ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

1. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ที่อยู่
109 ซอยสิทธิชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม.
เวปไซต์ http://www.tlhr2014.com หรือ https://www.facebook.com/lawyercenter2014/

วัตถุประสงค์/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
1. จัดระบบฐานข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในพื้นที่เหนือ กลาง อีสาน ให้ได้ข้อมูลในภาพรวมเชิงปริมาณ และข้อมูลโดยละเอียดเชิงคุณภาพในกรณีที่เป็นตัวแทนของปัญหา ผ่านการเก็บบันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์และรูปแบบการละเมิดสิทธิโดยเจ้าหน้าที่รัฐภายใต้กฎอัยการศึก และกฎหมายพิเศษต่าง ๆ ได้แก่ ข้อมูลการซ้อมทรมาน การปิดกั้นเสรีภาพ การถูกควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ฯลฯ และลงพื้นที่และสังเกตุการณ์พื้นที่ที่มีกิจกรรมเคลื่อนไหวสาธารณะเพื่อเก็บข้อมูลและให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐละเมิดสิทธิ
2. ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ เกี่ยวกับการใช้อานาจของ ระบอบคสช. ผ่านการรับเรื่องร้องเรียนทางโทรศัพท์ ติดตามและให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นกับบุคคลที่ถูกทหารเรียกรายงานตัว รวมถึงติดตามและให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับบุคคลที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินคดีทางอาญาในข้อหาต่างๆในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาคดีของศาล
3. เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายและสิทธิมนุษยชนในเชิงป้องกัน ต่อประชาชนกลุ่มที่เสี่ยงจะถูกละเมิดสิทธิ
4. เผยแพร่ข้อมูลและผลักดันประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของไทยในระดับนานาชาติ
5. สร้างองค์ความรู้ และจัดทeข้อเสนอในการปฏิรูปสถาบันในกระบวนการยุติธรรมต่อสังคม ผ่านรูปแบบต่าง ๆ

ชื่อโครงการ : ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

วัตถุประสงค์:
1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทาฐานข้อมูลคดีของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
2. เพื่อให้การช่วยเหลือทางกฎหมายเกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

กิจกรรม:
1. ลงพื้นที่สังเกตุการณ์การพิจารณาคดีในศาล
2. รวมรวบข้อมูลจากการลงพื้นที่ เอกสารของศาล เว็ปไซต์ หรือสื่ออื่นๆ เพื่อจัดทาฐานข้อมูลประมวลคดีของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
3. ให้ความช่วยทางกฎหมายแก่ผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ เช่น รับเรื่องร้องเรียนทางโทรศัพท์ ลงพื้นที่สอบข้อเท็จจริง ติดตามและให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีถูกหมายเรียกให้รับทราบข้อกล่าวหาหรือถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวเข้าค่ายทหาร และให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับบุคคลดังกล่าวทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาคดี

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ :
บุคคลทั่วไปที่ได้รับผลกระทบถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อันมีผลสืบเนื่องมาจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557

รายละเอียดงานและคุณสมบัติของอาสาสมัคร
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน มีกิจกรรมหลัก 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายคดีและฝ่ายข้อมูล โดยอาสาสมัครจะปฏิบัติในฝ่ายคดี ซึ่งเน้นงานด้านการให้ความช่วยเหลือและดาเนินการทางกฎหมาย โดยปฏิบัติงานตามกรอบยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และภาระกิจของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตลอดจนงานอื่นใดที่ได้รับมอบหมาย
1. เก็บรวบรวมข้อมูลจากการลงพื้นที่สังเกตุการณ์การพิจารณา เอกสารของศาล จากเว็ปไซต์ หรือจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาบันทึกทาฐานข้อมูลคดีของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
2. ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย อาทิเช่น ให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ผู้มาติดต่อ ศึกษาค้นคว้าหลักทฤษฎีทางกฎหมาย ร่างคำฟ้อง คำร้อง คำขอ คำแถลง ติดตามทนายความไปสถานีตำรวจหรือไปศาล หรือรับมอบหมายให้ไปดาเนินการแทนในกรณีต่างๆ ฯลฯ
3. สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
4. เป็นผู้ที่มีความสนใจในประเด็นสิทธิมนุษยชนและรักความเป็นธรรม
5. ถ้ามีทักษะการเก็บบันทึกข้อมูล และมีความชอบในการเก็บบันทึกข้อมูลคดีจะพิจารณาเป็นพิเศษ

พื้นที่ปฏิบัติงาน
กรุงเทพมหานคร เว้นแต่จะมีเหตุจาเป็นอาจจะต้องไปปฏิบัติงานต่างจังหวัดเป็นบางครั้ง

รับอาสาสมัคร 1 คน

—————————————————

 

2. มูลนิธิเพื่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

ที่อยู่ 199/110 หมู่ 9 หมู่บ้านล้านนาวิลล์ ต. สันผีเสื้อ อ. เมือง จ. เชียงใหม่

วัตถุประสงค์/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
มูลนิธิฯ มีงานหลัก 2 ฝ่ายคือ
1. ฝ่ายงานฝึกอบรม – พัฒนาและสร้างบุคลากรคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน คัดเลือกกลุ่มเยาวชนจากประเทศลุ่มแม่น้ำโขง เข้าร่วมหลักสูตรเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ในประเทศลุ่มน้ำโขง
2. ฝ่ายงานรณรงค์และกฏหมาย – นำเอากฎหมายมาเป็นเครื่องมือหรือกลไกในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะโครงการที่ส่งผลกระทบข้ามพรมแดนซึ่งปัจจุบันไม่มีกฎหมายรับรองปัญหาเหล่านี้ โดยทำงานร่วมกับฝ่ายรณรงค์ โดยการศึกษา ค้นคว้าข้อมูล/งานวิจัย จัดเวทีอบรมให้ความรู้ทางด้านกฎหมายให้แก่ชาวบ้านที่ทำงานในพื้นที่

รายละเอียดงานและคุณสมบัติของอาสาสมัคร
โครงการที่อาสาสมัครไปปฎิบัติงาน: จังหวัดน่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน

กิจกรรม
กิจกรรม ลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้าน เพื่อเก็บข้อมูลน้ำมาวิเคราะห์และสนับสนุนให้ชาวบ้าน/ชุมชนมีความเข้มแข็ง เกิดความร่วมมือในการแก้ปัญหาแบบบูรณาการทั้งชุมชน ภาครัฐ และเอกชน อีกทั้งเก็บตัวอย่างวัตถุจากชุมชนไปทำการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการทำงานต่อไปในอนาคต

หน้าที่หลักของอาสาสมัคร
ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชน ค้นคว้ากฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน เพื่อสนับสนุนการทำงานของแต่ละฝ่ายในองค์กร และสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ในระดับหนึ่ง

พื้นที่ปฎิบัติงาน
เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน (มีที่พักให้ในเชียงใหม่)

รับอาสาสมัคร 1 คน

—————————————————


3.
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW)

ที่อยู่  505/12 ซอยรามคำแหง 39 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพ 10310
เวปไซต์ http://enlawfoundation.org/newweb/ หรือ https://www.facebook.com/Enlawthai2001/

วัตถุประสงค์
/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
1. มุ่งเน้นการพัฒนาฐานข้อมูลกฎหมายสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบและสนับสนุนข้อมูลให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
2. สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือการต่อสู้คดีแก่ผู้เสียหายในคดีสิ่งแวดล้อมและมลพิษ
3. ฝึกอบรมให้ความรู้แก่นักกฎหมายและชุมชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการใช้สิทธิและการดำเนินการทางกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
4. รณรงค์ผลักดันให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย เพื่อคุ้มครองการสิทธิของประชาชนและปกป้องสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปตามหลักความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมและแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
5. สร้างโอกาสให้ทนายความที่มีความสนใจในประเด็นสิ่งแวดล้อม เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินคดีเพื่อนำไปสู่ “เครือข่ายทนายความสิ่งแวดล้อม”
6. สร้างเครือข่ายการทำงานเชิงคดี โดยมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เสียหาย ชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ และทนายความ เพื่อนาไปสู่ “เครือข่ายการทำงานเชิงคดี”

รายละเอียดงานและคุณสมบัติของอาสาสมัคร

ชื่อโครงการ: งานส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อมมีงานด้านกฎหมายและงานคดีอยู่หลายประเด็น โดยกรณีที่มีการดำเนินคดีอยู่ขณะนี้เช่น คดีปกครองกรณีการประกาศยกเว้น EIA สำหรับโรงไฟฟ้าขยะ กรณีผลักดัน การบังคับคดีตามคาพิพากษา คือ กรณีลำห้วยคลิตี้ จังหวัดกาญจนบุรี ให้มีการดำเนินการฟื้นฟูลาห้วยที่ปนเปื้อนสารตะกั่ วและคดีปกครองกรณีการลักลอบทิ้งน้ำเสียอุตสาหกรรม ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ. ฉะเชิงเทรา รวมถึงการติดตามรวบรวมผลกระทบจากนโยบายและคำสั่งที่เกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อมของ คสช.และรัฐบาลปัจจุบัน และการปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) กรณีเหล่านี้ทางมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อมได้มีการทำงานศึกษาข้อมูลการให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย หรืออบรมเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในทางกฎหมายอื่น ๆ และหากเป็นคดีก็เข้าไปช่วยในการดำเนินคดีแก่ผู้ได้รับผลกระทบ และองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งทำงานในพื้นที่นอกจากนี้ทางมูลนิธิฯ ยังมีส่วนงานผลิตข้อมูลเพื่อสื่อสารสาธารณะผ่านทางช่องทางต่าง ๆ โดยอาสาสมัครที่จะมาปฏิบัติงานสามารถเลือกที่จะศึกษาในกรณีที่สนใจได้

หน้าที่หลักของอาสาสมัคร
1. ช่วยค้นคว้าและลงพื้นที่เก็บข้อมูล ข้อเท็จจริง และศึกษาข้อกฎหมาย เพื่อนำมาปรับใช้และร่วมถกเถียงแลกเปลี่ยนกับผู้ร่วมงานคนอื่นๆ ในการทำคดีสิ่งแวดล้อม
2. ศึกษาบทเรียนและประสบการณ์การทำคดีสิ่งแวดล้อมและปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม
3. มีส่วนร่วมในการเป็นวิทยากรอบรมเผยแพร่กฎหมายให้กับชุมชนที่ขอคำปรึกษาและสาธารณชนทั่วไป และผลิตข้อมูลเพื่อสื่อสารสาธารณะผ่านทางช่องทางต่างๆ
4. ช่วยจัดการอบรมสัมมนาเกี่ยวกับประเด็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมตามสถานการณ์สังคม และแผนงานของ EnLAW
5. สามารถลงพื้นที่ที่ทางมูลนิธิฯ มีงานด้านกฎหมายและงานคดีต่างๆ และช่วยเหลืองานจัดการสานักงานทั่ วไปตามที่ได้รับมอบหมาย
6. สนใจในประเด็นทางกฎหมาย (หากสนใจกฎหมายมหาชน/ปกครองจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ) รักเพื่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็น ชอบถกเถียงแลกเปลี่ยน มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้

พื้นที่ปฏิบัติงาน สำนักงานขององค์กรในกรุงเทพฯ แต่จะมีการลงพื้นที่ต่างจังหวัดด้วยโดยขึ้นอยู่กับประเด็นงานที่เกี่ยวข้องอยู่ในพื้นที่จังหวัดใด และจะมีการพิจารณาความเหมาะสมในการให้อาสาสมัครลงพื้นที่เป็นรายกรณี

รับอาสาสมัคร 1 คน

—————————————————

4.โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฏหมายประชาชน (iLaw)

ที่อยู่ 409 ตึกมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ประชาราษฎรบำเพ็ญ 5 เขตห้วยขวาง กทม
เวปไซต์ https://ilaw.or.th/ หรือ https://www.facebook.com/iLawClub/

วัตถุประสงค์/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
1. สร้างความตื่นตัวของสังคมและสร้างพื้นที่สำหรับการถกเถียงเรื่องของร่างกฎหมายใหม่ๆ และร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่ถูกเสนอขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
2. รณรงค์เกี่ยวกับการปฏิรูปกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงและกฎหมายที่กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ทางโลกออนไลน์
3. ติดตามสังเกตการณ์และบันทึกข้อมูลการละเมิดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิภายใต้ระบบยุติธรรม เพื่อสร้างฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้ และสร้างองค์ความรู้ในประเด็นการละเมิดเสรีภาพการแสดงออกให้กับสังคม

กิจกรรมที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน:
1. จับตาการทำงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ รณรงค์ให้สังคมสนใจและรู้เท่าทันการออกกฎหมายและนโยบายต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ ilaw.or.th
2. ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ คือการจัดทำฐานข้อมูลการละเมิดเสรีภาพการแสดงออกอย่างเป็นระบบทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บนเว็บไซต์ freedom.ilaw.or.th

ชื่อโครงการ: ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

วัตถุประสงค์
จัดทำฐานข้อมูลการละเมิดเสรีภาพการแสดงออกอย่างเป็นระบบทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อสร้างองค์ความรู้ในประเด็นดังกล่าว และรณรงค์ให้สังคมสนใจการละเมิดสิทธิเสรีภาพการแสดงออกที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
ประชาชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป

รายละเอียดงานและคุณสมบัติของอาสาสมัคร:
เข้าสังเกตการณ์การพิจารณาคดีที่ศาล เข้าเยี่ยมผู้ต้องหาที่เรือนจำ สถานีตำรวจ หรือสถานที่คุมขังอื่น ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยชนธรรมเบื้องต้น ประสานงานกับทนายความและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อติดตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เข้าสังเกตการณ์การชุมนุม หรือการจัดกิจกรรมที่อาจเกิดการละเมิดสิทธิ บันทึกข้อมูลส่งให้สื่อมวลชน องค์กรสิทธิมนุษยชน และองค์กรระหว่างประเทศที่สนใจ

1. มีความสนใจในประเด็นสิทธิเสรีภาพการแสดงออก และการปฏิรูปสังคมผ่านกฎหมาย
2. มีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมที่จะพัฒนาตัวเองและเรียนรู้ร่วมกันในการระหว่างการทำงานกับองค์กร
3. มีทักษะในการเขียนข่าว เขียนบทความ สามารถเขียนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายได้
4. หากมีทักษะในการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก การสื่อสารผ่านโลกออนไลน์ การถ่ายภาพ การถ่ายวีดีโอ และการใช้ Photoshop จะเป็นประโยชน์กับการทำงานมาก

พื้นที่ปฎิบัติงาน
ปฏิบัติงานในกรุงเทพมหานครเป็นหลัก อาจต้องเดินทางไปต่างจังหวัดบ้าง ตามความจำเป็น

รับอาสาสมัคร 1 คน

—————————————————


5. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น (ศพช.) จังหวัดเชียงใหม่

ที่อยู่ 199/332  หมู่ที่2  ตำบลหนองจ๊อม  อำเภอสันทราย  จังหวัดเชียงใหม่
โทรศัพท์      053-230072
https://www.facebook.com/CPCR.Page

สถานที่ทำงานอาสาสมัคร
199/332  หมู่ที่2  ตำบลหนองจ๊อม  อำเภอสันทราย  จังหวัดเชียงใหม่

วัตถุประสงค์และกิจกรรมขององค์กร
1.ช่วยเหลือประชาชน (คนชายขอบ) ทางกฎหมาย โดยเฉพาะประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
2.ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องสิทธิตามกฎหมายและกลไกการคุ้มครองสิทธิให้กับประชาชน (คนชายขอบ)

กิจกรรมหรือโครงการที่องค์กรดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
1.ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือคดีความที่ชาวบ้านถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสิทธิชุมชน
2. อบรมกฎหมายให้กับอาสาสมัคร ผู้นำ และชาวบ้านในชุมชน ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิ

ความคาดหวังต่ออาสาสมัคร
-เกิดสำนึกใหม่ในการใช้กฎหมายเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
-ตั้งใจพัฒนาตนเองในทุกๆด้านเพื่อเป็นนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนที่ดีและมีประสิทธิภาพ

พื้นที่ปฏิบัติงาน
9 จังหวัดภาคเหนือ ( เชียงใหม่ , เชียงราย , แม่ฮ่องสอน , พะเยา , น่าน , แพร่ , ลำพูน , ลำปาง)+ตาก

คุณสมบัติอาสาสมัครที่จำเป็น
– มีความเชื่อและศรัทธาในแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน
– มีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
– สามารถเดินทางไกล ไปพักอาศัยอยู่กับชุมชนได้ 

รับอาสาสมัคร 1 คน

—————————————————

6. Center for Asylum Protection (CAP)

ที่อยู่ 40/32 หมู่บ้านสายลมโฮมออฟฟิส, ซอยอินทมาระ 8, ถนนสุทธิสารวินิจฉัย, แขวงสามเสนใน, เขตพญาไท กทม.
เวปไซต์ https://capthailand.org/

วัตถุประสงค์/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
CAP เป็นโครงการคลินิคกฎหมายของมูลนิธิประชาชนเพื่อประชาชน ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยและผู้ลี้ภัยในเขตเมืองที่ยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยกับ UNHCR กิจกรรมหลักของ CAP คือการให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาและเป็นตัวแทนทางกฎหมายให้กับผู้ลี้ภัยในเขตเมืองในการยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยต่อ UNHCR ซึ่ง CAP จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ระหว่างรอผลการพิจารณาคำขอสถานะของ UNHCR

รายละเอียดงานและคุณสมบัติของอาสาสมัคร

ชื่อโครงการ: โครงการส่งเสริมนักกฎหมายไทยให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องผู้ลี้ภัย
รายละเอียดงาน: รับอาสาสมัครจบปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างน้อยในระดับสนทนา เนื่องจากอาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ และยินดีทำงานกับกลุ่มเปราะบาง (vulnerable people) อาสาสมัครสามารถค้นคว้าระเบียบหรือกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยในเขตเมือง ข้อมูลของประเทศต้นทาง (Country of Origin Information; COI) และช่วยเหลือที่ปรึกษาทางกฎหมาย เพื่อเตรียมคำร้องประกอบการยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยกับ UNHCR อาสาสมัครสามารถติดต่อประสานงานกับผู้ลี้ภัยในเขตเมือง เยี่ยมชุมชน เยี่ยมผู้ต้องกักในสถานกักตัวคนต่างด้าวของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและให้คำแนะนำด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และเข้าร่วมประชุมกับองค์กรภาคีอื่นๆ ที่ทำงานประเด็นผู้ลี้ภัยทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

พื้นที่ปฏิบัติงาน: กรุงเทพฯ (มีค่าสนับสนุนค่าที่พัก)

รับอาสาสมัคร 1 คน

—————————————————

7.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCf)

ที่อยู่ 111 ซอยสิทธิชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย เขตสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
เวปไซต์ https://voicefromthais.wordpress.com/ หรือ https://www.facebook.com/CrCF.Thailand/

วัตถุประสงค์/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
องค์กรเน้นให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การเยียวยา และการฟื้นฟูแก่บุคคลที่โดนละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจ หรือได้รับผลกระทบจากการละเมิดดังกล่าว อีกทั้ง ยังส่งเสริมและสนับสนุนการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

โดยให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษาด้านกฎหมาย จัดเวทีเสวนา อภิปราย ลงพื้นที่จัดทำรายงานเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิฯ และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนรวมถึงทัศนคติของสังคมต่อการละเมิดสิทธิฯ

ชื่อโครงการ: Access to Justice

วัตถุประสงค์: พัฒนาการสื่อสารขององค์กร ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของมูลนิธิผสานฯ และสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม

กิจกรรม: ดูแล พัฒนาพื้นที่การสื่อสารต่างๆขององค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และภารกิจขององค์กร ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของโครงการคือ บุคคลทั่วไป และสื่อมวลชน

รายละเอียดงานและคุณสมบัติของอาสาสมัคร
อาสาสมัครเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจด้านสิทธิมนุษยชน ปัญหาสังคม และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ในระดับหนึ่ง  และมีความสนใจหรือความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารทั้งออนไลน์และออฟไลน์ให้ความช่วยเหลือในด้านการสื่อสารองค์กร เผยแพร่แถลงการณ์และใบแจ้งข่าว ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมที่องค์กรจัด มีส่วนร่วมในการเตรียมงานก่อนและหลังลงพื้นที่ การประชุม หรือกิจกรรมต่างๆ ทั้งในกทม. และต่างจังหวัด ซึ่งถ้ามีการลงพื้นที่ก็จะมีการแจ้งโครงการและกำหนดการก่อนออกเดินทาง แต่อย่างไรก็ดี รายละเอียดของการปฎิบัติงานมีความยืดหยุ่นที่ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่องค์กรจัด และความสามารถของอาสาสมัคร

สถานที่ทำงานของอาสาสมัคร
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม  111  ซอยสิทธิชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ

รับอาสาสมัคร 2 คน

————————————————— 


8.
มูลนิธิชีวิตไท (LocalAct)

ที่อยู่ 55/245 ซ. งามวงศ์วาน 32 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม.
เวปไซต์ http://www.landactionthai.org

วัตถุประสงค์/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ การจัดการศึกษา พัฒนาศักยภาพเกษตรกร การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การจัดเวทีสัมมนาวิชาการ เวทีสาธารณะ และการรณรงค์ขับเคลื่อนในระดับนโยบาย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรเกษตรกร ในการกำหนดนโยบายที่ดินและหนี้สินเกษตรกรรวมทั้งนโยบายสาธารณะที่สาคัญของสังคม เช่น ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารที่ดิน ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า ร่าง พ.ร.บ.โฉนดชุมชน ซึ่งโครงการฯ หลักขององค์กรคือ:

1. โครงการพัฒนาและสื่อสารต้นแบบการปรับตัวของชาวนา – รณรงค์และสร้างความเข้าใจในแนวทางการปรับตัวของชาวนาสู่ระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการของหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และเพื่อพัฒนาและสื่อสารแนวทางการปรับตัวของชาวนาเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน ร่วมกับเครือข่ายชาวนาและเกษตรกรในพื้นที่
2. โครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นการสังเคราะห์องค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ในระดับพื้นที่สู่ข้อเสนอทางนโยบาย – สังเคราะห์องค์ความรู้แนวทางและรูปแบบการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในระดับพื้นที่ และพัฒนาข้อเสนอนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรรวมทั้งเพื่อหนุนเสริมกระบวนการทางานวิจัยท้องถิ่นของเกษตรกร

รายละเอียดงานและคุณสมบัติของอาสาสมัคร

ชื่อโครงการ: โครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นการสังเคราะห์องค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ในระดับพื้นที่สู่ข้อเสนอทางนโยบาย ซึ่งวัตถุประสงค์:
1. เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้แนวทางและรูปแบบการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในระดับพื้นที่
2. เพื่อพัฒนาข้อเสนอนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร
3. เพื่อหนุนเสริมกระบวนการทำงานวิจัยท้องถิ่นของเกษตรกร

อาสาสมัครมีทักษะในการพูดคุยแลกเปลี่ยนเก็บข้อมูล จับประเด็น บันทึกข้อมูล ติดต่อประสานงานพื้นที่เครือข่าย ลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามวัตถุประสงค์การวิจัย เขียนรายงานการดำเนินงาน สามารถเดินทางลงพื้นที่ต่างจังหวัด บางครั้งอาจต้องนอนค้างในพื้นที่ และทำงานร่วมกับชาวบ้าน กลุ่มเกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดี

พื้นที่ปฎิบัติงาน
1. กลุ่มส่งเสริมการเกษตรครบวงจร ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี และอำเภอ หันคา จังหวัดชัยนาท
2. กลุ่มเกษตรรวมใจ ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
3. กลุ่มพัฒนาเกษตรกรหมู่ 7 ตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

รับอาสาสมัคร 2 คน

—————————————————

 

9.โครงการปฏิบัติการเพื่อสิทธิคนจน (สมัชชาคนจน)

ที่อยู่ 666 ถนนเจริญนคร แขวงบางลำพูล่าง เขคคลองสาน กทม.

วัตถุประสงค์/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
องค์กรสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพิทักษ์ปกป้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ของคนจน โดยการปกป้องสิทธิคนจน กิจกรรมด้านเกษตร ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน ด้านการสนับสนุนองค์กรชุมชน การทำกิจกรรมร่วมกับนักศึกษา ร่วมปฏิบัติงานร่วมสมาชิกสมัชชาคนจนใน 36 จังหวัดทั่วประเทศ ส่วนมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกและภาคกลาง ซึ่งมีโครงการหลัก คือ

1. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำชาวบ้านเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน – ส่งเสริมความสามารถของผู้นำชาวบ้านที่อยู่ในสถานะเสี่ยงทางสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน เพื่อให้สามารถปกป้องสิทธิได้อย่างดีขึ้น มีความปลอดภัย และความรู้มากขึ้น โครงการจะส่งเสริมโอกาสของกลุ่มเป้าหมายให้สามารถแสวงหาการสนับสนุนจากสาธารณชน และสามารถทำข้อเรียกร้องที่อยู่บนฐานข้อเท็จจริง เพื่อเรียกร้องกับภาครัฐให้เคารพและทำให้เกิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชนให้กับกลุ่มเป้าหมายได้จริง และการเข้าถึงกฎหมายและความยุติธรรมในการปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วย
2. โครงการพัฒนาศักยภาพนักกิจกรรมนักศึกษาเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน – กระตุ้นและเพิ่มศักยภาพของนักกิจกรรมนักศึกษาให้มีส่วนร่วมในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยนครพนม ซึ่งการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ จะมีกฎหมายและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องจานวนมาก เช่น การทาประชาพิจารณ์ การปรับเปลี่ยนสถานะที่ดิน การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การขอใบอนุญาตก่อสร้างโรงงาน สาธารณูปโภคพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ฯลฯ แต่เพื่อเร่งกระบวนการให้เร็วขึ้น คสช. ได้ตัดสินใจที่จะใช้อานาจตามมาตร 44 ในการละเว้นกฎหมายและขั้นตอนบางประการที่เป็นอุปสรรคต่อนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ สิ่งที่ตามมาคือการขจัดไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในนโยบายที่จะส่งผลกระทบต่อตนเองอย่างหนัก ทำให้ประชาชนไม่สามารถได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษได้อย่างครบถ้วน จึงไม่ทราบว่าตนเองจะได้รับผลกระทบอย่างใดบ้าง ทั้งต่อการดำเนินชีวิต ที่ดิน การทำมาหากิน และชุมชน รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เพราะไม่อาจจะทราบได้ว่าจะมีอุตสาหกรรมใดบ้างที่จะมาตั้งในเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ จึงเห็นความจำเป็นที่จะพัฒนาศักยภาพของนักกิจกรรมนักศึกษาในพื้นที่ เพื่อที่พวกเขาจะสามารถสื่อสารกับชาวบ้านในพื้นที่ได้ และได้สนับสนุนการต่อสู้ของชาวบ้านเพื่อปกป้องสิทธิในระยะยาวต่อไปได้อย่างดียิ่งขึ้น

ชื่อโครงการ: โครงการปฏิบัติการเพื่อสิทธิคนจน

วัตถุประสงค์: สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพิทักษ์ปกป้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ของคนจน

กิจกรรมของโครงการ:
1. ติดตามและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของชาวบ้าน
2. การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน การบริหารจัดกลุ่ม ตลอดจนการดำเนินการใดๆ อันนาไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ปฏิบัติงาน
3. สร้างความรู้เข้าใจด้านสิทธิมนุษยชน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเฝ้าระวังการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ปฏิบัติงาน

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
สมาชิกสมัชชาคนจนใน 36 จังหวัดทั่วประเทศ ส่วนมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกและภาคกลาง

รายละเอียดงานและคุณสมบัติของอาสาสมัคร
1. จัดอบรมหรือให้ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนจน
2. ประสานงานและทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความ เพื่อให้ความเหลือด้านกฎหมายแก่สมาชิกสมัชชาคนจน
3. จัดเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการต่อสู้คดี ติดตามความเคลื่อนไหวด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนจน วางแผนการดำเนินงานในพื้นที่ร่วมกับองค์กรและทีมปฏิบัติงาน พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำเดือน
4. อาสาสมัครมีความรู้ด้านกฎหมาย มีความสนใจ และต้องการเรียนรู้การทำงานร่วมกับชาวบ้านได้ สามารถเดินทางได้อย่างคล่องตัว อดทนต่อความยากลำบาก สามารถกินอยู่ตามวิถีของชาวบ้าน และพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงานได้

รับอาสาสมัคร 2 คน

—————————————————

 

10.สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

ที่อยู่ 109 ซอยสิทธิชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
เวปไซต์  http://naksit.net/th หรือ https://www.facebook.com/naksit.org/?hc_ref=SEARCH    

วัตถุประสงค์ และกิจกรรม ขององค์กร
วัตถุประสงค์และภารกิจ
1. ส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน
2. ส่งเสริมการศึกษาและเผยแพร่สิทธิมนุษยชนให้เป็นที่ยอมรับในสังคม ให้ประชาชนตื่นตัว และยึดถือปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชน
3. เสริมสร้างนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและเครือข่ายนักสิทธิมนุษยชนให้กว้างขวาง มีสถานะและบทบาทเป็นที่ยอมรับในสังคม
4. ส่งเสริมและคุ้มครองการเข้าถึงความยุติธรรม สิทธิเสรีภาพของประชาชนและสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสามารถร้องเรียน ดาเนินมาตรการทางกฎหมาย ฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งรับมอบอานาจดำเนินคดี หรือดำเนินการใด ๆ ในทางกฎหมาย แทนบุคคลต่าง ๆ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สนส.
5. ส่งเสริมการรณรงค์และผลักดันนโยบายและกฎหมาย ด้านสิทธิมนุษยชน
6. ร่วมมือกับภาครัฐและภาคประชาสังคม เพื่อดาเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สนส
สมาคมมีการดำเนินกิจกรรมเป็น 3 ส่วนหลัก คือ
1. งานเสริมสร้างศักยภาพและเครือข่าย มีงาน 2 ส่วนหลักคือ
1.1 งานเครือข่ายมหาวิทยาลัยและส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชน โดยทำงานกับกลุ่มเป้าหมายเป็นอาจารย์และนักศึกษาคณะนิติศาสตร์และคณะอื่นๆที่สนใจ ผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ อาทิ การประชุมสัมมนา การลงพื้นที่เรียนรู้ การลงพื้นที่สนับสนุนงานภาคประชาชน
1.2 จัดอบรมเสริมสร้างศักยภาพนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เพื่อเผยแพร่แนวคิดและเสริมสร้างศักยภาพด้านการใช้กฎหมายและการดำเนินคดีเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนให้แก่นักกฎหมาย หรือทนายความที่สนใจงานด้านสิทธิมนุษยชน
2. งานคดียุทธศาสตร์และคดีสิทธิมนุษยชน เป็นการดำเนินการทางกฎหมายและคดีเพื่อช่วยเหลือ ประชาชนหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยทา งานร่วมกับนักกฎหมาย ทนายความ นักพัฒนาเอกชนและชุมชน ฯลฯ เพื่อสร้างให้เกิดบรรทัดฐานทางกฎหมายที่คำนึงถึงหลักนิติธรรม และหลักการด้านสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน
3. งานวิชาการและรณรงค์ เป็นการทำงานด้านข้อมูล การศึกษาค้นคว้าและวิจัย การจัดงานทางวิชาการ เพื่อผลักดันการใช้และการตีความกฎหมายที่คำนึงถึงหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน
รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการที่ขอรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
ชื่อโครงการ ฟื้นฟูและสร้างความเข็มแข็งของหลักการสิทธิมนุษยชนและนิติธรรมในระบบกฎหมาย
วัตถุประสงค์ เพื่อทำให้ระบบกฎหมาย ทั้งการร่างกฎหมาย การบังคับใช้ และการตีความกฎหมาย สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนและนิติธรรม
กิจกรรม ทำฐานข้อมูลและสื่อสารสาธารณะ
กลุ่มเป้าหมายของโครงการ ประชาชนทั่วไป
รายละเอียดงานที่จะให้อาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
1. ติดตามสถานการณ์และจัดทำฐานข้อมูลกฎหมายและสิทธิมนุษยชน
2. ลงพื้นที่ทากิจกรรม
3. ทำการสื่อสารสาธารณะ
หน้าที่หลักของอาสาสมัคร
1. ติดตามสถานการณ์และจัดทำฐานข้อมูลกฎหมายและสิทธิมนุยยชน
2. ลงพื้นที่ทำกิจกรรม
3. ทำการสื่อสารสาธารณะ
4. สนับสนุนงานด้านอื่นๆของสมาคมฯ
รับอาสาสมัคร: 1 คน

—————————————————

 

11. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ (NDF)

ที่อยู่ 77/1 หมู่ 5 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
เวปไซต์ http://www.landjustice4thai.org/

วัตถุประสงค์/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
มูลนิธิฯส่งเสริมศักยภาพและกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในการเคลื่อนไหวทางสังคมด้านสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชนเพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาด้านที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ และส่งเสริมกระบวนการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การยอมรับในสิทธิการจัดการที่ดินและทรัพยากรโดยชุมชน โดยมีกฏหมายรองรับอย่างเป็นธรรม ซึ่งกิจกรรมหลักเฉพาะองค์กร ได้แก่ การสร้างความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้กับสมาชิกชุมชนในเครือข่ายการทำงา (9 จังหวัดภาคเหนือ) การประสานความร่วมมือในระดับเครือข่ายกับองค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรอิสระ เครือข่ายภาคประชาชน เช่น P-Move, องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม, คณะกรรมการด้ารสิทธิมนุษยชน, เครือข่ายนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ, หน่วยงานรัฐในระดับท้องถิ่นและส่วนกลาง เช่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หน่วยงานระดับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง, ภาคเอกชน ทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติเพื่อผลักดันแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมทั้งกิจกรรมรณรงค์ เผยแพร่ข้อมูล องค์ความรู้ให้กับสาธารณะ เพื่อสร้างความเข้าใจในประเด็นปัญหาของเกษตรกรรายย่อยและประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐและสร้างแนวร่วมทางสังคมผ่านการสื่อสารด้วยสื่อที่หลายรูปแบบ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิดิโอ โซเชียลมีเดีย กิจกรรมทางสังคม ฯลฯ

ปัจจุบันมูลนิธิฯ ดำเนินการภายใต้แนวทางการแก้ขปัญหาที่ดินและทรัพยากร โดยมีงาน 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
1. พัฒนาศักยภาพเครือข่ายเกษตรกรรายย่อยภาคเหนือของประเทศไทย ให้มรความเช้มแข็ง มีการจัดการองค์ความรู้ มีเทคนิคการดำเนินงานและบริหารจัดการเครือข่ายอย่างโปร่งใส เป็นระบบ มีอำนาจต่อรอง และสามารถเป็นหนึ่งในองค์กรนำในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายชาติ
2. ส่งเสริมกระบวนการที่มีส่วนร่วมและการปรับตัวของเกษตรกรรายย่อยในภาคเหนือของไทย ในการสร้างพื้นที่รูปธรรมในการดูแล จัดการที่ดิน, ทรัพยากรธรรมชาติ, ระบบเกษตรกรรมที่สมดุลกับสภาพแวดล้อม
3. รณรงค์ สร้างความตระหนักและความเข้าใจแก่สาธารณะชน ต่อประเด็นปัญหาของเกษตรกรรายย่อย โดยเฉพาะเรื่องสิทธิ ความเลื้อมล้ำและความเป็นธรรม ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือนโยบายของประเทศ

ชื่อโครงการ: ส่งเสริมสิทธิในการจัดการที่ดินและทรัพยากรของเครือข่ายเกษตรกรรายย่อยภาคเหนือ

วัตถุประสงค์
1. สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายเกษตรกรรายย่อยภาคเหนือ ในการดูแลจัดการที่ดินและทรัพยากร พัฒนาศักยภาพในการแก้ไขปัญหาของตนเอง
2. ผนึกพลังเครือข่านภาคประชาชนในการรณรงค์ผลักดันการแก้ไขปัญหาด้สนที่ดินและทรัพยากรในระดับนโยบาย

กิจกรรม:
1. จัดอบรมปฎิบัติการพัฒนาศักยภาพกลไกการทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการเครือข่ายเกษตรกรระดับภาค ให้มีบทบาทสร้างความเข้มแข็งให้กับสมาชิกชุมชน และจัดเวทีสัมมนาร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคมในการติดตามสถานการณ์ ร่วมวิเคราะห์และวางแผนการขับเคลื่อนแผนงานระดับนโยบาย
2. รณรงค์เผยแพร่ความเข้าใจและสร้างความตระหนักประเด็นสิทธิชุมชนให้กับสังคม โดยการจัดเวทีสาธารณะ รณรงค์เชิงสัญลักษณ์ เวทีเผยแพร่ข้อมูล ผลิตสื่อรณรงค์เผยแพร่ เป็นต้น
3. ผลักดันการเปลี่ยนแปลงกฏหมายและนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหาด้านที่ดินและทรัพยากร เช่น เวทีอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อการปรับตัว เวทีสัมมนาพัฒนาการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการปฎิรูปที่ดินและทรัพยากร โดยเชื่อมประสานกับภาคประชาสังคม เป็นต้น

รายละเอียดงานและคุณสมบัติของอาสาสมัคร
1. ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สนาม เพื่อเข้าไปปฎิบัติงานในชุมชน เช่น การจัดประชุม การเก็บข้อมูลในระดับชุมชน การประสานงานกิจกรรม
2. ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่รณรงค์ สื่อสาธารณะ เช่น การสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้จัดทำสื่อ การค้นหาข้อมูลมือสองที่จำเป็น การผลิตสื่อเผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย จัดกิจกรรมรณรงค์
3. ผู้ช่วยงานข้อมูล งานวิชาการ เช่น การค้นหา ติดตามข้อมูลระดับนโยบายที่สำคัญ การสังเคราะห์ข้อมูลความเคลื่อนไหวระดับนโยบาย จัดทำข้อมูลสรุป จัดทำงานนำเสนอ
4. อาสาสมัครมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหากับชุมชน มีความมุ่งมั่น อดทนต่อการทำงาน มีไมตรีจิตที่ดีต่อผู้ร่วมงาน สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ร่วมงาน สามารถบริหารจัดการตารางชีวิตได้ดี เนื่องจากการทำงานลงพื้นที่อาจใช้ระยะเวลาหลาบวันและอาจต่อเนื่องจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง

พื้นที่ปฎิบัติงาน
เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน ตาก

รับอาสาสมัคร 1 คน

—————————————————

12.มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา

ที่อยู่ เลขที่ 91 หมู่ 2 ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จ. พะเยา 56000
เวปไซต์ http://www.phayaocivil.com/

วัตถุประสงค์/กิจกรรม/กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
1. สนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนมีการศึกษาเกิดจิตสำนึกและมีศักยภาพในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค การพัฒนาสถาบันครอบครัว รวมทั้งฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
2. ส่งเสริมและพัฒนาสื่อสาธารณะเพื่อรณรงค์การมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรชุมชนให้มีความเข้มแข็งเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
3. ให้ความช่วยเหลือ และสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา ทำงานหลายประเด็น แต่งานที่ต้องการรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน คืองานด้านคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ภายใต้ “ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค” ซึ่งมีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ความรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องสิทธิผู้บริโภค และรับเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิในทุกด้าน เช่น บริการสาธารณสุข สินค้าและบริการ โทรคมนาคม อาหารและยา พัฒนาฐานระบบข้อมูล และการจัดการความรู้ รวมทั้งการส่งเสริมการมีส่วนร่วมเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเพื่อนาไปสู่การผลักดันเชิงนโยบาย ในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัดและในระดับชาติ ซึ่งกระบวนการทำงานที่สำคัญของการทำงาน คือ

1) การพัฒนาศักยภาพแกนำาเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดพะเยาเพื่อขับเคลื่อนการทำงาน 9 อำเภอ
2) การรับเรื่องร้องเรียนและประสานการแก้ไขปัญหา
3) การพัฒนาการเชื่อมและสร้างภาคีความร่วมมือในการผลักดันนโยบายจังหวัดเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
4) การส่งเสริมให้เด็กนักเรียนและผู้ปกครองเลือกบริโภคขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มผสมน้าตาลเพื่อให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ
5) การส่งเสริมการพัฒนารถโดยสารสาธารณเพื่อให้มีความปลอดภัยในการเดินทาง

ชื่อโครงการ
พัฒนาองค์กรผู้บริโภคคุณภาพ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภาคเหนือ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพให้กับองค์กรผู้บริโภคที่จะพัฒนาให้เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ
2. เพื่อพัฒนาให้องค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภคสามารถพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาปัจจัยเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
3. เพื่อสร้างความร่วมมือและขับเคลื่อนร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายในการพัฒนารูปแบบกลไกการเฝ้าระวังและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคที่เน้นการมีส่วนร่วม

กิจกรรม
1. ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลของแต่ละองค์กรที่จะพัฒนาให้เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนและกระบวนการทำงานร่วมกับทีมทางานขององค์กร
2. พัฒนาศักยภาพให้กับองค์กรผู้บริโภคเพื่อให้เป็นองค์กรที่มีคุณภาพและเข้มแข็ง
3. การประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การพัฒนาองค์กร และสถานการณ์การทำงานคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค อย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือน
4. สรุปบทเรียนการทางานระดับภาคร่วมกันระหว่างทีมทำงาน และองค์กรภาคีเครือข่ายที่ร่วมกันทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคปีละ 1 ครั้ง
5. จัดทำรายงานภาพรวมทั้งหมดของโครงการ เผยแพร่สู่สาธารณชน ให้เกิดความเข้าใจต่อการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น
6. พัฒนาแกนนำภาคประชาชนขององค์กรและเครือข่ายผู้บริโภคในพื้นที่ระดับจังหวัดให้เป็นอาสาสมัครในการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. การเฝ้าระวัง รับเรื่องร้องเรียน แก้ไขปัญหาของผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพเฉลี่ยเดือนละ 4 เรื่องต่อจังหวัด
8. สนับสนุนการสื่อสารสาธารณะและรณรงค์เพื่อสร้างความตื่นตัวให้กับผู้บริโภคในการเท่าทันสื่อโฆษณา ตลอดจนสนับสนุนการขับเคลื่อนให้มีกฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคโดยผ่านหลากหลายรูปแบบและช่องทาง
9. จัดประชุม แสวงหาความร่วมมือและปรึกษาหารือ ร่วมกับเครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่น ผู้ประกอบการสื่อในพื้นที่
10. จัดตั้งและพัฒนากลไกความร่วมมือในรูปแบบของ “สภาผู้บริโภคจังหวัด” เพื่อทำงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพระดับจังหวัด โดยทำหน้าที่รวบรวมปัญหา หาแนวทางการแก้ไข
11. จัดทำแผนคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในระดับจังหวัด จำนวน 5 จังหวัดโดยสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายจังหวัด
12. จัดให้มีกิจกรรมเวทีสภาผู้บริโภคระดับจังหวัด อย่างน้อยจำนวน 2 ครั้ง/จังหวัด เพื่อเป็นการขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเด็นต่างๆ

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
1. แกนนำองค์กรและเครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชน
2. กลุ่มและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคที่ทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
3. เครือข่ายนักวิชาการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภค
4. เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม

ชื่อโครงการ
เสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้บริโภคเพื่อพัฒนารถโดยสารสาธารณะที่ปลอดภัย ภาคเหนือ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกผู้บริโภคในการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพและยกระดับมาตรฐานรถโดยสารสาธารณะปลอดภัย
2. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในการป้องกัน เฝ้าระวังและเยียวยาความเสียหาย ที่เกิดจากการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะทั่วไป
3. เพื่อพัฒนาและผลักดันนโยบาย มาตรการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเพื่อรถโดยสารสาธารณะปลอดภัย

กิจกรรม:
1. ศึกษา สำรวจ รวบรวมและจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัญหาและทัศนคติต่อการใช้รถโดยสารสาธารณะของโรงเรียนคือรถรับส่งนักเรียน/รถรับจ้างรับส่งนักเรียน จากนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและผู้ประกอบการ
2. พัฒนาความร่วมมือกับสถานศึกษา (โรงเรียนและชมรมผู้ปกครอง) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนารถโดยสารสาธารณะที่ปลอดภัย
3. จัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจและคืนข้อมูลจากการศึกษาให้กับสถานศึกษาและอปท. รวมทั้งองค์กรที่เกี่ยวข้อง และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหารถโดยสารสาธารณะร่วมกัน
4. สร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะในสถานศึกษาและอปท. โดยการจัดประชุมเพื่อให้ข้อมูล ความรู้ และความเข้าใจต่อสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการมีรถโดยสารสาธารณะที่ไม่ปลอดภัย การหาแนวทางและวางแผนการพัฒนาให้เกิดรถโดยสารสาธารณะที่ปลอดภัยในพื้นที่ รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจด้วยการมอบรางวัลและเกียรติบัตรสำหรับผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะดีเด่น
5. พัฒนาให้เกิดกลไกเฝ้าระวังรถโดยสารสาธารณะในสถานศึกษาร่วมกับครู นักเรียนและชมรมผู้ปกครอง
6. อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครองค์กร/เครือข่ายผู้บริโภคในพื้นที่เพื่อให้เป็นอาสาสมัครเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านรถโดยสารสาธารณะ
7. สนับสนุนการพัฒนาช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนและการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านรถโดยสารสาธารณะระดับจังหวัด
8. พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดกลไก/คณะทำงานเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านรถโดยสารสาธารณะ ระดับจังหวัด
9. จัดเวที “สภาผู้บริโภคระดับจังหวัด” เพื่อร่วมกันสะท้อนสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่และร่วมกันหาทางออกเพื่อพัฒนาเป็นข้อเสนอที่ชัดเจนจากระดับพื้นที่ของผู้เกี่ยวข้องทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ และประชาชนที่เป็นผู้ใช้บริการ
10. รณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตื่นตัวให้กับประชาชนในการเลือกใช้รถโดยสารสาธารณะที่ปลอดภัย โดยผ่านช่องทางสื่อที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นช่องทางวิทยุกระแสหลัก วิทยุท้องถิ่นและโทรทัศน์ของท้องถิ่น การใช้ Social Media ผ่านกลุ่มไลน์ ทาคลิปสั้น การร่วมกิจกรรมรณรงค์ในวันสาคัญ ตลอดจนการทาแผ่นพับ และสติกเกอร์

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
1. ทีมทางานและแกนนำองค์กรและเครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชนที่เป็นอาสาสมัครศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัด
2. โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่เป็นโรงเรียนระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จานวน 2 อำเภอ
3. ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย
4. หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านรถโดยสารสาธารณะและการคุ้มครองสิทธิภาคประชาชน เช่น สำนักงานขนส่งจังหวัด บริษัทกลางผู้ประสบภัยจากรถ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สำนักงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หน่วยบริการด้านสุขภาพทั้งระดับโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิระดับจังหวัด สำนักงานยุติธรรมจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะและ หน่วยกู้ชีพ/กู้ภัย เป็นต้น
5. เครือข่ายนักวิชาการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านรถโดยสารสาธารณะ เช่น สอจร.ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยนเรศวร

รายละเอียดงานและคุณสมบัติของอาสาสมัคร
1. สามารถดำเนินงานตามแผนงานโครงการที่ระบุไว้
2. สนับสนุนและเรียนรู้การทำงานร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่ขององค์กร
3. การสนับสนุนงานที่เกี่ยวข้องกับด้านกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน
4. ประสานการดำเนินงานกับกลุ่มเป้าหมายตามแผนงานที่กำหนดร่วมกัน
5. สรุปผลการดำเนินงานและบทเรียนการทำงานที่เกิดขึ้น

รับอาสาสมัคร 1 คน

—————————————————

13.สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) Southern Peasants’Federation of Thailand  [SPFT ]

ที่อยู่  634/2 ถนนหน้าเมือง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เพจเฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้-สกต

1.วัตถุประสงค์ และกิจกรรม ขององค์กร
1.1วัตถุประสงค์
1) เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มและสร้างพลังของเกษตรกรรายย่อย และแรงงานไร้ที่ดิน
2) เพื่อเผยแพร่และรณรงค์เรียกร้องในประเด็น สิทธิของเกษตรกรรายย่อยและแรงงานไร้ที่ดิน
3) เพื่อรณรงค์ให้มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
4) เพื่อจัดตั้งชุมชนและสร้างความมั่นคงในชีวิตของเกษตรกรรายย่อยและแรงงานไร้ที่ดิน
5) เพื่อรณรงค์ให้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายการถือครองที่ดิน การเก็บภาษีที่ดิน  อัตราก้าวหน้า การรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ
6) เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้มีการปกป้องคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

1.2 กิจกรรม
1) จัดการศึกษาเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย
2) จัดตั้งชุมชนต้นแบบที่ดำเนินการบริหารจัดการที่ดินตามแนวทางสิทธิร่วมของชุมชนหรือโฉนดชุมชน [ Collective land based on community rights ]
3) จัดตั้งสหกรณ์การเกษตร เป็นฐานให้การสนับสนุนทางเศรษฐกิจให้กับสมาชิก
4) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวสภาพปัญหา ผลกระทบจากการดำเนินนโยบายของรัฐ และข้อเรียกร้องของสมาชิก สกต.
5) การแสดงทัศนะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ดิน สิทธิเกษตรกร สิทธิชุมชน สิทธิทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิทธิทางการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตย
6) กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม และการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเกษตรกรรายย่อย และแรงงานไร้ที่ดิน เช่น การให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายและคดีความ การยื่นข้อเสนอเจรจาต่อรองกับหน่วยงานภาครัฐและหรือรัฐบาล
7) งานพัฒนาศักยภาพสตรี และคนรุ่นใหม่
8) การประสานงานกับเครือข่ายพันธมิตร และแนวร่วม ทั้งในและต่างประเทศ
9) การศึกษาวิจัย

กิจกรรม หรือโครงการที่องค์กร ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ทำงานเกี่ยวกับประเด็น สิทธิเกษตรกร สิทธิในที่ดิน โดยให้ความสนใจกรณีที่ดินสวนปาล์มรายใหญ่ที่ถือครองที่ดินของรัฐโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น ที่ดินหมดสัญญาเช่า ที่ดินที่ทำผิดเงื่อนไขการสัมปทาน การบุกรุกที่ดินของรัฐโดยบริษัทธุรกิจเอกชนรายใหญ่ ที่ดินสวนปาล์มเอกชนปล่อยทิ้งร้าง และที่ดิน ส.ป.ก. ที่นายทุนบุกรุกเข้าทำประโยชน์  โดยการเข้าตรวจสอบพื้นที่และนำที่ดินดังกล่าวมาเสนอให้รัฐนำมาปฏิรูปและกระจายสิทธิการถือครองที่ดิน ในรูปแบบของ “ โฉนดชุมชน” หรือระบบสิทธิร่วมของชุมชน โดยให้เกษตรกรได้มีโอกาสในการก่อตั้งชุมชนใหม่เพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ สร้างที่อยู่อาศัยและมีที่ดินทำการเกษตรอย่างทั่งถึง เท่าเทียมและเป็นธรรม และร่วมกันบริหารจัดการที่ดินตามแนวทางโฉนดชุมชนบนพื้นฐานของสิทธิชุมชน โดยทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างระบบการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อป้องกันที่ดินหลุดมือ กลับไปเป็นของนายทุน และคาดหวังว่าที่ดินเหล่านั้นสามารถเป็นมรดกตกทอดให้กับลูกหลานในอนาคตด้วย

2.รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการที่ขอรับอาสาสมัครไปปฏิบัติงาน (2 โครงการ)
2.1 ชื่อโครงการ : พัฒนาระบบฐานข้อมูล และศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลขององค์กรและพัฒนาสารสนเทศที่พร้อมเผยแพร่

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสำรวจ ศึกษาค้นคว้า รวบรวม และจัดระบบข้อมูลด้านต่างๆ ของทุกชุมชนที่เป็นสมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) รวมทั้งพัฒนาให้เป็นสารสนเทศพร้อมใช้อ้างอิง และหรือใช้เผยแพร่
2. เพื่อรวบรวมข้อมูล [Data] ที่เกี่ยวกับคดีความและพัฒนาเป็นสารสนเทศ [Information] กรณีชุมชนคลองไทรพัฒนา ชุมชนก้าวใหม่ ชุมชนน้ำแดงพัฒนา
3. เพื่อสืบค้น รวบรวมและจัดทำข้อมูลและหรือสารสนเทศ ที่ใช้ในการรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน กรณีฉุกเฉินเร่งด่วนตามสถานการณ์ รวมทั้งข้อมูลที่ต้องใช้ประกอบการเจรจาต่อรองรายกรณี

กิจกรรม
1. ศึกษาค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการต่างๆ เช่น การสัมภาษณ์
2. วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ข้อมูล
3. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า
4. ผลิตเอกสาร
5. เขียน และหรือผลิตสื่อต่างๆเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ (บางเรื่อง)
6. กิจกรรมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
7. กิจกรรมอื่นๆ ที่อาสาสมัครและหรือองค์กรเห็นสมควร

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
1. สมาชิก สกต.
2. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ
3. นักศึกษา
4. แนวร่วมของ สกต.
5. บุคคลทั่วไป

2.2 ชื่อโครงการ : จัดตั้งกลุ่มนักศึกษาและพัฒนาศักยภาพเพื่อทำงานรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย

วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยให้กับนักศึกษา
2. เพื่อสื่อสารเรื่องราวการต่อสู้เรียกร้องสิทธิในที่ดินและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรให้นักศึกษาเข้าใจ
3. เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษามีบทบาททางสังคมในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
4. เพื่อสร้างเครือข่ายที่ทำงานสนับสนุนการดำเนินงานของ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.)

กิจกรรม
1. นิทรรศการภาพถ่ายนักปกป้องสิทธิที่เสียชีวิตจากการปกป้องสิทธิของชุมชน
2. นิทรรศการภาพถ่าย การปฏิรูปที่ดินและการบริหารจัดการที่ดินตามแนวทางโฉนดชุมชนของสมาชิก สกต.
3. ค่ายเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน
4. ค่ายฝึกฝนเยาวชนนักสิทธิมนุษยชน
5. ให้อาสาสมัครมีส่วนร่วมในการคิดงานด้วย อย่างน้อย 1 โครงการ

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
1. นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ หรือคณะอื่นๆ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
2. นักกศึกษาคณะนิติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ หรือคณะอื่นๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

3. รายละเอียดงานที่จะให้อาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
3.1 ลงพื้นที่ศึกษาชุมชน วิเคราะห์ชุมชน และการเคลื่อนไหวของ สกต.ทั้ง 5 ชุมชน
3.2 งานข้อมูลและการผลิตสารสนเทศ ในรูปแบบต่างๆ
3.3 จัดตั้งกลุ่มและพัฒนาศักยภาพนักศึกษาเพื่อทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครในการส่งเสริมและรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน
3.4 ถ้ามีอาสาสมัครเลือกมาทำงานกับ สกต. แล้วจึงประชุมวางแผนการปฏิบัติงาน การฝึกฝน การเรียนรู้ร่วมกันน่าจะดีกว่า สอดคล้องกับความเป็นจริงมากกว่า

4. หน้าที่หลักของอาสาสมัคร
โครงการ ที่ 1 งานหลัก คือ งานข้อมูลและสารสนเทศ
โครงการ ที่ 2 งานหลัก คือ งานจัดตั้งและพัฒนาศักยภาพ

5. พื้นที่ปฏิบัติงาน   (ระบุชื่อหมู่บ้าน ตำบล  อำเภอ จังหวัด)
พื้นชุมชนที่เป็นสมาชิก สกต. ในเขต ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี  4  ชุมชน คือ ชุมชนคลองไทรพัฒนา ชุมชนเพิ่มทรัพย์ ชุมชนก้าวใหม่ ชุมชนน้ำแดงพัฒนา และตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 ชุมชน  คือ ชุมชนสันติพัฒนา
– คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
– คณะนิติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ หรือคณะอื่นๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คุณสมบัติอาสาสมัครที่จำเป็นสำหรับโครงการที่จะขอรับ
1) มีความสนใจในการศึกษาเรียนรู้เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้เพื่อเรียกร้อง และเพื่อปกป้องสิทธิของเกษตรกรรายย่อย แรงงานไร้ที่ดิน และคนจน
2) มีความสนใจเกี่ยวกับ ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคม
3) มีทรรศนะและจุดยืนทางการเมืองอยู่ในฝ่ายประชาธิปไตย พร้อมทั้งเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยและหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน
4) มีความอดทนในการทำงาน และพร้อมฝึกฝนตนเองท่ามกลางการปฏิบัติ
5) มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบในการทำงาน
6) มีทักษะในการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และทักษะในการเขียน เพื่อการสื่อสารกับสาธารณชน
7) สามารถยอมรับการสำรวจวิจารณ์ และการชี้แนะจากเพื่อนร่วมงานได้

รับอาสาสมัคร 2 คน (สำหรับ 2 โครงการ)

—————————————————

14. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(มพยง) Sustainable Development Foundation (SDF)

ที่อยู่  86 ซอยลาดพร้าว 110 (แยก 2) ถนนลาดพร้าว แขวง/เขต วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
เว็บไซต์ http://www.sdfthai.org

สถานที่ปฏิบัติงาน
ทั่วประเทศ ภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ภาคตะวันออก อ่าวตราด จังหวัดตราด จันทบุรี ภาคกลาง ลุ่มน้ำเพชรบุรี ฉะเชิงเทรา ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน 

วัตถุประสงค์ขององค์กร

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มคนด้อยโอกาส ชาวประมงพื้นบ้าน กลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อสิทธิชุมชน ในการกำหนดวิถีชีวิตของตนเอง ปัจจุบันมูลนิธิฯ มีแผนการทำงานในด้านการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและกระบวนการประชาธิปไตยต่อการจัดทำแผนการรองรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ และการตั้งรับปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้น

กิจกรรมหรือโครงการที่องค์กร ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยการเผยแพร่ข้อมูล เก็บรวบรวมองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนจัดเวทีทำความเข้าใจกับ กลุ่มชาวประมงในพื้นที่ทำงาน ตลอดจนกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ทำงาน

รับอาสาสมัครไปปฏิบัติงานภายใต้ 2 โครงการ คือ

โครงการที่ 
1 : 
Towards an Ecosystem-based  Approach to Fisheries Management in Trat Bay
แนวทางการจัดการประมงบนฐานระบบนิเวศ ในพื้นที่อ่าวตราด

วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรประมงบนฐานระบบนิเวศ รวมถึงศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่อย่างเท่าเทียมทั้งหญิงและชาย และนำไปสู่การตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กิจกรรม
จัดประชุมทำความเข้าใจ จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สรุปบทเรียนการทำงานกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ และส่งเสริมกลุ่มเยาวชน

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ชาวประมง ชาวบ้านหญิง ชาย ตลอดจนเยาวชนในพื้นที่เป้าหมายโครงการ

โครงการที่ 2 การจัดการความรู้เรื่องการรุกรับปรับตัวของชุมชนในพื้นที่ปลายน้ำลุ่มน้ำเพชรบุรีท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

วัตถุประสงค์/ กิจกรรม
สร้างความรู้ความเข้าใจกับหน่วยงานในจังหวัดเพชรบุรีเกี่ยวกับผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการบริหารจัดการลุ่มน้ำ เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงบูรณาการรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด และต่อยอดงานวิจัยขยายผลให้เกิดการตระหนักรู้นำสู่การปฏิบัติการจริงของเจ้าหน้าที่รัฐ ชุมชนในพื้นที่อำเภอบ้านแหลม และพัฒนาให้เป็นพื้นที่ตัวอย่าง

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
หน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัด และอำเภอในจังหวัดเพชรบุรีและที่เกี่ยวข้อง / องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ / องค์กรชุมชนในพื้นที่

 รายละเอียดงานที่จะให้อาสาสมัครไปปฏิบัติงาน
เก็บรวบรวมบันทึกข้อมูลทรัพยากร งานอาชีพ สถิติ การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร และองค์ความรู้ในพื้นที่ทำงาน จัดเวทีในชุมชนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การทำโครงการ รวมไปถึงงานส่งเสริมเยาวชนในพื้นที่ต่อเนื่องในงานด้านอนุรักษ์ในชุมชนบ้านเกิด / ลงพื้นที่ และจัดเวทีทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ดำเนินงาน ให้รู้ถึงความเป็นจริงของผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้น และนำสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการและนำสู่การปฏิบัติการจริง

หน้าที่หลักของอาสาสมัคร
ติดต่อสื่อสาร ประสาน สัมพันธ์ กับชุมชนในพื้นที่ทำงาน เพื่อนำมาซึ่งการเก็บรวบรวมบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวกับงานโครงการ ตลอดจนการจัดทำเป็นบันทึกรายงาน ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี

พื้นที่ปฏิบัติงาน
โครงการที่ 1 พื้นที่ทำงานในตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด และตำบลแหลมกลัด อำเภอแหลมกลัด จังหวัดตราด
โครงการที่ 2 อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

หมายเหตุ : สถานที่ทำงานหลักคือ สำนักงานเลขานุการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ถนนลาดพร้าว กรุงเทพฯ แต่ในการลงพื้นที่ทำงาน จะเป็นพื้นที่ปฏิบัติงานของแต่ละโครงการ

ความคาดหวังต่ออาสาสมัครที่รับเข้าทำงานในโครงการ
มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ ตลอดจนมีความอดทนต่อสภาพการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ปฏิบัติงาน อันจะนำมาซึ่งการบรรลุวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการของมูลนิธิฯ และตลอดจนจนจบวาระอาสาสมัครโครงการ
1. มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถทำงานเป็นทีม สามารถประสานงานกับหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน องค์กรชุมชนได้ดี
2. สามารถการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน พิมพ์งานได้ดีทั้งภาษาไทย (และภาษาอังกฤษได้ด้วยจะดีมาก)
3. สรุปบันทึกประเด็นการทำงานได้ และหากเขียนรายงานได้จะดีมาก
4. เข้าใจภาษาอังกฤษ และสื่อสารเบื้องต้นได้
5. มีความคล่องตัวในการไปต่างจังหวัดเพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่ทำงานของมูลนิธิฯ เป็นเวลาหลายวันได้
6. มีความสนในในการพัฒนางานองค์กรเพื่อสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมแห่งการคุ้มครองสิทธิ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส สู่พัฒนาที่ยั่งยืนได้ต่อไป

รับอาสาสมัคร 2 คน 

—————————————————

คลิ๊กดู—>รายละเอียดการรับสมัคร และดาวน์โหลดใบสมัคร นักสิทธิฯ รุ่น 12

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai