ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

ตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน คือความรับผิดชอบในอดีตของเล่าฟั้ง แต่เขาลาออกในเวลาต่อมา เขาอยากจะร่วมกับเพื่อนๆ ก่อตั้งองค์กรที่ทำงานประเด็นที่ตัวเองสนใจโดยเฉพาะ ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนของชนเผ่าพื้นเมือง โดยกลุ่มเป้าหมายแรกที่เขาพุ่งเป้าไปก็คือบ้านเกิดของเขาเอง

ในช่วงหนึ่งปีของการเป็นอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน เขาสามารถขยายเครือข่ายไปยังกลุ่มคนและองค์กรต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย กลุ่มคนเหล่านั้นช่วยเปิดโลกทัศน์และช่วยให้เขามีทิศทางในการทำงานชัดเจน ซึ่งเขามีความมั่นใจจะทำงานในประเด็นด้านชาติพันธุ์ในพื้นที่ภาคเหนือมากขึ้น พื้นที่ดังกล่าวชาวบ้านยังเข้าไม่ถึงสิทธิและรู้จักกฎหมายต่างๆ น้อยมาก เล่าฟั้งถือว่าเป็นนักกฎหมายที่พยายามทำให้ชาวบ้านรู้ถึงสิทธิและสามารถปกป้องสิทธิของตนเองได้

เล่าฟั้งเล่าว่า “ลำพังตัวคนนั้นไม่เคยเปลี่ยนไปไหน แต่สิ่งเปลี่ยนไปคือประสบการณ์ที่ได้รับ” ในระยะแปดปีที่ทำงาน ด้วยความที่อยากจะบรรลุเป้าหมายชีวิตที่สูงขึ้น ทำให้เล่าฟั้งมุ่งมั่นศึกษากฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเอาจริงเอาจัง เขาได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะความรู้จากการเข้าร่วมโครงการต่างๆ หลายโครงการ อาชีพนักกฎหมายเปิดโอกาสให้เขาได้พบปะกับกลุ่มหลากหลาย ทั้งทนายความ นักวิชาการด้านกฎหมาย และนักพัฒนาเอกชน การได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มคนเหล่านี้ ทำให้เขาได้ประสบการณ์ที่มีคุณค่า เขาได้ข้อมูลความรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ มากขึ้น เขาได้พัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษจนสามารถพูดสื่อสารได้  กลุ่มคนเหล่านี้เป็นต้นแบบที่ดีสำหรับเขา การที่ได้มีโอกาสพบปะกับกลุ่มคนที่มีจิตใจดีและมีความมุ่งมั่นในภารกิจการงานด้านสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก ยิ่งทำให้เขามีความมุ่งมั่นที่จะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก

การทำงานของเขาที่ผ่านมา เกิดผลด้านบวกต่อกลุ่มชาวบ้านอย่างชัดเจน 2 ประการ ประการแรก คือ กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ได้เกิดความตระหนักในเรื่องของสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชนที่พวกเขาพึงได้รับ ประการที่สอง คือ ชาวบ้านในพื้นที่ที่ทำงานด้วยเกิดความมั่นใจในการต่อรองด้านสิทธิเรื่องสัญชาติและสิทธิในที่ดินทำกินกับหน่วยงานรัฐ จากความพยายามสร้างอำนาจการต่อรองให้กับชาวบ้านในหลายพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านหลายชุมชนสามารถทำกินบนที่ดินของตัวเองต่อไปโดยที่เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถใช้กฎหมายเอาผิดพวกเขาได้ แต่เขามีความเห็นในประเด็นนี้ว่า แม้การแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่จะสามารถทำได้ แต่การทำงานรณรงค์เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิที่ดินทำกินในระดับชาติยังดำเนินไปได้ช้า

ปัจจุบันเล่าฟั้งทำงานอยู่ มี 3 เรื่องหลัก คือ การรณรงค์คัดค้านการสร้างเขื่อน เรื่องการเรียกร้องสิทธิในที่ดินทำกินของชนเผ่าพื้นเมือง และเรื่องคนไร้สัญชาติ ซึ่งในประเด็นสุดท้าย เขามีแผนที่จะยื่นฟ้องที่ศาลปกครอง เกี่ยวกับกรณีปัญหาชนเผ่ากะเหรี่ยงซึ่งได้มีการเรียกร้องการมีสัญชาติมายาวนานกว่าสามปี แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด

(ติดตามตอนจบ จันทร์หน้า)

————-

Siza Nepal / สัมภาษณ์

อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล / แปล

เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง

 

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai