ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

เพื่อต่อฝันและเติมไฟ แด่หัวใจทุกดวง
เขียนโดย นายเบิกฟ้า สีทอง
วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2013 เวลา 05:54 น.

เพื่อต่อฝันและเติมไฟ แด่หัวใจทุกดวง1

สรุปบทเรียน 1 ปี [สิงหาคม 53- กันยายน 54] นายเบิกฟ้า สีทอง อาสาเยาวชน มอส.และตัวแทนเยาวชนบ้านป่าคู้ล่าง ภายใต้โครงการพัฒนาระบบนิเวศน์เกษตรและอนุรักษ์พันธุ์พืช จ.สุพรรณบุรี

ชีวิตของคนเราอาจไม่ได้ดูเหมือนภาพภายนอกที่แสดงออกให้คนอื่นได้รับรู้ทั้งหมด…

คนบางคนอาจจะดูเหมือนเกิดมาเพียบพร้อม คนบางคนอาจจะดูเหมือนเกิดมาลำบาก ต้องฝ่าฟันดิ้นรนด้วยตัวเอง แต่ใครจะรู้ บางครั้งความเพียบพร้อมที่เราเห็นก็อาจจะส่งผลเสียทำให้คนๆ นั้นคิดว่าตัวเองสมบูรณ์พร้อมอยู่แล้ว จึงไม่คิดจะแสวงหาหรือขวนขวายอะไรเพิ่มเติมอีกก็ได้ ในทางกลับกันผู้คนที่ดูเหมือนเกิดมาลำบาก ก็ส่งผลให้พวกเขาต้องดิ้นรนขวนขวายใฝ่รู้ด้วยตัวเอง จนสร้างการยอมรับและมีที่อยู่ที่ยืนได้ในโลกแห่งความเป็นจริง

เราเป็นใคร? คำถามที่ยิงลึกลงไปถึงใจ ผิวเผินเราอาจบอกได้แทบทันทีว่าเราคือใคร ผู้ชายคนหนึ่งรูปร่างใหญ่ หรืออะไรก็ตามทีเรียกว่า “นุย” แต่ความจริงข้างในเราคือใคร คำถามนี้ผมยังวนเวียนถามตัวเองอยู่ทุกวัน

เมื่อก่อนตอนที่ยังจำความได้ คาดว่าน่าจะประมานสิบปีที่แล้วตอนที่ผมยังเป็นเด็กวิ่งเล่นกับน้องๆ เพื่อนๆในหมู่บ้านความคิดมองโลกยังสดใส มองอะไรเป็นของเล่น สนุกกับชีวิตไปหมด แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ผมสังเกตหรือตั้งคำถามกับพ่อแม่ว่า ทำไมถึงได้มาอยู่ในหมู่บ้านกะเหรี่ยงแห่งนี้

พอเริ่มเรียนชั้นมัธยม ผมได้ออกไปเรียนหนังสือไกลบ้านเป็นครั้งแรก ตอนนั้นก็เรียนตามกระแสมาเรื่อยๆจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม กลับมาอยู่บ้านหนึ่งปีแต่ก็ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในของตัวเองอะไรมากนัก จึงกลับไปบวชใหม่อีกรอบ ครั้งนี้บวชหนึ่งปีและระหว่างการเรียนนั้นได้มีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการเมล็ดพันธุ์สันติวิถีรุ่นที่ 2 และก็ทำให้ได้พบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิดครั้งแรกในชีวิต

จากที่เคยอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยม เรียนรู้จากตำรา ท่องจำสิ่งที่ครูบอก แทบไม่ได้คิดอะไรด้วยตัวเองเลย มุมมองในการมองสังคมยังแคบ ตอนนั้นบ้านเมืองจะเป็นยังไงไมได้สนใจ เพื่อนพ้องรอบตัวจะดีจะร้ายอย่างไรไม่เคยให้ความสำคัญ แต่พอมาได้เจอกลุ่มคนที่สนใจการทำงานเพื่อสังคม “ความจริง” ของคนทำงานผ่านประสบการณ์จริงของแต่ละคนที่มีโอกาสได้พบปะพูดคุย ทำให้เราเห็นว่าความรู้ในตำราที่เรามีอยู่เต็มหัวนั้น แทบจะกลายเป็นเพียงเครื่องประดับสมองเราไปเลย

การเข้าร่วมอบรมกับโครงการเมล็ดพันธุ์สันติวิถีในครั้งนั้น ทำให้ได้พบกลุ่มเพื่อนกลุ่มใหม่ที่มีมุมมองที่แตกต่างจากเด็กทั่วไป การวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ การมองสังคมที่กว้างขวาง ด้วยประสบการณ์ที่แต่ละคนนำมาแลกเปลี่ยนทำให้ผมเกิดความสนใจในการเรียนรู้นอกห้องเรียนขึ้นมา หลังกลับจากค่ายในครั้งนั้นผมก็ไปลาสิกขาแล้วกลับมาเริ่มต้นการเรียนรู้รูปแบบใหม่อีกครั้งที่บ้านของตัวเอง
เรียนรู้นอกห้องเรียน

จุดเปลี่ยนครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เด็กชายคนหนึ่งที่ไม่เคยสนใจอะไรนอกจากโลกส่วนตัวหน้าจอสีเหลี่ยมของตนเอง ให้กลายมาเป็นเด็กที่ออกจากโรงเรียน เดินตามวิถีที่ครอบครัว “จัดสรร” ให้ว่าเหมาะสมแล้วกับเรา

ออกมาจากโรงเรียนสิ่งแรกที่รู้สึกเปลี่ยนไป คือ ความอิสระทั้งทางด้านเวลา และการจัดการกับความคิดของตัวเองด้วยความที่เป็นคนเคยอยู่ในระบบความคิดมาตลอด เวลาทำอะไรจะทำไปตามรูปแบบแผนที่คนอื่นตั้งไว้ให้ ทำให้คำว่าอิสระกลายเป็นสิ่งที่น่ากลัวไป แต่นั่นก็เป็นอีกก้าวที่ต้องข้ามผ่านไปให้ได้ พอกลับมาอยู่บ้านได้สักระยะหนึ่ง ก็พอที่จะจัดการกับตัวเองได้บ้างหลังผ่านการอบรมพัฒนาทักษะต่างๆ มาแล้ว

พอเริ่มมีทักษะด้านการพูดการแสดงออกขึ้นมาบ้าง ทางบ้านซึ่งทำงานพัฒนาสังคมอยู่แล้วก็เสนอโอกาสให้เข้ามาเป็นอาสาสมัครเพื่อเปิดโอกาสให้ตัวเองเข้ามาเรียนรู้ชีวิต และฝึกทักษะผ่านการทำงานจริง ซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ได้เข้ามาเป็นอาสาเยาวชน ของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม หรือ มอส.เพื่อการเรียนรู้สังคม เรียนรู้ตนเอง รวมไปถึงการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมได้

ด้วยความที่พื้นฐานครอบครัวทำงานพัฒนาชุมชน การเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ก็เหมือนการเข้ามาเรียนรู้ เส้นทางชีวิตของพ่อแม่ การทำงานที่สานต่อเจตนาของพ่อแม่นั้น ทำให้เข้ามาทำงานในชุมชนได้สะดวกมากขึ้น มีกลุ่มเยาวชนที่สนใจในด้านการพัฒนาชุมชนของตนเองอยู่แล้ว
เพื่อต่อฝันและเติมไฟ แด่หัวใจทุกดวง2
ฟื้นฟูชุมชนบ้านป่าคู้ล่าง

ชุมชนบ้านป่าคู้ล่าง เป็นชุนคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ตั้งอยู่ที่ ต.สมเด็จเจริญ อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี มีจำนวนบ้านเรือน 22 หลังคาเรือน มีผู้อยู่อาศัยประมาณ 130 คน เป็นชุมชนชนเผ่าเล็กๆ ตั้งอยู่ริมเขา เป็นกลุ่มชนเผ่าที่เพิ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ได้ไม่นาน ราวๆ 20 ปี มีการประกอบอาชีพการเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกดอกดาวเรือง ทำไร่ข้าวและการทำเกษตรอินทรีย์

บ้านป่าคู้ล่าง เป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องผูกพันกับป่าและธรรมชาติมาอย่างช้านาน การดำรงชีวิตที่ผ่านมา ได้พึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีพ มีการทำไร่ข้าวหมุนเวียนไว้ใช้กินกันตลอดทั้งปี มีการเก็บหาของป่า ล่าสัตว์ มาเลี้ยงชีพกัน แต่พอระยะเวลาผ่านล่วงเลยไป หลายสิ่งหลายอย่างเริ่มเปลี่ยนแปลง ทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกใช้จนเกินเลย ได้รับการดูแลอนุรักษ์ ความสมบูรณ์ของป่าสภาพดินที่เปลี่ยนไป ภาพของการเข้ามาจับจองพื้นที่ของบุคคลภายนอกชุมชน เป็นจุดที่ทำให้ผู้นำทางด้านความคิดภายในชุมชนเล็งเห็นผลที่จะเกิดขึ้นตามมาภายในอนาคตอันใกล้ ชาวชุมชนบางส่วนจึงได้ร่วมกันหาวิธีที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้เอาไว้ โดยที่ยังไม่หมดไปจนหารากฐานเดิมของวิถีชีวิตตนเองไม่เจอ

นี่ก็เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้เยาวชนหันมามองว่า แล้วพวกเราจะทำอะไรกันต่อ ผมกับเพื่อนๆ เยาวชนได้ตั้งวงคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนของตนเอง ทรัพยากรป่าไม้ของชุมชน สภาพวิถีการดำรงชีวิตที่กำลังจะก้าวลงสู่รูปแบบความเป็นทาสของสังคม หารือกันจนได้ข้อสรุปร่วมกันคือชุมชนมีพื้นที่ป่าสาธารณะอยู่ผืนหนึ่ง แต่ไม่ได้รับการจัดการ จึงคิดว่า พวกเราน่าจะใช้พื้นที่ป่าผืนนี้เป็นตัวเชื่อมและปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเด็กๆ และเยาวชนในชุมชนต่อไป

“โครงการพาน้องท่องป่าสน” จึงเกิดขึ้น เพื่อพาน้องๆ เยาวชนในชุมชนออกสำรวจพื้นที่ป่าชุมชนของตนเอง มีการเรียนรู้ถึงคุณค่าและความสัมพันธ์กันระหว่างทรัพยากรป่าไม้และวิถีชนเผ่าดั้งเดิมของพวกตน โดยมีพี่ๆ ในชุมชนเป็นกลุ่มแกนนำที่จะพาน้องๆ ทำกิจกรรมประจำสัปดาห์ มีการเก็บขยะรอบชุมชน ทำความสะอาดสถานที่ทำกิจกรรมรวมไปถึงการพาน้องๆ ทำสันทนาการบ้างเป็นบางครั้ง โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นให้น้องๆ ในชุมชนเกิดความสนใจและรวมกลุ่มกัน หันกลับมามองชุมชนของตนเอง หันกลับมามองวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของตน พวกพี่ๆ ก็จะได้สอดแทรกเนื้อหาความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับป่าไม้ วิถีชีวิต ที่เยาวชน ชนเผ่าควรที่จะรับรู้

ด้วยความหวังว่าจะเห็นเด็กๆ และเยาวชนในชุมชนหันมาสนใจชุมชนของตนเองมากขึ้น เกิดความคิดมุมมองที่มองชุมชนของตนเองในทิศทางที่กว้างขึ้น และสามารถหาวิธีจัดการกับปัญหาหรือสิ่งที่จะตามมาในอนาคตได้

แต่ด้วยความที่การจัดโครงการในครั้งนี้ เป็นครั้งแรกของพี่ๆ เยาวชน ที่ยังใหม่และยังขาดประสบการณ์การทำงานอยู่ จึงเกิดความไม่สะดวกราบลื่น ในกระบวนการตลอดโครงการ อีกทั้งยังจัดร่วมกับทีม RECOFTC เนื้อหาจึงถูกปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับทางทีม RECOFTC ซึ่งเข้ามาร่วมในส่วนของเนื้อหาวิชาการ การประเมินหาค่าคาร์บอนในต้นไม้ และบริเวณพื้นที่ป่าชุมชนของตน

เมื่อทีมจัดการที่เป็นเยาวชนเป็นทีมใหม่ ทำให้การจัดการจัดกระบวนการเกือบทั้งหมดขอโครงการ ตกหนักไปอยู่ที่ผู้ร่วมจัดซึ่งมีประสบการณ์การทำงานมากกว่าไป ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมเกิดความสับสนในเนื้อหาพอสมควร หลังจากสิ้นสุดโครงการ ได้มีการพูดคุยสรุปกันในคณะทำงานว่า เกิดอะไรขึ้นบ้างกับการจัดโครงการในครั้งนี้ ตัวแกนนำเยาวชนที่จัดได้บทเรียนอะไรบ้าง

สิ่งที่เกิดขึ้นจริงทำให้เห็นว่า การทำงานในครั้งนี้ไม่ได้มีการประชุมวางแผนกันก่อน ไม่ได้มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนจึงเกิดความไม่เข้าใจกันในกระบวนการทำงาน จึงส่งผลให้กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างไม่เข้ารูปเข้ารอยมากนัก และหน้าที่การดำเนินกระบวนการจึงตกเป็นหน้าที่ของทีมผู้ร่วมจัดแทน

ส่วนบทเรียนของผม แม้ผลการดำเนินโครงการจะออกมาไม่ประสบผลสำเร็จนัก แต่ในด้านจิตใจของตนเอง มองว่า ผมทำได้ขนาดนี้ก็ถือว่าประสบผลสำเร็จแล้ว

เพื่อต่อฟันและเติมไฟ

สิ่งที่ผ่านมาทั้งหมดตลอดทั้งปี เป็นบทเรียนบทหนึ่งที่ทำให้ตัวเองก้าวข้ามความกลัวและขีดจำกัดบางอย่างของตัวเองขึ้นมาได้

ความกลัว ที่จะยอมรับความกลัวของตนเอง
ความกลัว ที่จะยอมรับความล้มเหลวที่จะเกิดขึ้น
ความหวาดวิตกในสิ่งที่กำลังจะมาแต่ยังไม่ทันได้เกิดขึ้นจริง
 
การได้กลับมาทบทวนตัวเองในช่วงสุดท้ายของโครงการ การค้นพบตัวตนบางอย่างที่แฝงลึกลงอยู่ในจิตใจ ลึกจนเราไม่เคยคิดว่าจะได้พบสิ่งนั้น การยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น การค้นพบนี้ ทำให้ชีวิตมีความสุขขึ้นมาได้อีกระดับหนึ่ง

การเปลี่ยนมุมมองความคิด การเปลี่ยน ครั้งแล้วครั้งเล่า เปลี่ยนจนหาจุดยืนที่แท้จริงไม่พบว่า จุดยืนที่แท้จริงภายในตัวตนของเรานั้นคืออะไร ? อาจจะเป็นเรื่องธรรมดา ที่ดูธรรมดาสำหรับใครหลายๆ คน แต่สำหรับตัวผมแล้วนั้น ไม่มีอะไรดูน่าประทับใจมากไปกว่า การยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นได้

โลกนี้อาจจะมีคำว่าถูก และคำว่าผิด แต่สิ่งไหนกัน ที่เรียกได้ว่า “ถูก” และสิ่งไหนกัน ที่เรียกได้ว่า “ผิด” มุมมองของแต่ละบุคคลอาจจะแตกต่าง แต่หากเราเข้าใจความแตกต่างเหล่านี้ และ “ยอมรับ” ในความจริงที่เกิดขึ้น อาจจะไม่ผิดหรืออาจจะไม่ถูก สิ่งสำคัญมากกว่าความถูกหรือผิดคือ มองให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง แล้วปล่อยใจให้สบาย คิดได้เท่านี้ ชีวิตก็จะมีความสุขขึ้นได้อีกเยอะ……

เพื่อต่อฝันและเติมไฟ แด่หัวใจทุกดวง … ด้วยรักและหวังดี

นุย

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai