ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

เรื่องราวมากมายแทบทุกเรื่องที่ฉันได้เรียนรู้จากการเป็นอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 11 ของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.) ฉันไม่เคยที่จะเสียใจหรือรู้สึกผิดหวังแม้สักครั้งเดียวกับการได้เข้าไปเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆตลอดระยะเวลา 1 ปี ทั้งการเดินทาง การพบเจอผู้คนมากมาย และการค้นพบบางอย่างในตัวเอง การเดินทางและประสบการณ์การทำงาน ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา 1 ปีของชีวิตฉัน ฉันจะบอกเล่าให้ฟังผ่านงานชิ้นนี้

ประสบการณ์ตรงจากการเป็นอาสาสมัครของฉันนั้น มันเริ่มขึ้นก่อนที่ฉันจะตัดสินใจสมัครเป็น “อาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 11” ด้วยซ้ำ ฉันชอบและสนใจประสบการณ์แนวนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้วตั้งแต่สมัยที่ฉันยังเรียนอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย หลังจากเรียนจบหลักสูตรปริญญาตรี ฉันจึงมุ่งหน้าเพื่อหาประสบการณ์งานด้านอาสาสมัคร ฉันมองว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่น่าสนใจทีเดียว น่าเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ในช่วงวัยชีวิตที่ฉันเองยังเป็นวัยรุ่นอยู่ ฉันดีใจมากที่ผ่านรอบข้อเขียน แต่เส้นทางงานอาสาสมัครของฉันก็เหมือนจะสะดุดและหยุดที่รอบสัมภาษณ์เท่านั้น เพราะฉันไม่ได้รับเลือกจากองค์กรที่ฉันได้เลือกเอาไว้ แต่ก็นั่นแหละหลายอย่างนำพาฉันมาสู่เส้นทางสายอาสาฯ ฉันคิดว่าด้วยความที่พี่ๆ ทีมงาน มอส. น่าจะเห็นความตั้งใจจริงที่ฉันอยากจะทำงานช่วยเหลือสังคมก็เป็นได้  ฉันจึงถูกเรียกตัวอีกครั้งเพื่อเข้าไปสัมภาษณ์รอบ 2 จนท้ายที่สุดฉันจึงได้เข้าทำงานเป็นอาสาสมัครในองค์กรที่ชื่อว่า “มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน : Community Resource Centre Foundation(CRC)”

CRC เป็นมูลนิธิที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายให้กับประชาชน คนตัวเล็กตัวน้อยที่ได้รับผลกระทบ ได้รับความเดือดร้อน ทำงานในประเด็นสิทธิชุมชนร่วมกับชุมชนเป็นส่วนใหญ่ ภารกิจหลักคือการดูแลและช่วยเหลือชาวบ้านเรื่องคดีความฟ้องร้อง CRC ให้ประสบการณ์ชีวิตกับฉันมากมายกว่าที่คิด ฉันได้เรียนรู้กระบวนการและวิธีการทำงาน เรียนรู้วิถีชีวิตผู้คน เรียนรู้การทำงานผ่านเรื่องราวของชุมชน ได้ลงไปศึกษาปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนอันเป็นผลสืบเนื่องจากโครงการพัฒนาต่างๆของรัฐ ด้วยเงื่อนไขที่เกิดขึ้นกับชีวิตฉันมากมาย CRC จึงเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของฉัน เราอยู่ด้วยกันเหมือนพี่เหมือนน้อง ช่วยกันทำงานเป็นทีม กระทั่งช่วงเวลาพักทานข้าวเราจะนั่งทานมื้อเที่ยงร่วมกันเสมอ นั่นคือส่วนหนึ่งของเรื่องราวที่ฉันประทับใจตลอดระยะเวลา 1 ปีของชีวิตอาสาสมัคร

จุดเปลี่ยนที่ทำให้ฉันรู้สึกว่า การทำงานเป็นอาสาสมัครนั้นดี มีคุณค่าทางจิตใจและมีคุณค่าต่อสังคมมาก เกิดขึ้นจากการที่ฉันได้เข้าไปทำงานช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยเหลือสังคมซึ่งฉันทำมันด้วยหัวใจจริงๆ ถึงแม้ความสามารถที่ฉันมีอยู่ อาจไม่เพียงพอที่จะช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาให้กับคนตัวเล็กตัวน้อยผู้ได้รับผลกระทบแบบพวกเขาได้เต็ม 100% แต่อย่างน้อย การได้เข้าไปให้กำลังใจและช่วยเหลือพวกเขาในเบื้องต้น เป็นสิ่งที่ทำให้หัวใจของฉันมีความสุข สุขที่ได้ทำเพื่อคนอื่น สุขที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนกระบวนการเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น

เมื่อถามถึงสิ่งที่ฉันได้เรียนรู้ ฉันคิดว่าฉันได้เรียนรู้กระบวนการทำงานขององค์กรหลายอย่างมาก ฉันได้เรียนรู้ถึงการเป็นเพื่อนร่วมงานกันในองค์กร ฉันมักรู้สึกเหนื่อยหน่ายใจกับระบบการทำงานขององค์กรไหนก็ตามที่เพื่อนร่วมงานมักนำเรื่องส่วนตัวเข้ามาพัวพันกับการทำงานอยู่เสมอๆ ฉันคิดว่า “เหนื่อยกายยังพอทน แต่ถ้าเหนื่อยกับคนคงไม่ไหว” อย่างไรก็ตามเมื่อมองอีกมุมหนึ่งฉันพบว่า สิ่งเหล่านี้มันกลับทำให้ฉันเติบโตขึ้นเมื่อฉันคิดบวก ฉันพบว่าฉันแข็งแกร่งขึ้น เป็นผู้ใหญ่ที่ดีขึ้นในสังคม ฉันรู้สึกขอบคุณทุกๆการเติบโตไปที่ละก้าวของฉัน

ณ วันที่จบวาระ 1 ปีอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน ฉันพบว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวฉัน คือการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ มุมมอง แนวคิดและวิธีคิดในการทำงานที่เคยมีอยู่ มันได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ฉันว่าฉันมีแนวคิดและวิธีคิดกับงานด้านสิทธิมนุษยชนมากขึ้นกว่าเดิม ฉันรู้สึกว่าคำว่า “สิทธิมนุษยชน” มันฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของฉันเสมอ แม้วันหน้าตัวฉันจะได้เดินหรือไม่ได้เดินบนสายงานนักสิทธิมนุษยชนโดยตรง ไม่ว่าฉันจะทำงานอยู่ที่แห่งไหนหรือองค์กรใดก็ตาม ฉันจะสามารถบอกตัวเองได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า “ฉันมีหัวใจแห่งความเป็นนักสิทธิมนุษยชน”

ฉันมีความสุขมากทุกครั้งที่ฉันได้มีโอกาสเข้าไปทำงานในชุมชน ฉันมักเห็นรอยยิ้มของพวกเขาเสมอแม้จะอยู่ในสถานการณ์ปัญหาหรือได้รับผลกระทบจากปัญหาใดๆก็ตาม สิ่งที่ฉันพบเห็นอย่างหนึ่งคือ คนในพื้นที่ไม่เคยที่จะยอมแพ้ต่อปัญหา อีกทั้งยังยืนหยัดต่อสู้กับปัญหานั้นๆเสมอ การได้ลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับผู้คน ได้เห็นรอยยิ้ม เห็นการต้อนรับที่ดีจากชาวบ้าน จากพี่น้องทุกคน สิ่งเหล่านี้มันทำให้ฉันมีความสุข ทุกๆครั้งที่ฉันลงพื้นที่แล้วได้เห็นความเดือดร้อนจากคนตัวเล็กตัวน้อยที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา สิ่งที่พวกเขาต้องการคือความช่วยเหลือจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ทุกครั้งที่ฉันแค่ได้มองผ่านแววตาของพวกเขา มันทำให้ฉันรู้สึกอยากเข้าไปให้ความช่วยเหลือ อยากเข้าไปแก้ไขปัญหาเหล่านั้นในทันทีทันใด แม้บางครั้งเหตุการณ์และเรื่องราวที่เกิดขึ้นมันทำเอาฉันถึงกับร้องไห้ บางครั้งมันเป็นความรู้สึกที่พูดไม่ออกบอกไม่ถูก หากใครไม่ได้สัมผัสด้วยตัวเองจะไม่สามารถที่จะรับรู้หรือเข้าใจความรู้สึกนั้นได้เลยว่า สิ่งที่พวกเขาได้ประสบพบเจอมานั้นเขาต้องการความช่วยเหลือมากน้อยขนาดไหน การทำงานกับคนอื่นต้องไม่ใช่การเป็นผู้ให้ที่ดีแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายความรวมถึงการที่ต้องเป็นผู้รับที่ดีด้วย การได้เป็นฟันเฟืองหนึ่งที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนสังคม เปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นอยู่เสมอ มันเป็นความท้าทายสำหรับตัวฉันเอง ฉันคิดอย่างนั้น

ทุกๆ ประสบการณ์มันสอนให้ฉันเก็บเกี่ยวประสบการณ์เหล่านั้น ฉันเรียนรู้ว่าทุกๆความคิดของฉันเองอาจจะไม่ใช่ความคิดของฉัน แต่ทุกๆความคิดที่เป็นฉันมาจนถึงตอนนี้เกิดจากการนำแนวความคิด วิธีคิด มุมมอง เรียนรู้ผ่านเรื่องราว ผ่านผู้คน ผ่านประสบการณ์ ผ่านการทำงานหลากหลายอย่างที่ฉันพบเจอ มันคือการหล่อหลอม แล้วมันก็หล่อเลี้ยงฉันในแบบที่เป็นตัวฉันเองมาจนถึงทุกวันนี้

1 ปีมันทำให้ฉันมีมุมมองทางด้านสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ฉันมองว่าในทุกๆสังคมย่อมมีทั้งด้านบวกและด้านลบปะปนกันไป แม้บางครั้งสังคมจะดูเหมือนโหดร้ายไปบ้างแต่มันก็ยังมีส่วนที่ดีปะปนกันอยู่ ที่สำคัญก็คือเราจะทำให้ทุกๆสังคมที่เราดำรงอยู่นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เกิดการขับเคลื่อนไปข้างหน้าในทางที่ดีขึ้นได้อย่างไร หากเปรียบเทียบสังคมเหมือนกับวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะคิดค้นสูตรวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ขึ้นมาเสมอ คิดค้นสูตรต่างๆ ที่ดีกว่าเดิมขึ้นมาแทนที่สูตรเดิมๆที่ล้าหลัง ฉันมองว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมก็เช่นกัน ทุกๆ สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นไม่มีอะไรที่มั่นคงหรือยั่งยืนตลอดไปแต่อย่างใด การเปลี่ยนแปลงสังคมจึงต้องมีสูตรใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ

ฉันเรียนรู้งานผ่านการทำคดีน้ำมันรั่วที่จังหวัดระยอง ระหว่างเวทีประชุมชาวบ้านอยู่นั้น อยู่ดีๆ สิ่งหนึ่งก็ผุดขึ้นมาในหัวของฉัน ฉันเขียนกวีขึ้นมาบทหนึ่งซึ่งฉันชอบนะ

“ ยิ่งสูงยิ่งเห็น          ยิ่งเห็นยิ่งเจอ
 ยิ่งเจอยิ่งหนาว                ยิ่งหนาวยิ่งต้องกล้า
ยิ่งต้องกล้ายิ่งต้องเผชิญ         ยิ่งต้องเผชิญยิ่งไม่กลัว
ยิ่งไม่กลัวยิ่งต้องทำให้มีพลัง     ยิ่งมีพลังยิ่งที่จะต้องขับเคลื่อน
เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม”

ขอบคุณมิตรภาพที่ดีที่ได้จากเพื่อนๆ อาสาสมัครนักสิทธิฯ รุ่น 11 ที่ทุกคนได้บอกเล่าเรื่องราว ได้แชร์ประสบการณ์ให้กันฟัง ขอบคุณที่ทุกคนได้มาเจอกันในสถานที่แห่งนี้ ที่ต่างคนต่างที่มา ต่างคนต่างจิตใจ ต่างครอบครัว แต่ทุกคนมี จิตใจเดียวกันคือ “จิตใจของการทำงานเป็นอาสาสมัคร” เหมือนกัน เราทำงานด้วยหัวใจที่เป็นนักสิทธิฯเหมือนกัน มิตรภาพที่ดีเหล่านี้จะไม่จางหายไป

ขอบคุณและโชคดีมากที่ฉันได้เป็นส่วนหนึ่งของของมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน(CRC) ตลอดระยะเวลาการทำงาน 1 ปี ขอบคุณหัวหน้าเป็นอย่างยิ่งที่เปิดโอกาสและรับฉันเข้ามาฝึกประสบการณ์การเป็นอาสาสมัคร ขอบคุณการเรียนรู้ การเติบโตทุกๆ วันของฉัน ขอบคุณมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม(มอส.) ขอบคุณชุมชน ขอบคุณชาวบ้านทุกๆคน ขอบคุณเพื่อนพ้องน้องพี่ ขอบคุณการพบเจอกัน การรู้จักและเรียนรู้กันและกัน ขอบคุณโอกาส ขอบคุณกาลเวลา ขอบคุณจริงๆ

———————————————
ประภาพรรณ สีหาฤทธิ์(เจี๊ยบ)/อาสานักสิทธิ์ฯ รุ่น 11 CRC : เขียน
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ : เรียบเรียง
———————————————

อ่านเรื่องราว “นักสิทธิ์” เพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai