจัดการปัญหาและจะปกป้องตัวเองและครอบครัวได้อย่างไรบ้างหากเกิดกรณีการถูกละเมิดสิทธิ์”

เธอฝากถึงคนรุ่นใหม่ว่า คนรุ่นใหม่ควรจะได้รับโอกาสในการทำความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน  เธอสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่เข้าศึกษาทางด้านกฎหมาย เธอกล่าวทิ้งท้ายว่า “คนหนุ่มสาวยุคใหม่ไม่ควรปักใจเชื่อเพียงสื่อกระแสหลักที่ได้รับมา แต่ควรจะสามารถวิเคราะห์สถานการณ์จริงได้ด้วยตัวเอง”

(ติดตามอ่านเรื่องราวดีๆ ของอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชนได้ทุกวันจันทร์–ที่นี่)

—————————————————
Siza Nepal / สัมภาษณ์
อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล / แปล
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai