ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ


การที่ได้เข้ามาทำการฝึกสหกิจศึกษากับมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.) นิสิตตัวน้อยคนนี้ได้ทำงานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะจัดกิจกรรมอาสาที่ มอส. ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ หรือการลงพื้นที่ชุมชนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด หลายครั้งที่ลงพื้นที่ชุมชนแล้วได้เห็นสิ่งที่เราไม่คาดคิด ตัวอย่างเช่น ชุมชนใต้สะพาน ชุมชนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองศิวิไล แต่กลับอยู่อย่างลำบาก เป็นชุมชนด้อยโอกาสที่ยังขาดในหลายด้าน ต่างจากภาพฝันของใครหลายคนที่คิดว่าคนเมืองกรุงจะต้องดูดี ร่ำรวย

การลงพื้นที่ทุกครั้งเราจะเห็นถึงความซับซ้อนของความเป็นชุมชนมากขึ้น ปัญหามากมายซึ่งหากมองแบบผิวเผิน เราอาจไม่เห็นความเป็นจริงของปัญหาเหล่านั้น หลายครั้งที่นิสิตตัวน้อยมีโอกาสได้ไปจัดกิจกรรมที่ชุมชนใต้สะพานและทุกที่ครั้งที่ไปน้องๆ ในชุมชนมักให้ความสนใจกับการที่มีคนแปลกหน้าภายนอกเข้ามาในพื้นที่ชุมชน ทั้งที่ทุกครั้งที่ไปนั้นเราไม่ได้จัดกิจกรรมกับน้องๆ โดยตรง สิ่งที่เกิดขึ้นมันทำให้เกิดความคิดใหม่ขึ้นมาว่าหากเราได้มีโอกาสจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กและเยาวชนโดยตรงสักครั้งก็คงดีไม่น้อย ปรากฏการณ์เหล่านี้ยังคงเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอกระทั่งช่วงเดือนสุดท้ายของการฝึกสหกิจ สิ่งที่เคยเป็นแค่ความคิดก็ได้เกิดขึ้นจริง นั่นก็คือ “กิจกรรมอาสาพัฒนาเยาวชน”

การจัดกิจกรรมอาสาพัฒนาเยาวชนไม่ใช่แค่การเข้าไปจัดกิจกรรมกับเด็กในชุมชนเท่านั้น แต่คือการนำคนทั่วไปที่สนใจงานอาสาสมัครเข้ามาร่วมทำกิจกรรมไปพร้อมกันกับน้องๆ ในชุมชน และนั่นถือเป็นการเรียนรู้ชุมชนไปด้วยในตัว และในวันกิจกรรมจริงซึ่งเป็นครั้งแรกที่เราจัดกับเด็กในชุมชน แน่นอนว่าทุกอย่างที่อยู่นอกเหนือการวางแผนย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ เนื่องจากความเป็นเด็กที่เมื่อพบเห็นคนแปลกหน้าเข้าไปในชุมชนย่อมรู้สึกตื่นเต้น ดีใจ และอยากแสดงความสามารถที่ตนมีให้กับผู้ใหญ่ที่พวกเขาได้พบเจอ ในวันนั้นจึงมีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นทั้งที่ไม่ได้อยู่ในแผนที่วางเอาไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์เด็กดื้อ เด็กซน เด็กอยากแสดงออก ฯ กลับไม่ได้สร้างความรำคาญใจให้กับทีมงานทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมแต่อย่างใด ตรงกับข้ามที่กลับรู้สึกสนุกสนานไปกับน้องๆ ดังที่พี่อาสาสมัครคนหนึ่งได้กล่าวเอาไว้และยังติดหูมาจนถึงทุกวันนี้ว่า  “ไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่ไปเติมสิ่งที่ขาดให้กับพวกเขา พี่ว่าพวกน้องๆต่างหากที่เป็นฝ่ายเติมพลังให้กับเรามากกว่า

ช่วงก่อนจบกิจกรรม พวกเราได้พูดคุยกันก่อนกลับ น้องๆ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากให้พี่ๆมาจัดกิจกรรมแบบนี้อีก และพี่ๆ อาสาสมัครก็พูดเป็นเสียงเดียวกันเช่นกันว่า ถ้ามีโอกาสจะต้องมาอีกให้ได้ ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียงวันเดียวแต่กลับทำให้คนหลายคนได้รู้จักกัน ได้ใช้เวลาร่วมกัน และลืมเรื่องเครียดๆ จากงานไป นับเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่มอบความสุขให้แก่กันและกัน

ภาพหลังจากจบกิจกรรมในวันนั้น (ซึ่งเหมือนจะยังไม่จบดี) สิ่งที่ได้เห็นคือน้องๆ ชวนพี่ๆ เล่นด้วยกันต่อจนเหนื่อย ทั้งเตะบอล ทั้งกระโดดยาง ภาพที่ปรากฏเบื้องหน้าคงเป็นภาพที่ยากจะหาดูได้จากที่อื่นๆในเมืองกรุง
—————————————————
ธณัฐชา ชอบธรรม อาสาสมัครโครงการพลเมืองอาสา/ เขียน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ/ เรียบเรียง

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai