ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

เรื่อง : รอน-นรเศรษฐ์ นาหนองตูม
ทนายความ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
อดีตอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 10

จากวันนี้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว หลังเรียนจบใหม่ๆ ด้วยความคิดความเชื่อเรื่อง สิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยและความอยากเป็นทนายความที่มีแต่เดิมเป็นต้นทุน ผมจึงสมัครเข้าทำงานที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนผ่านโครงการอาสาสมัครนักสิทธิฯของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ประกาศผลสอบสัมภาษณ์ผมผ่านการคัดเลือกได้ทำงาน การเดินทางตามหาความฝันของผมจึงเริ่มต้นขึ้นนับแต่นั้น ผมขึ้นรถทัวร์ออกเดินทางจากมหาสารคามพร้อมกับแฟนด้วยเงินที่แม่ให้ติดตัว 10,000 บาท กระเป๋าสะพายหลัง 1 ใบ ใส่เสื้อผ้าไม่กี่ตัว และกระเป๋าถือใบใหญ่อีก 1 ใบ ในนั้นใส่หนังสือมาเต็มจำนวนหลายเล่ม ตอนออกเดินทางทั้งดีใจที่จะได้ทำงานที่ใฝ่ฝัน จะได้มีเงินเดือนจะได้เรียนต่อเพื่อยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของตัวเองและครอบครัว แต่ขณะเดียวกันก็หวั่นใจเพราะการเดินทางครั้งนี้เป็นการไปใช้ชีวิตที่กรุงเทพด้วยตัวเองเป็นครั้งแรก อารมณ์แบบเด็กบ้านนอกเข้าเมืองกรุงตามหาความฝันสร้างชีวิต คล้ายเพลงดอกหญ้าในป่าปูนของต่ายอรทัย ผมเดินทางมาถึงกรุงเทพตอนเวลาประมาณ 06.00 น. ลงรถที่ศูนย์นครชัยแอร์ฯ ตอนนั้นไม่รู้จักเส้นทางกรุงเทพ ไม่รู้จะไปทางไหน จะไปหาที่พักยังไง โชคดีมีน้องที่เป็นตำรวจช่วยเหลือพาขับรถยนต์หาหอพักอยู่ครึ่งวัน ได้ที่พักที่คิดว่าใกล้ที่สุดและถูกที่สุด ซึ่งได้ห้องแบบเปล่าๆมีเตียงนอนกับตู้เสื้อผ้านอกนั้นไม่มีอะไรเลย เครื่องนอนจำได้ว่ามีแค่ผ้าห่มผืนเล็กที่แฟนถือมา นอนแบบไม่มีผ้าปูที่นอนอยู่นาน จ่ายค่าหอพักและค่ามัดจำต่างๆไปทั้งหมด 6,500 บาท ทำให้เงินที่แม่ให้มาเหลือเพียง 3,500 บาท เริ่มต้นทำงานที่ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ด้วยเงินเดือนเริ่มต้นหลักพันรวมเงินช่วยค่าเช่าห้องก็หมื่นต้นๆ เนื้อหาในการทำงานเป็นงานที่ผมชอบมากสนุกได้ทำงานช่วยเหลือคนที่ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพจากการรัฐประหาร และได้เรียนรู้การทำงานทั้งหมดสำหรับการเป็นทนายความ เพื่อนร่วมงานทุกคนดีมากๆ เป็นที่ทำงานในฝันเลยทีเดียว ช่วงทำงาน 1 ปีแรก เป็นช่วงที่การเงินติดขัดมากที่สุด เพราะต้องจ่ายค่าสมัครสอบหลายอย่าง จ่ายค่าหนังสือและค่าอื่นๆ อดมื้อกินมื้อของจริง บางช่วงต้องหยิบยืมจากเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ จำได้ว่าตอนสมัครสอบทนายความตอนนั้นมีปัญหาด้านการเงินก็ได้หัวหน้าสำนักงานช่วยเหลือแบบไม่ต้องร้องขอ และมีอยู่ช่วงหนึ่งแบกรับค่าห้องไม่ไหว ต้องย้ายขึ้นไปอยู่ชั้นห้า ซึ่งค่าเช่าจะถูกลงกว่าเดิม แต่แน่นอนเป็นห้องธรรมดา ไม่มีแอร์ ไม่มีลิฟท์ต้องเดินขึ้นลงบันได เวลากลางวันจะร้อนมากๆ จนปวดหัว ไม่สามารถอยู่ห้องได้ ถ้ามองในแง่ดีคือช่วงตอนกลางวันผมต้องบังคับตัวเองกับแฟนออกจากห้องไปหาที่นั่งอ่านหนังสือตามห้องสมุดต่างๆ อยู่จนถึงเย็นจึงกลับมาห้อง ที่ทำงานของผมจะเน้นเนื้องาน ไม่เน้นเวลาในการนั่งอยู่ออฟฟิศ ผมจึงสามารถจัดตารางตัวเองได้ ผมใช้เวลาว่างจากการทำงานส่วนมากไปกับการอ่านหนังสือ โชคดีผมสอบทนายความทั้งทฤษฎีและปฏิบัติผ่านในรอบเดียวทั้งหมด ได้เป็นทนายความตามความฝันอันสูงสุด เมื่อมีเวลาว่างจากการสอบทนายก็ได้อ่านหนังสือเพื่อสอบเนติบัณฑิตตามความฝันของครอบครัวจนสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตไทยสมัยที่ 70 สำหรับการฝึกทนายความ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเป็นการรวมตัวกันของทนายความรุ่นใหม่ รุ่นกลาง รุ่นอาวุโส ซึ่งมาจากหลากหลาย จึงเป็นความโชคดีมากที่ได้เรียนรู้การทำคดีจากทีมทนายความที่มีประสบการณ์หลากหลาย พี่ทนายความไม่เคยหวงวิชา สอนน้องๆมาโดยตลอด ให้เวทีน้องๆได้ทำคดีด้วยตัวเอง นับเป็นความโชคดียิ่งในการฝึกวิชาชีพทนายความ ทุกอย่างผ่านไปเร็วมาก เกิดขึ้นในช่วงเวลาแค่ 4 ปี ตอนนี้ชีวิตเริ่มดีขึ้น มีความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพทนายความเพิ่มมากขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก มีเงินส่งให้ครอบครัว มีรถยนต์ไว้ใช้ กำลังจะเริ่มเรียนต่อปริญญาโท ถือเป็น 4 ปี แห่งความทรงจำที่ดีและเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด ช่วงเวลาที่ผ่านมาตลอดทั้ง 4 ปี ต่อสู้ดิ้นรนมาได้ ก็เพราะมีแฟนที่ดีคอยอยู่เคียงข้างเสมอตั้งแต่วันแรกที่มาอยู่กรุงเทพจนถึงวันนี้ มีครอบครัวคอยให้กำลังใจเป็นแบบอย่างของนักสู้ชีวิต และสำคัญที่สุดในวันครบรอบ 4 ปี ของการมาทำงานที่กรุงเทพมหานคร ก็คือ ขอบคุณศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ที่ทำให้ผมเป็นผมในทุกวันนี้ จึงบันทึกไว้เตือนความทรงจำ

—————
ทนายไทบ้าน
1 กรกฎาคม 2562

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai