ประกาศ

เปิดรับอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน รุ่น 18 (วันนี้ - 29 ก.พ. 67)

ลงชื่อเข้าร่วมในแถลงการณ์จากกลุ่มภาคีนิติธรรมพลเมือง "สารถึงคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญ และคำเรียกร้องต่อศาลเพื่อทรงสถิตยุติธรรม"

กลุ่ม @BeachForLifeTH เเละขบวนประชาชนทวงคืนชายหาด 91 องค์กร ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนชายหาดจากการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น

#ดงมะไฟ ไม่ใช่เหมืองธรรมดา แต่เป็นเหมืองที่ยึดคืนจากรัฐและนายทุน❗️การต่อสู้ของเครือข่ายชาวบ้านกินเวลานานกว่า 27 ปี

สื่อ The Reporters รายงานมีผู้ลี้ภัยจีนถูกจับหน้าสถานทูตจีน ระหว่างชูป้ายประท้วงประธานาธิบดีจีน ระหว่างประชุมเอเปค ฐานเข้ามาในไทย

ด่วน 10.06 น. ✍️ ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แซม พรชัย, แม็ก สินบุรี และมิกกี้บัง สามสมาชิก #ทะลุฟ้า โดยให้วางหลักประกันคนละ 100,000 บาท

สมบัติ ทองย้อย ? ถูกคุมขังย่างเข้า 200 วัน หรือนานกว่าครึ่งปีแล้ว! ในคดี ม.112 กรณีโพสต์ #เก่งมากกล้ามากขอบใจ และอีก 2 ข้อความ

สากีมันเป็นนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนที่เกิดในครอบครัวมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ประสบการณ์ในวัยเด็กของเขาคือการได้คลุกคลีกับปัญหาการกดขี่เอารัดเอาเปรียบและปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ ลุงของเขามีอาชีพเป็นทนายความ เขาจึงได้พบเจอผู้คนมากหน้าหลายตาที่เข้ามาขอความช่วยเหลือจากลุงของเขา ภาพเหล่านี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้เขาในการมุ่งมั่นกับการเรียนกฎหมาย

สากีมันเรียนจบกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เขาเป็นสมาชิกของกลุ่มนักกฎหมายมุสลิม เขาเคยได้พบกับทีมงานของทนายสมชาย นีละไพจิตร ก่อนหน้าที่ทนายสมชายจะถูกอุ้มหายตัวไปเมื่อปี 2546 สากีมันเล่าว่า ทนายสมชายเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนที่น่าชื่นชมคนหนึ่ง สากีมันเห็นป้ายประกาศรับสมัครนักศึกษาฝึกงานที่สำนักงานทนายสมชาย เขาตัดสินใจยื่นใบสมัครเพื่อขอฝึกงานที่นั่น แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น “ผมควรจะได้เป็นนักศึกษาฝึกงานในวันที่ 16 มีนาคม 2546 แต่เหตุการณ์ทนายสมชายหายตัวไปได้เกิดขึ้นในวันวันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2546” เขาจึงยังไม่ทันได้อนุมัติให้เข้าฝึกงาน แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นตัวกระตุ้นให้เขาสานต่ออุดมการณ์การทำงานเพื่อสังคมของทนายสมชายเรื่อยมา

ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และอีก 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ที่ติดกับเขตชายแดนมาเลเซีย ผู้คนที่อาศัยอยู่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ความตึงเครียดทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม รวมถึงสถานการณ์ความรุนแรงเรื้อรังที่เกิดขึ้นมานานหลายปี ทำให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งขั้นรุนแรง ปัญหาหลักอีกปัญหาหนึ่งของคนในพื้นที่คือ ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ด้านกฎหมายน้อย อีกทั้งภาษาที่ใช้สำหรับการสื่อสารจะใช้ภาษามลายูเป็นภาษาหลัก จึงทำให้การสื่อสารเรื่องราวสถานการณ์ต่างๆ กับบุคคลภายนอกพื้นที่ เป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างลำบากมาก

เขาสมัครเข้าร่วมโครงการ อส.นักสิทธิ์ ของ มอส. หลังจากจบการศึกษา เขาสนใจโครงการนี้ด้วยคาดหวังว่า จะใช้โครงการเชื่อมโยงไปสู่การช่วยแก้ไขปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ เขาเล่าว่าในจำนวน อาสาสมัครทั้งหมด 12 คนที่อยู่ในรุ่นเดียวกัน มีผู้หญิงเพียง 3 คน และในจำนวน 12 คนนี้ เป็นอาสาสมัครที่มาจากพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 คน “จำได้ว่าตอนที่เราแนะนำตัวในช่วงปฐมนิเทศ ไม่มีเพื่อนอาสาสมัครคนไหนสนใจจะเข้ามาคุยกับพวกเรา อาจจะด้วยความที่พวกเขากลัวกับข้อมูลที่ได้รับมา ประกอบกับสถานการณ์ความขัดแย้งในสามจังหวัดชายใต้ช่วงนั้นค่อนข้างรุนแรงมากก็เป็นได้ แต่หลังจากที่เพื่อนๆ อาสาสมัครได้พูดคุยแลกเปลี่ยนสถานการณ์และรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง เพื่อนๆ ก็เริ่มสนใจในและเข้ามาพูดคุยกับพวกเรามากขึ้น” อย่างไรก็ตาม ความพยายามที่จะชักชวนเพื่อนอาสาสมัครลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากเพื่อนๆ ยังกังวลเรื่องความปลอดภัยในพื้นที่

งานอาสาสมัครนั้นมีหลายรูปแบบ จึงทำให้พวกเขาสามารถสร้างเครือข่ายคนทำงานเพื่อสังคมที่มีประสิทธิภาพได้กว้างมากขึ้น เขามีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนสถานการณ์กับเพื่อนๆ มีการขอความช่วยเหลือและขอคำแนะนำจากเพื่อนเกี่ยวกับคดีความต่างๆ อยู่เป็นระยะๆ “การที่เขาและเพื่อนๆ ได้มีพื้นที่ทางสังคมแบบนี้ ถือเป็นประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ อส.นักสิทธิ์ ซึ่งคิดว่า หากไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ก็อาจเป็นเรื่องยากที่พวกเราจะได้มีโอกาสร่วมงานกัน อีกทั้งคงเป็นเรื่องยากมากๆด้วย ที่จะได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับอาสาสมัครที่เป็นคนในพื้นที่และทำงานเกี่ยวกับประเด็นลักษณะเดียวกันนี้”

(ติดตามตอน 2 จันทร์หน้า)

—————————————————
Siza Nepal / สัมภาษณ์
อารีวัณย์ สมบุญวัฒนกุล / แปล
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ / เรียบเรียง

เรื่องโดย มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม และเครือข่ายฯ

ค้นหาโครงการที่เหมาะกับฉัน
thThai